ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
วิธีการศึกษา: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงทำนาย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการจำนวน 431 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล จำนวนโรคเรื้อรัง การรับรู้ภาวะสุขภาพ ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นสูง การรับรู้ความสามารถของตนเอง การสนับสนุนทางสังคม และความผาสุกทางใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการศึกษา: ผู้สูงอายุมีความผาสุกทางใจระดับปานกลาง (M= 51.13, S.D. = 4.50) จากการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนพบว่า การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการรับรู้ภาวะสุขภาพสามารถร่วมกันทำนายความแปรปรวนของความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุได้ร้อยละ 24 (R2=.24, F=44.97, p< .001)โดยตัวแปรที่สามารถทำนายความผาสุกทางใจได้สูงสุด คือ การสนับสนุนทางสังคม (β=.358, p<.05) รองลงมา ได้แก่ การรับรู้ความสามารถของตนเอง (β=.199, p<.05) และ การรับรู้ภาวะสุขภาพ (β=.096, p<.05)
สรุป: ผลการศึกษานี้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับบุคลากรทางด้านสาธารณสุขในการออกแบบโปรแกรมเพื่อส่งเสริมความผาสุกทางใจผู้สูงอายุโดยเน้นการส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ภาวะสุขภาพ และการรับรู้ความสามารถของตนเอง
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย
References
กิ่งแก้ว ทรัพย์พระวงศ์. (2554). ปัจจัยทางชีวสังคมและบุคลิกภาพของคนไทยตามทฤษฎีห้าองค์ประกอบ. Bangkok University Academic Review, 10(1), 208 - 219.
จิตนภา ฉิมจินดา. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
จีราพร ทองดี, ดาราวรรณ รองเมือง, และฉันทนา นาคฉัตรีย์. (2555). ภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดชายแดนภาคใต้.วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 22(3), 88 - 89.
เทพฤทธิ์ วงศ์ภูมิ, จักรกฤษ สุขยิ่ง, และอุมาพร อุดมทรัพยากุล. (2554). ความชุกของโรคซึมเศร้าในประชากรสูงอายุจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 56(2), 103-116.
ธิดา ทองวิเชียร. (2550). ความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกพยาบาลสาธารณสุข, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.
นริสา วงศ์พนารักษ์ และสายสมร เฉลยกิตติ. (2557). ปัญหาสุขภาพจิตสำคัญในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 24 - 31.
นารีรัตน์ เชื้อสูงเนิน. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะสุขภาพการปฏิบัติกิจกรรมการสนับสนุนจากครอบครัวกับความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต,, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประภาศรี ทุ่งมีผล. (2548). การสนับสนุนทางสังคม ความพร้อมในการดูแลและความเครียดของมารดาเด็กออทิสติก. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปรียาภรณ์ ตั้งเพียร. (2551). การสนับสนุนทางสังคมการเห็นคุณค่าในตนเองกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาชุมชน, คณะสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปรียาวรรณ สุดจำนงค์. (2552). ปัจจัยทำนายความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมอาสาสมัคร.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์, คณะพยาบาลศาสตร์,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปิยะกมล วิจิตรศิริ. (2555). ความเป็นปราชญ์ การสนับสนุนทางสังคม และความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุวัดสารอด เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตเวชชุมชน, คณะสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พิศมัย สิโรตมรัตน์. (2553). ความว้าเหว่ การรับรู้ความสามารถตนเอง การสนับสนุนทางสังคมและความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาชุมชน , คณะสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2555). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: พงษ์พาณิชย์เจริญผล.
ละเอียด แจ่มจันทร์ และสุรี ขันธรักษวงศ์. (2549). สาระทบทวนการพยาบาลสุขภาพจิต และจิตเวชศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุดทอง.
วนิดา ตันเจริญรัตน์. (2549). การพยาบาลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรัง. ใน ละเอียด แจ่มจันทร์ และสุรี ขันธรักษวงศ์ (บรรณาธิการ), สาระทบทวนการพยาบาลผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: จุดทอง.
วันดี แย้มจันทร์ฉาย. (2538). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สมรรถนะของตนเองการรับรู้สภาวะสุขภาพกับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.
วาทินี สุขมาก, อัจฉรี ศิริสุนทร, และประภาพร มีนา. (2545). ความเที่ยงตรงของแบบสอบถามการรับรู้ความสามารถในตนเอง. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 47(1), 31 - 37.
โสภิณ แสงอ่อน, พรเพ็ญ สำเภา, และพรทิพย์ มาลาธรรม. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะสุขภาพ สัมพันธภาพในครอบครัว ความว้าเหว่ และภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 13(1), 54 - 69.
สัญญา รักชาติ. (2548). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553 - 2583. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: เดือนตุลา.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2559, จาก https://www.nesdb.go.th/article_attach/Book_Plan12.pdf
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข. (2557). ยุทธศาสตร์ เป้าหมาย และตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุขประจำปี พ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2559, จาก https://kpo.moph.go.th/webkpo/download/StrategyAndKPI2558__30092557.pdf
สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล. (2542). ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ: โฮลิสติก พับลิชชิ่ง.
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล และวนิดา พุ่มไพศาลชัย. (2554). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย (WHOQOL – BREF – THAI). สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2558. จาก ttps://www.dmh.moph.go.th/test/whoqol/ 2558
อรวรรณ วรรณชาติ. (2550). ทักษะชีวิตตามการรับรู้ของผู้ดูแล การสนับสนุนทางสังคมและการรับรู้ตราบาปของผู้ที่เป็นโรคจิตเภท. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิตและ การพยาบาลจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ออมสิน ศิลสังวรณ์. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อะเคื้อ กุลประสูติดิลก, โสภณา จิรวงศ์นุสรณ์, ณัฐวดี จิตรมานะศักดิ์, และดุษณี ศุภวรรธนะกุล. (2557). การวิเคราะห์เส้นทางปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร.วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 8(2), 35 - 46.
Hengudomsub, P. (2004). Psychological well- being in Thai older adults. Dissertation, University of Wisconsin-Madison, USA.
Jerusalem, M., & Schwarzer, R. (1992). Self-efficacy as a resource factor in stress appraisal processes. In R. Schwarzer (Ed.), Self-efficacy: Thought control of action (pp.195-213). Washington, DC: Hemisphere.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 - 610.
Mahoney, F. I., & Barthel, D. W. (1965). Functional evaluation: The barthel index. Maryl and State Medical Journal, 14, 61 - 65.
Mossy, J. M., & Shapiro, E. (1982). Self-rated health: A preditor of mortality among the elderly. American Journal of Public Health, 72, 800 - 808.
Ryff, C. D., & Keyes, C. L. M. (1995). The structure of psychological well–being revisited. Journal of Personality and Social Psychology, 69, 719 - 727.
Weinert, C. (2000). PQR2000. Retrieved August 18, 2012 from http:www.montana.edu/cweinert/instruments/pqr2000.html.
Weiss, R. W. (1974). The provisions of social relationships. In Z. Robin (Ed.), Doing unto others. Engle Wood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.