ผลของโปรแกรมทักษะชีวิตต่อความรู้และทักษะการป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศ ในนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมทักษะชีวิตต่อความรู้และทักษะการป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศในนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดอุทัยธานี
วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เพศหญิง อายุ 11-14 ปี จากสองโรงเรียน ที่มีความคล้ายคลึงกันทำการสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวน 60 คน กลุ่มละ 30 คนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศ โดยออกแบบกิจกรรมทั้งหมดจำนวน 8 กิจกรรม ใช้ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมเป็นเวลา 8 สัปดาห์ๆ ละ 1 ครั้งๆ ละ 2 ชั่วโมง จำนวน 8 ครั้ง ติดต่อกัน และมีการบ้านกลับไปทำ 7 ครั้งๆ ละ 2 ชั่วโมง เป็นโปรแกรมที่ประยุกต์แนวคิดขององค์การอนามัยโลก (WHO, 1999) ซึ่งผู้วิจัยประยุกต์ร่วมกับการศึกษาที่ผ่านมาแบบสอบถามประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคลและแบบวัดความรู้ และทักษะการป้องกันตนเองจากการล่วงละเมิดทางเพศ วิเคราะห์ความเที่ยงของแบบสอบถามด้วยวิธีครอนบาค อัลฟา (Cronbach’s Alpha coefficient) และคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (KR-20) วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้และทักษะในการป้องกันตนเองจากการล่วงละเมิดทางเพศก่อนและหลังการทดลองในกลุ่มทดลอง ใช้สถิติทีชนิดที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (dependent t-test) และเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้และทักษะในการป้องกันตนเองจากการล่วงละเมิดทางเพศระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมทักษะชีวิตและกลุ่มได้รับการดูแลตามปกติ ใช้สถิติทีชนิดที่เป็นอิสระต่อกัน (independent t-test)
ผลการศึกษา: พบว่า 1) ค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ในการป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศในนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของกลุ่มทดลองภายหลังเสร็จสิ้นการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ, 2) ค่าคะแนนเฉลี่ยทักษะในการป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศในนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของกลุ่มทดลองภายหลังเสร็จสิ้นการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ, (3) ค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ในการป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศในนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นระหว่างกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ (4) ค่าคะแนนเฉลี่ยทักษะในการป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศในนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นระหว่างกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ.
สรุป: ผลการศึกษาจะเป็นประโยชน์แก่ พยาบาลครูและผู้ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาความรู้และทักษะการป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศในนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นต่อไป
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย
References
เกรียงไกร ลีลาพนาสวัสดิ์. (2553). การใช้โปรแกรมทักษะชีวิตในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการติดเกมคอมพิวเตอร์ของสามเณรโรงเรียนสามัคคีวิทยาทาน อำเภอเมืองเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
แก้วใจ สิทธิศักดิ์. (2551). ผลของโปรแกรมการพัฒนาทักษะชีวิตต่อพฤติกรรมการป้องกันการใช้สารแอมเฟตามีนในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เจตนิพิฐ สมมาตย์. (2550). ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมทักษะชีวิตร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
จีระพันธุ์ พูลพัฒน์. (2556). การพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัย. ใน การประชุมวิชาการครบรอบ 56 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ณ คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ.
จุฑานันท์ ก้อนแก้ว. (2550). การจัดการเรียนรู้ทักษะชีวิตในการป้องกันการถูกคุกคามทางเพศ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนบ้านร่องน้ำ อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ฐานดา เกียรติเกาะ. (2555). ผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะการป้องกันการถูกล่วงละเมิดทางเพศในวัยรุ่นหญิงกลุ่มเสี่ยง. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 28(1), 55-69.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์ มีเดีย.
ประไพ ประดิษฐ์สุขถาวร. (2554). สอนลูกให้มีทักษะชีวิต (Life Skill). กรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2550, จาก https://www.taamkru.com
แพง ชินพงษ์. (2554). หยุดการล่วงละเมิดทางเพศในเด็กปัญหาเรื้อรังของสังคมไทย. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2550, จาก https://www.manager.co.th
ศิริกาญจน์ อินทร์พิทักษ์. (2556). ทักษะการกล้าแสดงออก. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2559, จาก https://www.lpmp.org
ศูนย์พึ่งได้โรงพยาบาลอุทัยธานี. (2556). รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ 2556. อุทัยธานี: โรงพยาบาลอุทัยธานี.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. สํานักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). เพื่อนคู่คิด มิตรคู่ครู แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย. (2554). การวิเคราะห์สถานการณ์เด็กและสตรี พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย.
อัญชลี ภูมิจันทึก และรุจิรา ดวงสงค์ .(2554). ประสิทธิผลโปรแกรมสุขศึกษาในการประยุกต์ใช้การสร้างเสริมทักษะชีวิตกับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแห่งหนึ่งอำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Ago, C. D., Deblinger, E., Schroeder, C., & Finkel, M. A. (2008). Girls who disclose sexual: Urogenital symptoms and signs after genital contact. American Academy of Pediatrics, 122, 281-286.
Berenson, K. R., & Anderson, S. M. (2006). Childhood physical and emotional abuse by a parent: Transference effects in adult interpersonal relations. Personality and Social Psychology Bulletin, 32(11), 1509-1522.
Howe, D. (2005). Child abuse and neglect: Attachment, development and intervention. New York: Macmillan.
Mangrulkar, L., Whitman, C.V., & Posner, M. (2001). Life skill approach to child and adolescent health human development. Washington, DC: Education Development Center.
McCann, J., Miyamoto S., Boyle C., & Roger K. (2007). Healing of nonhymenal genital injuries in prepubertal and adolescent girls: A descriptive study. Pediatrics, 120(5), 1000-1011.
Miller, F. A. (1998). Strategic culture change: The door to achieving high performance and inclusion. Public Personnel Management, 2, 151-160.
Mulryan, K., Cathers, P., & Fagin, A. (2004). How to recognize and respond to child abuse. Nursing, 34(10), 52 – 55.
Rosen, K. H. (2003). Discrete mathematics and its applications. Boston: Mcgraw Hill.
World Health Organization. (1997). Coming of age: From facts to action for Adolescent sexual and reproductive health. Geneva: WHO.
World Health Organization. (1999). Programming for adolescent health and development: Report of a WHO/UNFPA/UNICEF study group on programming for adolescent health. Geneva, Switzerland: World Health Organization.
World Health Organization. (2004). Child sexual abuse: A silent health emergency. Retrieved December 30, 2016 from https://www.who.int/iris/handle/10665/93134