การพัฒนาแบบประเมินความสุขของผู้ปกครองผู้ป่วยกลุ่มอาการออทิสติก
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาแบบประเมินความสุขของผู้ปกครองผู้ป่วยกลุ่มอาการออทิสติก (HPCA Scale) และตรวจสอบคุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยาของแบบประเมินที่พัฒนาขึ้น
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา แบ่งการศึกษาเป็น 3 ระยะของการพัฒนาเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) การพัฒนาข้อคำถามของแบบประเมินและศึกษาความตรงตามเนื้อหา 2) การศึกษาความตรงเชิงโครงสร้างและความเชื่อมั่นของเครื่องมือ และ 3) การศึกษาความตรงเชิงสอดคล้องและความตรงเชิงจำแนกของแบบประเมินที่พัฒนาขึ้น ในระยะแรกมีการใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ผ่านมาในการสร้างแบบประเมินความสุขของผู้ปกครองผู้ป่วยกลุ่มอาการออทิสติกเบื้องต้น ความตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือได้รับการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นบุคลากรด้านสุขภาพที่เชี่ยวชาญในการบำบัดรักษาผู้ป่วยกลุ่มอาการออทิสติกและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการวิจัยจำนวน 7 ท่าน ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (CVI) เท่ากับ .89 แบบประเมินเบื้องต้นได้รับการทดสอบขั้นต้น ค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินในภาพรวมเท่ากับ .95 แบบประเมินเบื้องต้นได้รับการปรับปรุงจาก 70 เหลือจำนวน 62 ข้อ (ตัวแปร) เพื่อนำไปใช้ในการวิจัยระยะที่ 2 โดยใช้กระบวนการพัฒนาเครื่องมือทางจิตวิทยาในการวิจัยเชิงปริมาณ มีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมิน และระยะท้ายสุดมีการวิเคราะห์ความตรงตามโครงสร้าง ซึ่งเป็นการทดสอบความตรงเชิงสอดคล้องและความตรงเชิงจำแนก
ผลการศึกษา: ผลการวิจัยที่สำคัญมีดังนี้ ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจรอบที่สาม พบว่า มี 47 ข้อ (ตัวแปร) ที่สามารถจัดกลุ่มเข้าองค์ประกอบได้ 9 องค์ประกอบ สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 67.75 ส่วนค่าความเชื่อมั่นของเก้าองค์ประกอบของแบบประเมินที่พัฒนาขึ้น อยู่ในช่วงตั้งแต่ .76 ถึง .91 และผลของการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลองค์ประกอบของแบบประเมินความสุขของผู้ปกครองผู้ป่วยกลุ่มอาการออทิสติกที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ นอกจากนี้ ยังพบว่า มีความตรงตามโครงสร้าง ทั้งในลักษณะของความตรงเชิงสอดคล้องและความตรงเชิงจำแนก
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย
References
ชะไมพร พงษ์พานิช, สมดี อนันต์ปฏิเวธ, ประภาพันธ์ ร่วม กระโทก, และสมหมาย เศรษฐวิชาภรณ์. (2555). ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะครอบครัวสำหรับผู้ปกครองและผู้ป่วยกลุ่มอาการออทิสติก ตามแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวก. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 22(1), 11-25.
สมดี อนันต์ปฏิเวธ. (2557). ประสบการณ์ของผู้ปกครองผู้ป่วยกลุ่มอาการออทิสติกในการพัฒนาความสุขภายใต้แนวคิดจิตวิทยาเชิงบวก. เอกสารการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 2/2557 มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
อภิชัย มงคล, ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์, ทวี ตั้งเสรี, วัชนี หัตถพนม, ไพรวัลย์ ร่มซ้าย, และวรวรรณ จุฑา. (2552). การพัฒนาและทดสอบดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทย (Version 2007). วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 54(3), 299-316.
Altiere, M. J., & von Kluge, S. (2009). Searching for acceptance: challenges encountered while raising a child with autism. Journal of Intellectual & Developmental Disability, 34(2), 142-152.
Browne, M. W., & Cudeck, R. (1993). Alternative ways of assessing model fit. In K. A. Bollen, & J. S. Long (Eds.). Testing Structural Equation Models (pp. 136–162). Beverly Hills, CA: Sage.
Centers for Disease Control and Prevention. (2016). Community report from the Autism and developmental disabilities monitoring (ADDM) network. Retrieved June 1, 2017, from https://www.cdc.gov/ncbddd/autism/addm.html
Ho, R. (2014). Handbook of univariate and multivariate data analysis with IBM SPSS (2nd ed.). Boca Raton: CRC Press.
Kim, Jae-On, & Mueller, & Charles, W. (1978). Factor analysis: Statistical methods and practical issues. Beverly Hills, CA: Sage.
Kovshoff, H., Grindle, C. F., & Hastings, R. P. (2006). Autism: A psychological perspective. In C. A. Essau (Ed.). Child and adolescent psychopathology. New York: Routledge.
Pozo, P., Sarriá, E., & Brioso A. (2011). Psychological adaptation in parents of children with autism spectrum disorders. Universidad Nacional de Educación a Distancia, UNED Spain
Seligman, M. E. P. (2002). Authentic happiness: Using the new positive psychology to realize your potential for lasting fulfillment. New York: Simon & Schuster.
Tabachnick, B. G., & Fidell, L. S. (2013). Using Multivariate Statistics. Boston: Pearson.
Woodgate, R. L., Ateah, C., & Secco, L. (2008). Living in a world of our own: The experience of parents who have a child with autism. Qualitative Health Research, 18(8), 1075-1083.