ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะชีวิต เพื่อลดการดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นนอกระบบการศึกษาที่มีพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ จังหวัดนครนายก

Main Article Content

ศิริพร รุ่งสุวรรณ
นิตยา ตากวิริยะนันท์
วนลดา ทองใบ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกทักษะชีวิตในการเพิ่มปัจจัยป้องกันส่วนบุคคล และลดพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์สำหรับวัยรุ่นนอกระบบการศึกษาในจังหวัดนครนายก


วิธีการศึกษา: เรื่องนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง 99 คนได้รับการสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 49 คน และกลุ่มควบคุม 50 คน กลุ่มควบคุมได้รับแผ่นพับความรู้เกี่ยวกับแอลกอฮอล์ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการฝึกทักษะชีวิตเพื่อลดพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ตามแนวคิดของบอทวินและกริฟฟิน (2004) การวัดผลทำ 3 ครั้ง คือ ก่อนทดลอง หลังการทดลองทันทีและหลังการทดลอง 6 สัปดาห์ เครื่องมือในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำและสถิติที


ผลการวิจัย: ภายหลังเสร็จสิ้นการทดลองทันทีและหลังการทดลอง 6 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยปัจจัยป้องกันด้านบุคคล สูงกว่าก่อนทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุม (p < .05) สำหรับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า ภายหลังเสร็จสิ้นการทดลอง 6 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่ำกว่าก่อนทดลองและต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (p < .05)


สรุป: โปรแกรมการฝึกทักษะชีวิต มีประสิทธิผลในการเพิ่มปัจจัยป้องกันด้านบุคคลและลดพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มตัวอย่างได้ ดังนั้นจึงควรมีการขยายผลการทดสอบไปในกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จารุวรรณ สนองญาติ. (2555). ประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการดื่มแอลกอฮอล์ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดสุพรรณบุรี.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ชานนท์ มณีศรี. (2553). ผลของโปรแกรมเสริมสร้างทักษะชีวิตต่อการป้องกันสารเสพติด ในนักเรียนมัธยมต้น อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน, คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

วีระนุช ก่อแก้ว, นิตยา ตากวิริยะนันท์, และศิริพร ขัมภลิขิต. (2552). ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยป้องกันและพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มของวัยรุ่นที่อยู่นอกระบบการศึกษา, วารสารพยาบาล, 59(3), 54 – 63.

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. (2556). สิบสถานการณ์เด่นการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบในประเทศไทย ปี 2556. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2558, จาก https://www.cas.or.th/data/article.

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. (2557). Life Skills Training ลดการใช้สุรา บุหรี่ และสารระเหยในนักเรียนมัธยม. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2557, จาก https://www.cas.or.th/Index.php/alcoholdb/read/12.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชากรไทย. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2557, จาก https://www.thaiantialcohal. com

สุกัญญา เพิ่มพูล, นิตยา ตากวิริยะนันท์, และภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์. (2554). ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะชีวิตในโรงเรียนต่อปัจจัยป้องกันด้านบุคคลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จังหวัดชลบุรี. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 25(3), 128 -142.

อมรรัตน์ ชอบธรรมดี.(2552). ผลของโปรแกรมการสร้างทักษะชีวิตเพื่อการป้องกันพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน), คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Botvin, G.J. (2000), Preventing alcohol and tobacco use through life skills training. Alcohol. Research and Health, 24(4), 250-257.

Botvin, G.J. (2002). Life skills training: An evidence-based approach for preventing alcohol, tobacco, illicit drug use and violence. Retrieved January 23, 2013, from https://www.lifeskillstraining.com

Botvin, G., & Griffin, K. W. (2004). Life skills training: Empirical findings and future direction. The Journal of Primary Prevention, 25(2), 211 – 232.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.-G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39, 175-191

Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A.-G. (2009). Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41, 1149-1160.

Grotberg, E. H. (2003). What is resilience? How do you promote it? How do you use it? In E. H. Grotberg, Resilience for today: Gaining strength from adversity (pp.1 - 29). Westport, Connecticut: Praeger.

Tresidder, J., Macaskill, P., Bennett, D., & Nutbeam, D. (1997). Health risk and behaviour of out-of-school 16-year-olds in New South Wales. Australian and New Zealand Journal of Public Health, 21(2), 168-174.

Takviriyanun, N., Phuphaibul, R., Villarruel, A., Vorapongsathorn, T., & Panitrat, R. (2007). How do environmental risks and resilience factors affect alcohol use among Thai adolescents, Thai Journal of Nursing Research, 11(3), 151–165.

Takviriyanun, N. (2008). Development and testing of the Resilience Factors Resilience Factors Scale for Thai adolescents. Nursing and Health Science, 10, 203 – 208.

United Nations Children's Fund. (2005). Life skill-based health education to prevent tobacco and alcohol. Retrieved January 23, 2013, form https://unicef.org/teachers/teacher/lifeskill.htm.

United Nations. (2003). Adolescent substance use: Risk and Protection. New-York: Economics and Social Commission for Asia and the Pacific, United Nation Office on Drugs and Crime.

World Health Organization. (2003). Skills-based health education including life skills: An important component of a Child-Friendly/Health-Promoting School. Retrieved January 23, 2013, form https://www.Who.Int/substance abuse.