ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อทัศนคติการใช้ความรุนแรง และพฤติกรรมการควบคุมตนเองในนักเรียนวัยรุ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การวิจัยกึ่งทดลองนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการ กำกับตนเองต่อทัศนคติการใช้ความรุนแรงและ พฤติกรรมการควบคุมตนเองในนักเรียนวัยรุ่น
วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน ระดับมัธยมศึกษา ในโรงเรียนจังหวัดชายแดนใต้ โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยวิธีการ จับฉลากกลุ่มละ 30 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับ โปรแกรมการกำกับตนเอง เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ทัศนคติการใช้ความ รุนแรง พฤติกรรมการควบคุมตนเองและโปรแกรม การกำกับตนเอง ซึ่งดำเนินกิจกรรม 2 ครั้ง/สัปดาห์ ทั้งหมด 6 ครั้ง และครั้งละ 45-60 นาที เครื่องมือ วิจัยผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ค่าความเที่ยงของแบบประเมิน ทัศนคติต่อการใช้ความรุนแรงและแบบสอบถาม พฤติกรรมการควบคุมตนเองเท่ากับ .80 และ .95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติบรรยาย ได้แก่ การหาค่า ความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง ได้แก่ สถิติไคสแควร์ สถิติทีคู่และ ทีอิสระ
ผลการศึกษา: หลังได้รับโปรแกรมกลุ่ม ทดลองมีคะแนนเฉลี่ยทัศนคติต่อการใช้ความ รุนแรงต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ < .001 และมีคะแนนเฉลี่ย พฤติกรรมการควบคุมตนเองสูงกว่าก่อนได้รับ โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < .001 อีกทั้งยังพบว่า หลังสิ้นสุดโปรแกรม กลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยทัศนคติการใช้ความรุนแรงต่ำกว่า กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < .001 และมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการควบคุม ตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ < .001
สรุป: โปรแกรมการกำกับตนเองช่วยปรับ ทัศนคติทางลบต่อการใช้ความรุนแรงและเพิ่มการ ควบคุมตนเองได้ และช่วยแก้ปัญหาการใช้ความรุนแรงของนักเรียนวัยรุ่นได้อย่างเหมาะสม
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย
References
จิดาภา อุดมเมฆ, และรุจิรา ดวงสงค์. (2555). ผลของโปรแกรมอดบุหรี่ในผู้ป่วยที่มารับ บริการคลินิกทันตกรรม โรงพยาบาล ทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
จริยา ทรงพระ, นฤมล ศราธพันธุ์, และอังคณา ขันตรีจิตรานนท์. (2558). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายใน กรุงเทพมหานคร. วารสารศึกษาศาสตร์ ปริทัศน์, 30(3), 96-109.
ชนิธตา เกตุอำไพ. (2549). การศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยบางประการกับการกำกับ ตนเองในการปรับพฤติกรรมก้าวร้าว ของ นักเรียนช่วงชั้นปีที่ 3 ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขา วิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.
ชนาธิป สุนทรภักดิ์. (2559). ผลของการปรึกษากลุ่ม โดยใช้ดนตรีบำบัดต่อเจตคติและพฤติกรรม ก้าวร้าวของนักเรียน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการ ปรึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
ชมพูนุท นนทะคำจันทร์. (2557). การปรับลด พฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนโรงเรียน บ้านไร่นาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต สาขา วิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัย ราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.
ณัฎฐาภรณ์ โสกัณฑัต. (2557). พฤติกรรมการใช้ ความรุนแรงกรณีทะเลาะวิวาทของนักเรียน อาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสาร กระบวนการยุติธรรม, 7(3), 99-109.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2550). การวิจัยและวิเคราะห์ ข้อมูลทางสถิติ. กรุงเทพมหานคร: วีอินเตอร์ พริ้น.
นิภาพร บุญทวี. (2556). สาเหตุและแนวทางแก้ไข ปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียน: กรณีศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา วิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัย บูรพา, ชลบุรี.
รักขณาวรรณ เสาทอง. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อ พฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 สังกัดเขตพื้นที่การประถมศึกษา ราชบุรีเขต 2 อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขา วิชาจิตวิทยาชุมชน, มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.
รัตนา ดงบัง. (2550). ผลของโปรแกรมการกำกับ ตนเองต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการ ควบคุมพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
วินีกาญจน์ คงสุวรรณ, วีณา คันฉ้อง, วันดี สุทธรังษี, และถนอมศรี อินทนนท์. (2557). ผลของ โปรแกรมพัฒนาทักษะการจัดการความ รุนแรง ต่อการป้องกันพฤติกรรมก้าวร้าว ของแกนนำเยาวชนระดับมัธยมศึกษา. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์, 20(4), 73-105.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15. (2559). รายงานจำนวนนักเรียนแยกเพศและ ห้องเรียน. ค้นจาก https://www.sec15.ksom. net/bdata/school.html
สุพิชชา วงศ์จันทร์. (2557). อิทธิพลทางจิตสังคม และการกำกับตนเองที่มีต่อพฤติกรรม สุขภาพของผู้รับบริการที่มีภาวะอ้วนใน เขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัย พฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์, มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.
สาลินี จงใจสุรธรรม, นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล, และ วินัย ดำสุวรรณ. (2558). กลวิธีการกำกับ ตนเองในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสาร พฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 7(1), 16-26.
ฮาหมาด รบบากา. (2556). พฤติกรรมก้าวร้าวของ นักเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา อิสลามจังหวัดสตูล. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและ การจัดการการศึกษาอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
Bandura, A. (1986). Social foundation of thought and action: A social of cognitive theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hale.
Brillhart, B. A., Jay, H., & Wyers, M. E. (1990). Attitudes toward people with disabilities. Rehabilitation Nursing, 15, 80-82.
Dvorak, D. R., & Day, M. A. (2014). Marijuana and self-regulation: Examining likelihood and intensity of use and problems. The Journal of the America Medical Association, 39(3), 709–712. doi:10.1016/j.addbeh. 2013.11.001
Griffin, W. K., Sara, R. L., & Acevedo, P. B. (2015). Affective self-regulation trajectories during secondary school predict substance use among urban minority young adults. Journal of Child Adolescent Substance Abuse, 24(4), 228-234. doi:10.1080/1067828
Polit, D. F. & Beck, C. T. (2004). Nursing research: Principles and methods (3rd ed). Philadelphia, PA: Lippincott.
Kongsuwan, V., Suttharangsee, W., Isalamalai, S., & Weiss, S. J. (2012). The development and effectiveness of a violenc prevention program for Thai high school adolescents. Pacific Rim International Journal of Nursing Research, 16(3), 236-249.