ผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสภาวะจิตสังคมต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยยาเสพติด

Main Article Content

ไพวัล อาจหาญ
ชมชื่น สมประเสริฐ
นุชนาถ บรรทุมพร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสภาวะจิตสังคมต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยยาเสพติด


วิธีการศึกษา: การวิจัยกึ่งทดลองนี้กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยยาเสพติดที่อยู่ในสถานประกอบการซึ่งผ่านการบำบัดรักษายาเสพติดและสมัครใจ จัดกลุ่มโดยวิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย จาก 1 อำเภอของจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออก และสุ่มตัวอย่างสถานประกอบการสำหรับเป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง คัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับกลุ่มทดลองจำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสภาวะจิตสังคม จำนวน 7 ครั้ง เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุม ได้รับการติดตามหลังการรักษาตามรูปแบบปกติ เครื่องมือใช้ แบบสอบถามประเมินคุณภาพชีวิต ผู้ติดสารเสพติด และโปรแกรมการฟื้นฟูสภาวะจิตสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละและ สถิติ ฟิชเชอร์ เอ็กแซก เทสต์ (Fisher’s Exact Test) วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนน คุณภาพชีวิตด้วยสถิติทีชนิดที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (dependence t-test) และเปรียบเทียบผลต่างของ ค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตด้วยสถิติทีชนิดที่ เป็นอิสระต่อกัน (independent t-test)


ผลการศึกษา: พบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ย คะแนนคุณภาพชีวิต (M = 272.93, SD = 15.67) สูงกว่าก่อนการทดลอง (M = 256.56, SD = 21.14) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 4.6, p <.001) และ ความแตกต่างของผลต่างของค่าคะแนนเฉลี่ย คุณภาพชีวิตของกลุ่มทดลอง (1 = 16.37) สูงกว่า กลุ่มควบคุม (2 = 4.24) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=3.77, p<.001)


สรุป: โปรแกรมการฟื้นฟูสภาวะจิตสังคมสามารถทำให้ผู้ป่วยยาเสพติดมีการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมและทำให้มีคุณภาพชีวิตสูงขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2559). ระบบรายงาน บสต. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2559, จาก http://antidrug.moph. go.th/beta2/.

โรงพยาบาลธัญญารักษ์. (2545) ตำราการพยาบาล ยาเสพติด. กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้ง.

นันทวัช สิทธิรักษ์ และคณะ. (2553). การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ติดสุราในโรงพยาบาลศิริราช และโรงพยาบาลศรีธัญญา, สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 57(2), 185-198.

เบญจมาศ ดวงจำปา และมานพ คณะโต (2558). การเปรียบเทียบตราบาปทางสังคมระหว่างผู้เสพเข้าค่ายบำบัดยาเสพติดกับประชาชนทั่วไป ในพื้นที่อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารพัฒนาสุขภาพชุมชนมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(2), 201-211.

พรพิมล ศักดิ์สูง. (2548). คุณภาพชีวิตของผู้เสพสารเสพติดชาวเขาที่บำบัดด้วยเมทาโดนทดแทนระยะยาวและปัจจัยที่มีผลต่อการเสพซ้ำในจังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พิเชษ จันทร์เจนจบ และคณะ. (2555). ปัญหาและความต้องการสนับสนุนทางสังคมของผู้ เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพยาเสพติดแบบควบคุมตัวไม่เข้มงวดของสถานบำบัด รักษายาเสพติดในสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. โรงพยาบาลธัญญารักษ์ แม่ฮ่องสอน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

มรรยาท รุจิวิชชญ์. (2556). การจัดการความเครียดเพื่อสร้างเสริมสุขภาพจิต. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รัตติยา สันเสรี, สรินฎา ปุติ, รอดีหย๊ะ เจ๊ะโซ๊ะ, และ มัซตูรา ฮะ. (2554). การดูแลผู้ป่วยยาเสพติดกรณีเสพติดหนัก (Hard core) โดยการจัดการรายกรณีในระยะติดตามผลการบำบัดรักษาที่สอดคล้องกับสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้. ศูนย์บำบัด รักษายาเสพติดปัตตานี สถาบันธัญญารักษ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

เรืองสิทธ์ เนตรนวลใย, ชิรวัฒน์ นิจเนตร, สธญ ภู่คง, สุธาสินี บุญญาพิทักษ์ และดรุณี ภู่ขาว. (2557). กระบวนการเข้าสู่การบำบัดรักษาเพื่อเลิกใช้ยาบ้าด้วยความสมัครใจของ เยาวชนไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 19(2), 36-44.

วิโรจน์ วีรชัย. (2548). ตำราเวชศาสตร์การเสพติด. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

ศิริเพ็ญ ศุภกาญจนกันติ, อุษณีย์ พึ่งปาน, จารุวัฒน์ บุษราคัมรุหะ, ชัชชัย ทวีทรัพย์ และญาณาธร เจียรรัตนกุล. (2552). โครงการการศึกษาวิเคราะห์ต้นทุนและประสิทธิผลของระบบบำบัดรักษายาเสพติด. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

สุปราณี สูงแข็ง. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้บำบัดสารเสพติดในหน่วยบริการปฐมภูมิในจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการ สาธารณสุข, 25(2), 218-227.

ส่วนข้อมูลเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด สำนักยุทธศาสตร์. (2557) สถานการณ์ยาเสพติดและแนวโน้มของปัญหาในปี 2558-2560. (เอกสารประกอบการจัดทำแผนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พ.ศ. 2558-2560). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.

เสาดาหรอ โสดาดิส, ธนูรัตน์ พุทธชาติ, กาญจนา รัตนพันธุ์ และนุรมา ยีดะหมะ. (2552). การทดสอบความเที่ยงและความตรงแบบวัดคุณภาพชีวิตของผู้ติดสารเสพติด. กรมการ แพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

Brook, R. B. (1992). Self- esteem during the school year. Pediatric clinics of North America, 39(3), 537-551.

Cammen, J. M., Rajkumar, C., Onder, G., Sterke, S. C., & Petrovic, M. (2014). Drug cessation in complex older adults:Ttime for action. Age and Ageing, 43, 20–25. doi: 10.1093/ ageing/aft166.

Cloud, W., & Granfield, R. (2008). Conceptualizing recovery capital: Expansion of a theoretical construct. Substance Use & Misuse, 43 (12-13), 1971-1986.

Cohen, J. (1969). Statistical power analysis for the behavioral sciences. San Diego, CA: Academic Press.

Coopersmith, S. (1981). The antecedent of self-esteem. California: Consulting Psychologists Press.

Polit, D. F., & Hungler, B. P. (1999). Nursing research: Principles and methods. (6th ed.). Philadelphia: J.B. Lippincott.

Polit, D. F., & Sherman, R. E. (1990). Statistical power in nursing research. Nursing Research, 39, 365-369.

Uys, L. R. (1991). A theoretical framework for psychiatric rehabilitation. Curationis, 14(3),1-5.

United Nations Office on Drugs and Crime. (2012, 2014). World Drug Report. Vienna: United Nations.

Word Health Organization. (1997). Psychosocial rehabilitation: A consensus statement. Retrieved March, 12, 2016, from, https:// apps.who.int/iris/bitstream/handle/ 10665/60630/WHO_MNH_MND_96.2. pdf?sequence=1&isAllowed=y