ผลของโปรแกรมครอบครัวบำบัดแบบผสมผสานต่อการเสพยาบ้าในวัยรุ่นที่เสพติดยาบ้า

Main Article Content

ศิริลักษณ์ แสงส่อง
เพ็ญพักตร์ อุทิศ
สุนิศา สุขตระกูล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบการเสพยาบ้าในวัยรุ่นที่เสพติดยาบ้าก่อนและหลังได้รับโปรแกรมครอบครัวบำบัดแบบผสมผสานและระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯ กับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ


วิธีกรศึกษ: การวิจัยกึ่งทดลองแบบ สองกลุ่มวัดซ้ำกลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นที่เสพติด ยาบ้า จำนวน 40 คน มีคุณสมบัติตามเกณฑ์และ เข้ารับการบำบัดยาเสพติดที่โรงพยาบาลชุมชน จากนั้นจับคู่ด้วยคะแนนความรุนแรงของการ เสพติดยาบ้าและสถานภาพสมรสของพ่อ-แม่ แล้วสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมฯ กลุ่มควบคุม ได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1)โปรแกรมครอบครัวบำบัดแบบผสมผสาน 2) แบบประเมินปริมาณการใช้ยาบ้า 3) แบบประเมิน สัมพันธภาพในครอบครัว เครื่องมือทุกชุดผ่านการ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ชุดที่ 2 ตรวจสอบความเที่ยงโดยวิธี ทดสอบซ้ำพบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ เพียร์สันเท่ากับ .89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การ วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated Measures ANOVA)


ผลกรวิจัย สรุปได้ดังนี้


1) การเสพยาบ้าของวัยรุ่นที่เสพติดยาบ้าใน กลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมฯ ทันที น้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และในระยะหลังได้รับโปรแกรมฯ 2 สัปดาห์ พบว่า มีการเสพยาบ้าน้อยกว่าหลังการทดลองทันทีอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)


2) หลังได้รับโปรแกรมฯ ทันที การเสพยาบ้า ของวัยรุ่นที่เสพติดยาบ้าในกลุ่มทดลอง น้อยกว่า กลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามปกติ อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และพบว่าในระยะหลัง ได้รับโปรแกรมฯ 2 สัปดาห์ การเสพยาบ้าในวัยรุ่น ที่เสพติดยาบ้าในกกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ก.สินศักดิ์ สุวรรณโชติ. (2553). ประสิทธิผลของกลุ่มเสริมสร้างแรงจูงใจและบำบัดทางความคิดอย่างย่อต่อภาวะการเสพซ้ำของผู้ป่วยเสพยาบ้าที่มีโรคร่วมทางจิตเวช ณ โรงพยาบาลจิตเวชภาคใต้ ประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยเพื่อการพัฒนาสุขภาพ (สหสาขาวิชา), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิภา ณียสกุล. (2544). ครอบครัวกับการป้องกันและบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด: ตำราบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด. กรุงเทพมหานคร: วัชระ อินเตอร์ ปริ้นติ้ง.

ปิยวรรณ ทัศนาญชลี. (2554). กระบวนการไม่เสพยาบ้าซ้ำ: กรณีศึกษาผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัด. สหศาสตร์ศรีปทุมชลบุรี, 1(3): 36-47.

ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์. (2544). ทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์ในการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาบ้า. สังคมจิตวิทยา. วิทยาลัยป้องกันอาณาจักร.

มนัส สุนทรโชติ. (2554). ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับพลังต้านการเสพยาบ้าของวัยรุ่นที่เข้ารับการบำบัดแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลในเขตภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลลิตา เดชาวุธ. (2547). ปัจจัยครอบครัวที่มีอิทธิพลต่อการเสพยาบ้าของวัยรุ่นในเขตภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลศาสตร์, คณะพยาบาล ศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิภา ด่านธำรงกูล, อุษณีย์ พึ่งปาน และ ศศิธร แจ่มถาวร. (2539). ความรู้และทัศนคติต่อการติดสารเสพติดและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องของเด็กและเยาวชนที่ต้องโทษ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิโรจน์ วีระชัยและคณะ. (2548). ตำราเวชศาสตร์การเสพติด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: องค์การทหารผ่านศึก.

สุจิตตา ฤทธิ์มนตรี. (2554). พฤติกรรมความรุนแรงต่อครอบครัวของผู้ใช้ยาบ้า. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 34(3), 48-56.

สุชาติ เลาบริพัตร. (2544). แนวทางการพัฒนาระบบบำบัดรักษาผู้ป่วยติดยาเสพติดใน ประเทศไทย. ใน วิโรจน์ วีระชัย (บ.ก.), ตำราการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด (หน้า 56-69). ปทุมธานี: วัชระอินเตอร์ ปริ้นติ้ง.

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2555). รายงานประจำปี 2555. สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี. กรมการแพทย์: กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม ยาเสพติด. (2553). สถานการณ์ยาเสพติดประกอบการจัดทำแผนปี 2553. กรุงเทพมหานคร.

อรรณพ วิสุทธิมรรค. (2541). พฤติกรรมการบริโภคสารเสพติดทบทวนองค์ความรู้สถานการณ์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพัฒนาวิชาการแพทย์.

อุไรรัตน์ แก้วไกรสร. (2553). ปัจจัยด้านครอบครัวที่ส่งผลต่อสัมพันธภาพในครอบครัวและ ความรู้ ความเข้าใจเรื่องยาเสพติดของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียน
สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ จิตวิทยาพัฒนาการ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Carr, A. (2000). Drug abuse in adolescence. In M. Birchwood, D. Fowler & C. Jackson (Eds.), Family Therapy. Chichester: John Wiley and Sons.

Liddle, H. A. (2002). Multidimensional family therapy for adolescent cannabis users, Cannabis Youth Treatment (CYT) series, volume 5. Rockville, MD: Center for Substance Abuse Treatment, Substance Abuse arid Mental Health Services Administration.

Liddle, H. A., Dakof, G. A., Turner, R. M., Henderson, C. E., & Greenbaum, P. E. (2008). Treating adolescent drug abuse: A randomized trial comparing multi-dimensional family therapy and cognitive behavior therapy. Addictive, 103, 1660– 1670.

Liddle, H. A. (2010). Treating adolescent substance abuse using multidimensional family therapy. In J. Weisz & A. Kazdin (Eds.), Evidence-based psychotherapies for children and adolescent (pp. 416-432) (2nd ed.). New York: Guilford.

Shives, L. R. (1994). Basic concept of psychiatric mental health nursing. (3rd ed.). Philadelphia: J.B. Lippincott.

UNODC. (2010). World Drug Report 2010. United Nation.