การพัฒนาคู่มือการบำบัดความคิดและพฤติกรรม ต่อความคิดอัตโนมัติทางลบของผู้ป่วยจิตเภท
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อ 1) พัฒนาคู่มือการบำบัด ความคิดและพฤติกรรมต่อความคิดอัตโนมัติ ทางลบของผู้ป่วยจิตเภท 2) ตรวจสอบคุณภาพ ด้านความเที่ยงตรงตามเนื้อหาของคู่มือที่พัฒนาขึ้น 3) ศึกษาประสิทธิผลของการใช้คู่มือที่พัฒนาขึ้น ต่อความคิดอัตโนมัติทางลบโดยการเปรียบเทียบค่าคะแนนความคิดอัตโนมัติทางลบระหว่างผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการบำบัดตามแนวทางในคู่มือกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ และ 4) ศึกษาการยอมรับการนำคู่มือที่พัฒนาขึ้นไปใช้
วิธีการศึกษา: ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนาประกอบด้วยขั้นตอนการวิเคราะห์ความต้องการ/ความจำเป็นในการพัฒนาการกำหนดกรอบแนวคิดการออกแบบและจัดทำต้นร่าง การตรวจสอบ คุณภาพทางวิชาการ การทดลองใช้ในระบบ การ ขยายผล การประเมินผลและพัฒนาต่อเนื่อง ศึกษา ประสิทธิผลคู่มือฯ ด้วยการวิจัยกึ่งทดลองกับผู้ป่วย จิตเภทแบบสองกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่การแจกแจง ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ และสถิติอ้างอิง ได้แก่ สถิติทดสอบที
ผลการศึกษา: 1) คู่มือฯ ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยกิจกรรม 6 กิจกรรม คือ 1.1) การสร้างสัมพันธภาพและประเมินพฤติกรรมความคิด 1.2) การให้สุขภาพจิตศึกษาเรื่องโรคจิตเภทมีความ สัมพันธ์ของความคิดอัตโนมัติทางลบกับแบบแผนกระบวนการคิดและการเกิดพฤติกรรม 1.3) การให้ สุขภาพจิตศึกษาเรื่องความคิดอัตโนมัติทางลบที่บิดเบือน 1.4) การปรับเปลี่ยนความคิดอัตโนมัติ ทางลบเป็นความคิดใหม่ทางบวกโดยเทคนิคการวิเคราะห์ ข้อดี – ข้อเสีย 1.5) การคงอยู่ความคิดใหม่ทางบวกด้วยเทคนิคการปรับสมดุลของอารมณ์ และเทคนิคพูดกับตัวเอง และ 1.6) ติดตามความก้าวหน้าและการประเมินผลในการบำบัด โดย คู่มือฯ ที่พัฒนาขึ้น มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ของหัวข้อความรู้กับวัตถุประสงค์อยู่ระหว่าง 0.67-0.83. 2) ประสิทธิผลของคู่มือฯ ที่พัฒนาขึ้นพบว่า คะแนนเฉลี่ยความคิดอัตโนมัติทางลบของกลุ่มที่ได้รับการบำบัดตามแนวทางในคู่มือฯ ใน ระยะหลังการทดลองต่ำกว่าก่อนได้รับการบำบัดตามคู่มือฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และในระยะหลังการทดลองคะแนนเฉลี่ยความคิดอัตโนมัติทางลบของกลุ่มที่ได้รับการบำบัดความคิดตามแนวทางในคู่มือฯ ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า คู่มือการบำบัดความคิดและพฤติกรรมต่อความคิดอัตโนมัติทางลบของผู้ป่วยจิตเภทมีคุณภาพด้านความตรง ตามเนื้อหา ค่าดัชนีความสอดคล้องของหัวข้อ ความรู้กับวัตถุประสงค์เท่ากับ .67–.83 และเมื่อ พยาบาลนำคู่มือฯ ไปใช้มีผลให้ความคิดอัตโนมัติ ทางลบของผู้ป่วยจิตเภทลดลง
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย
References
ขุมทรัพย์ ก้อนทอง, วีณา จีระแพทย์ และเพ็ญพักตร์ อุทิศ. (2559). ผลของโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมต่ออาการด้านลบของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วารสารการ พยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 30(3), 52-65.
ชรัสนิกูล ยิ้มบุญนะ. (2561). หลักการและวิธีการเขียนคู่มือการพยาบาล. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2561. จาก http://drive.google.com/ filed/0B4a84Ctn67PbHINWFqRbk1Ke GM/view.
ฐาปนิก พญามงคล. (2552). ผลของโปรแกรมการฝึกตามแนวการบำบัดด้วยการรู้ การคิด และ พฤติกรรมต่อความคิดอัตโนมัติทางลบ และพฤติกรรมก้าวร้าวในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาจิตวิทยาการปรึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร. (2558). Cognitive behavior therapy. เอกสารประกอบการสอน. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ. เอกสารอัดสำเนา.
พรสวรรค์ พลูกระจ่าง และอัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์. (2561). รายงานการวิจัย เรื่องผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการป้องกันการพลัดตกหกล้มกับผู้ป่วยในโรงพยาบาลจิตเวชต่ออุบัติการณ์การพลัดตกหกล้มความเป็นไปได้และการยอมรับที่จะนำไปใช้. กรุงเทพ: สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา.
เยาวนาฏ ผลิตนนท์เกียรติ, พัชริน คุณค้ำชู, สตรีรัตน์ รุจิระชาคร และศจี ตั้ง. (2554). คู่มือการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสุขภาพจิต (พิมพ์ ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: เบสท์ สเต็ป แอ็ดเวอร์ไทซิ่ง.
ลัดดา แสนสีหา. (2536). ความซึมเศร้าและความคิดอัตโนมัติทางลบของวัยรุ่นตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาพยาบาลมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมภพ เรืองตระกูล. (2545). ตำราจิตเวชศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพ: เรือนแก้วการพิมพ์.
สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. (2561). สถิติผู้ป่วยโรคจิตเภท สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. กรุงเทพมหานคร.
สุวิมล ติรกานันท์. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่ทางปฏิบัติ. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย และพีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย. (2549). การบำบัดทางพฤติกรรมความคิดในผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพจิตและจิตเวช. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 19(2), 1-13.
Beck, A. T., Rush, A. J., Shaw, B. F., & Emery, G. (1979). Cognitive therapy of depression. New York: Guilford Press.
Chen, T. H., Lu, R. B., Chang, A. J., Chu, D. M., & Chou, K. R. (2006). The evaluation of cognitive-behavioral group therapy on patient depression and self-esteem. Archives of Psychiatric Nursing, 20, 3-11.
Dryden, W. (1998). Understanding persons in the context of their problems: A rational emotive behavior therapy perspective. Chichester, UK: Wiley.
Hollon, S. D., & Kendall, P. C. (1980). Cognitive self-statements in depression: Development of an automatic thoughts questionnaire. Cognitive Therapy and Research, 4, 383-395.
Kaplan, H. I., & Sadock, B. J. (1996). Concise Textbook of Clinical Psychiatry. (7th ed.). Philadelphia, United States: Lippincott Williams and Wilkins.
Phanthunane, P., Vos, T., Whiteford, H., Bertram, M., & Udomratn, P. (2010). Schizophrenia in Thailand: prevalence and burden of disease. Population Health Metrics, 8, 24.
Stuart, G. W., & Laraia, M. T. (2005). Principle and practice of psychiatric nursing (8th ed.). St. Louis: Mosby.
Tarrier, N., Yusupoff, L., & Kinney, C. (1998). Randomized controlled trial of intensive cognitive behavior therapy for patients with chronic schizophrenia. British Medical Journal, 317, 303-307.