ผลของโปรแกรมเสริมสร้างปัจจัยปกป้องด้านบุคคลต่อความเข้มแข็งทางใจของผู้ต้องขังหญิงเรือนจำพิเศษพัทยา

Main Article Content

สุธา โพธิ์ทอง
ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์
วรรณี เดียวอิศเรศ
เวทิส ประทุมศรี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: การพัฒนาผู้ต้องขังก่อน พ้นโทษให้มีความเข้มแข็งทางใจเป็นอีกทางเลือก หนึ่งที่ช่วยให้ผู้ต้องขังมีความพร้อมต่อการเผชิญ และจัดการปัญหาต่างๆ ระหว่างที่อยู่ในเรือนจำและเมื่อคืนกลับสู่สังคม การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรม เสริมสร้างปัจจัยปกป้องด้านบุคคลต่อความ เข้มแข็งทางใจของผู้ต้องขังหญิงเรือนจำพิเศษ พัทยา จังหวัดชลบุรี


วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีคุณสมบัติตาม เกณฑ์ที่งานวิจัยกำหนดจำนวน 24 คน สุ่มเข้า กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเสริมสร้างปัจจัย ปกป้องด้านบุคคลเป็นเวลา 3 สัปดาห์ๆ ละ 2 ครั้ง จำนวน 6 ครั้ง โดยแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 90 นาที ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับกิจกรรมตามปกติ ที่ทางเรือนจำจัดให้ ทำการวัดความเข้มแข็งทางใจ ใน 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลัง การทดลองเสร็จสิ้นทันที และระยะติดตามผล 1 เดือน โดยใช้แบบประเมินความเข้มแข็งทางใจของ อัจฉริยา นคะจัด (2554) ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .81 วิ เคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงบรรยายสถิติที สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ และการทดสอบรายคู่ด้วยวิธีบอนเฟอร์โรนี


ผลการศึกษา: ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ย ความความเข้มแข็งทางใจในระยะหลังการทดลอง เสร็จสิ้นและระยะติดตามผลของกลุ่มทดลอง แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .001 โดยในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ย ความความเข้มแข็งทางใจในระยะหลังการทดลอง เสร็จสิ้นทันที (X= 60.58; SD = 5.85) และระยะ ติดตามผล 1 เดือน (X= 65.08; SD = 3.26) สูงกว่า ก่อนการทดลอง (X= 39.33; SD = 2.46) อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ผลการวิจัยแสดง ให้เห็นว่า โปรแกรมเสริมสร้างปัจจัยปกป้องด้าน บุคคลช่วยเพิ่มความเข้มแข็งทางใจให้กับผู้ต้องขัง หญิงได้ ดังนั้น บุคคลที่เกี่ยวข้องในการให้การดูแล ผู้ต้องขังในเรือนจำสามารถศึกษาและพิจารณานำโปรแกรมฯ นี้ไปประยุกต์ใช้กับผู้ต้องขังหญิง หรือ ในกลุ่มเสี่ยงอื่น ๆ ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2561). ปัญหาสุขภาพจิตในผู้ต้องขัง. เข้าถึงเมื่อ 1 มกราคม 2561, จาก https://www. dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=27993

กรมสุขภาพจิต. (2560). แผนยุทธศาสตร์กรมสุขภาพจิตในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). สำนักงานยุทธศาสตร์สุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

กุลภา วจนสาระ. (2561). ป่วยไข้ในเรือนจำ: ปัญหาสุขภาพและการเข้าถึงบริการ. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล. (2550). แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การสร้างความเข้มแข็งทางใจสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

มลวิภา เหมือยพรหม. (2554). โปรแกรมเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจในการป้องกันการฆ่าตัวตายในกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. รายงานการศึกษาอิสระพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาล สุขภาพจิตและจิตเวช, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศุภรา เชาว์ปรีชา. (2551). Resilience ในเด็กที่ถูกทารุณกรรม. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 12(1), 40-49.
สุมนทิพย์ จิตสว่าง และนัทธี จิตสว่าง. (2559). การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังสูงอายุในเรือนจำ. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 24(2), 78-101.

อัจฉริยา นคะจัด. (2554). ผลของโปรแกรมพัฒนาความมั่นคงทางจิตใจของผู้ต้องขังเรือนจำกลางขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการให้คำปรึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อิงคฏา โคตนารา. (2554). ผลของโปรแกรมเสริมสร้างปัจจัยปกป้องต่อความสามารถในการยืนหยัดเผชิญวิกฤติของเยาวชนชายในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

Drapeau, S., Saint - Jacques, M., Lepine., R., Begin, G., & Bernard, M. (2007). Processes that contribute to resilience among youth in foster care. Journal of Adolescence, 30, 977-999.
Garmezy, N. (1991). Resilience in children’s adaptation to negative life events and stressed environments. Pediatric Annals, 20, 459-466.

Gillespie, B. M., Chaboyer, W., & Wallis, M. (2007). Development of a theoretically derived model of resilience through concept analysis. Contemporary Nurse, 25(1), 124-35.

Grotberg, E. H. (1995). A guide to promotion resilience in child: Strengthening the human spirit. The Netherlands: Bemard Van Leer.

Mayo Clinic. (2008). Psychological resilience. Retrieved from http://www.mayoclinic. com/health/resilience/MH 00078.

Wagnild, G. M., & Young, H. (1993). Development psychometric evaluation of the Resilience Scale. Journal of Nursing Measurement, 1, 165-178.