ผลของโปรแกรมการจัดการอาการโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่ออาการทางบวกของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน

Main Article Content

ฐิตินันท์ อ้วนล่ำ
สุนิดา ปรีชาวงษ์
รัชนีกร อุปเสน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: การวิจัยกึ่งทดลองแบบ สองกลุ่มวัดสองครั้งก่อนและหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบอาการทางบวก ของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนก่อนและหลังการ เข้าร่วมโปรแกรมการจัดการอาการโดยการมีส่วนร่วม ของครอบครัว และเพื่อเปรียบเทียบอาการทางบวก ของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนระหว่างกลุ่มที่เข้าร่วม โปรแกรมการจัดการอาการโดยการมีส่วนร่วมของ ครอบครัวกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ


วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยจิตเภทและผู้ดูแลผู้ป่วย จิตเภท จำนวน 40 ครอบครัวที่มารับการรักษา ที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสามชุก จังหวัด สุพรรณบุรีและมีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้า ได้รับ การจับคู่ (matched pair) ด้วยระดับคะแนนอาการ ทางบวกและเพศ และสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่ม ควบคุม กลุ่มละ 20 ครอบครัว กลุ่มทดลองได้รับ โปรแกรมการจัดการอาการโดยการมีส่วนร่วมของ ครอบครัวเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้ รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) โปรแกรมการจัดการอาการโดยการมีส่วนร่วม ของครอบครัว 2) แบบประเมินอาการทางบวก และ 3) แบบประเมินความสามารถในจัดการอาการ ทางบวก เครื่องมือทั้งหมดได้รับการตรวจสอบ ความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน และ เครื่องมือชุดที่ 3 มีค่าความเที่ยงโดยสัมประสิทธิ์ อัลฟ่าของครอนบาคของเท่ากับ .81 วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และสถิติทดสอบที


ผลการวิจัย: 1) คะแนนเฉลี่ยอาการทางบวก ของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนหลังเข้าร่วมโปรแกรม การจัดการอาการโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว น้อยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) หลังการทดลอง ผู้ป่วย จิตเภทในชุมชนที่เข้าร่วมโปรแกรมการจัดการ อาการโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวมีคะแนน เฉลี่ยอาการทางบวกน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการ พยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2556). รายงานประจำปี. กรม สุขภาพจิตปีงบประมาณ 2556. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

กัญญาวรรณ ระเบียบ. (2555). ผลของโปรแกรมการการผ่อนคลายกล้ามเนื้อร่วมกับการควบคุมโกรธต่อพฤติกรรมก้าวร้าวในผู้ป่วยจิตเภท. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กาญจนา นันทไพบูลย์. (2553). การศึกษาการใช้โปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัวต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 24(2), 26-38.

จิราพร รักการ. (2549). ผลของโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาต่อภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหา บัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนา นิลชัยโกวิทย์, นิพัทธิ์ กาญจนธนาเลิศ, มานิตย์ ศรีสุรภานนท์, สเปญ อุ่นอนงค์, และพิเชฐ อุดมรัตน์. (2550). Positive and Negative Syndrome Scale ฉบับภาษาไทย (PANSS-T). กรุงเทพฯ: แจนเซ่น-ซีแลก.

ธิดารัตน์ คณึงเพียร. (2548). โปรแกรมการจัดการอาการต่อลักษณะและความรุนแรงของ อาการหูแว่วในผู้ป่วยจิตเภท. วิทยานิพนธ์ ปริญญาพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.

นภาภรณ์ พึ่งเกศสุนทร. (2553). ผลของโปรแกรมการบำบัดครอบครัวต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิเชษฐ์ อุดมรัตน์ และสรยุทธ วาสิกนานนท์. (2552). ตำราโรคจิตเภท. กรุงเทพมหานคร: สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย.

มาโนช หล่อตระกูล และปราโมทย์ สุคนิชย์. (2555). จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์.

วัชราภรณ์ ลือไธสงค์. (2541). ลักษณะความสัมพันธ์ในครอบครัวที่มีผลต่อการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยจิตเภท: กรณีศึกษา. กลุ่มงานสังคมศาสตร์ โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ กรมสุขภาพจิต.

วิมลพร เกียรติวุฒินนท์, รื่นฤดี ลิ้มฉาย, ชูศรี เกิดพงษ์บุญโชติ, และวัลลภา กิตติมาสกุล. (2551). ประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการหูแว่วต่อลักษณะและความรุนแรงของอาการทางจิตในผู้ป่วยจิตเภท. สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา.

สมพร รุ่งเรืองกลกิจ. (2546). พยาบาลกับการดูแลบุคคลที่เป็นโรคจิตเภท (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานา.

สมภพ เรืองตระกูล. (2542). ตำราจิตเวชศาสตร์พื้นฐานและโรคทางจิตเวช (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์.

อรรณพ ทองคำ. (2546). การทำหน้าที่ของครอบครัวตามการรับรู้ของผู้ที่เป็นโรคจิตเภทที่กลับเป็นซ้ำ. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Addington, J., McCleery, & Addington, D. (2005). Three-year outcome of family work in early psychosis program. Schizophrenia Research, 79(1), 107-116.

Bae, S. M., Lee, S. H., Park, Y. M., Hyun, M. H., & Yoon, H. (2010). Predictive factors of social functioning in patients with schizophrenia: Exploration for the best combination of variables using data mining. Psychiatry Investigation, 7(2), 93-101.

Barkhof, C. J., Meijer, L. M. J., de Sonneville, D. H., Linszen, L., & de Haan., L. (2012). Intervention to improve adherence to antipsychotic medication in patient with schizophrenia-review of the past decade. European Psychiatry, 27, 9-18.

Dodd, M., Janson, S., Facione, N., Faucett, J., Froelicher, E. S., Humphreys, J., et al. (2001). Advancing the science of symptom management. Journal of Advanced Nursing, 33(5), 668-676.

Falloon, I. R. H. (1985). Family management of schizophrenia: A study of clinical, social, family and economic benefits. Baltimore: John Hopkins University Press.

Friedman, M. M., Bowden, V. R., & Jones, E. G. (2003). Family Nursing Research, Theory & Practice (5th ed.). United Stated of American: Pearson Education, Inc.

Gray, R., Wykes, T., & Gournay, K. (2002). From compliance to concordance: A review of the literature on interventions to enhance compliance with antipsychotic medication. Journal of Psychiatric and Mental Health Nursing, 9(3), 277-284.

Hooley, J. M. (2007). Expressed emotion and relapse of psychopathology. Annual Review of Clinical Psychology, 3, 329-352.

Kaplan, H. I., & Sadock, B. J. (2000). Kaplan & Sadock’ s synopsis of psychiatry (9th ed.). Baltimore: Williams & Wilkins.

Kay, S. R., Fiszbein, A & Opler, L. A. (1987). The Positive and Negative Syndrome Scale (PANSS) For Schizophrenia. Schizophrenia Bulletin, 13, 261-276.

Leelahanaj T. (2009). Text book schizophrenia Songkhla. Songkhla: Chanmuang printing.
Lim, Y. M. & Ahn, Y. H. (2003). Burden of family caregivers with schizophrenic patients in Korea. Applied Nursing Research, 16(2), 110-117.

Lindenmayer, J. P., & Khan A. (2006). Psycho¬pathology. In Lieberrman, J. A. Stroup, T. S. Perkin, D.O. (Eds). Textbook of Schizo¬phrenia (pp. 187–221), Washington DC: American Psychiatric Publishing.

McDonagh, L. A. (2005). Express emotion as a precipitate of relapse in psychological disorders. Retrieved March 12, 2015, from https://www.personalityresearch.org/papers/ mcdonagh.html

Millier, A., Sarlon, E., Azorin, J.-M., Boyer, l., Aballea, S., Auquier, P., et al. (2011). Relapse according to antipsychotic treatment in schizophrenic patients: A propensity-adjusted analysis. BMC Psychiatry, 11, 1-9.

Trygstad, L., Buccheri, R., Dowling, G., Zind, R., White, K., Griffin, J. J., et al. (2002). Behavioral management of persistent auditory hallucinations in schizophrenia: Outcomes from a 10-week course. Journal of the American Psychiatric Nurses Association, 8(3), 84-91.

Vadebeck, L. S. (2001). Psychiatric mental health nursing. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.
World Health Organization. (2014). The ICD- 10 Classification of mental and behavior disorders. Geneva: World Health Organization.