ผลของโปรแกรมกลุ่มบำบัดแบบประคับประคองต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพไร่หวาน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

ลออ สิงหโชติสุขแพทย์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการใช้ โปรแกรมกลุ่มบำบัดแบบประคับประคองต่อภาวะ ซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่มารับบริการในโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลโพไร่หวาน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี


วิธีการศึกษ: งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่ง ทดลองกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง(Quasi-experimental one group pretest posttest design) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า อยู่ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ที่มารับการรักษา ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพไร่หวาน อ.เมือง จ.เพชรบุรี จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการศึกษาคือ กลุ่มบำบัดแบบประคับประคอง และแบบวัดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย กลุ่มบำบัดแบบประคับประคอง ดำเนินการ 6 ครั้ง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 6 สัปดาห์ และแบบวัด ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทยมีค่าความสอดคล้อง ภายในด้วยวิธีการ Kuder-Richardson 20 เท่ากับ .88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าคะแนนที 2 กลุ่มที่ไม่อิสระต่อกัน


ผลการศึกษ: คะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้า ของผู้สูงอายุ หลังการเข้าร่วมกลุ่มบำบัดประคับ ประคองต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


สรุป: โปรแกรมกลุ่มบำบัดแบบประคับ ประคองสามารถลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้ และควรนำไปขยายผลและปรับใช้ในพื้นที่อื่น ในวงกว้างมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2557). ข้อมูลประชากรประเทศไทย พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2560 จาก https:// www.dopa.go.th/main/web_index

กรมสุขภาพจิต. (2556). Global Assessment of Function (GAF) Scale. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2557 จาก from https://www.dmh.moph. go.th/gaf.asp.

กัญญาณัฐ สุภาพร. (2555). ผลของโปรแกรมการบำบัดทางพฤติกรรมความคิดแบบกลุ่มต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชุมชน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

รังสิมันต์ สุนทรไชยา. (2553). จิตบำบัดประคับประคอง: การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 24(2), 1-11.

ราตรี ทองยู, วรรณา คงสุริยะนาวิน, อทิตยา พรชัยเกตุโอว ยอง และลิวรรณ อุนนาภิรักษ์. (2554). ผลของกลุ่มบำบัดแบบแก้ไขปัญหาต่ออาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2. วารสารสภาพยาบาล, 26(3), 78-92.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพไร่หวาน. (2557). รายงานการบริการประจำปี 2559 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพไร่หวาน ตำบลโพไร่หวาน จังหวัดเพชรบุรี. เอกสารอัดสำเนา, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพไร่หวาน จังหวัดเพชรบุรี.

วัชรี แสงสาย และรังสิมันต์ สุนทรไชยา. (2557). ผลของการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมต่อภาวะซึมเศร้าและการทำหน้าที่ ในผู้สูงอายุ โรคซึมเศร้า. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 28(3), 104-116.

สมภพ เรืองตระกูล. (2557). ตำราจิตเวชศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

สุดสบาย จุลกทัพพะ. (2554). ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุและการป้องกัน. ใน ประเสริฐ อัสสันตชัย (บรรณาธิการ), ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: ยูเนี่ยน ครีเอชั่น.

อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย. (2554). การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Chow, S. C., Shao, J., & Wang, H. (2003). Sample size calculations in clinical research. New York: Marcel Dekker.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. (2nd ed.). New York: Lawrence Erlbaum Associates.

Gajic, G. M. (2013). Group art therapy as adjunct therapy for the treatment of schizophrenic patients in day hospital. Vojnosanitetski Pregled, 70(11), 1065-1069.

Krishna, M., Jauhari, A., Lepping, P., Turner, J., Crossley, D., & Krishnamoorthy, A. (2010). Is group psychotherapy effective in older adults with depress? A systematic review. International Journal of Geriatric Psychiatry, 26, 331-340.

Sayin, A., Candansayar, S., & Welkin, L. (2012). Group psychotherapy in women with a history of sexual abuse: what did they find helpful. Journal of Clinical Nursing, 22, 3249-3258.

Train the Brain forum Committee. (1994). Thai Geriatric Depression Scale-TGDS. Siriraj Hospital Gazette, 46(1), 1-9.

Yalom, J. D. (1995). The theory and practice of group psychotherapy (4th ed.). New York: Basic Books.