การศึกษาภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุ ในจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

พิสิษฐ์ ศิริรักษ์
ลาวรรณ ศรีสูงเนิน

บทคัดย่อ

               วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษา 1) ศึกษาคุณลักษณะทางประชากรและภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาล นอกเขตเทศบาล และในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครราชสีมา 2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาล นอกเขตเทศบาล และในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครราชสีมา และ 3) เปรียบเทียบภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุระหว่างเขตเทศบาล นอกเขตเทศบาล และเขตองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครราชสีมา


               วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบสำรวจภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 384 คน กำหนดโดยใช้ตารางของ Krejcie and Morgan ตัวแปรใช้ทฤษฎี PRECEDE Model มาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน chi - square test และ One-Way ANOVA โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


               ผลการศึกษา : ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุตอนกลาง อายุเฉลี่ย 71 ปี เป็นเพศชาย ร้อยละ 59.40 อาชีพ ทำเกษตรกรรม ร้อยละ 68.75 มีภาวะซึมเศร้าอยู่ระดับปานกลาง ร้อยละ 51.04 ภาวะสมองเสื่อมอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยนำที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อม คือ อายุ อาชีพในปัจจุบัน อาชีพก่อนเกษียณ น้ำหนัก  ส่วนสูง  ค่าดัชนีมวลกาย การมีโรคประจำตัว การมองเห็น การเป็นโรคเบาหวาน การเคยหกล้มในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา การมีเหตุการณ์ที่ไม่สบายใจ การมีหนี้สิน และรายได้ของครอบครัว ปัจจัยสนับสนุนที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุ คือ ภาวะซึมเศร้า การฆ่าตัวตาย และภาวะสุขภาพทั่วไป  ปัจจัยเสริมไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุ   


               สรุป : เปรียบเทียบภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมา ในพื้นที่แตกต่างกันมีภาวะสมองเสื่อมแตกต่างกัน โดยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมากกว่าในเขตเทศบาล และนอกเขตเทศบาล อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย