ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความเครียด ความแข็งแกร่งในชีวิต และแรงสนับสนุนทางสังคมกับสุขภาพจิตของตำรวจจราจรไทย

Main Article Content

สุภาพร พันพยัคฆ์
พัชรินทร์ นินทจันทร์
โสภิณ แสงอ่อน
วิไล นาป่า

บทคัดย่อ

               วัตถุประสงค์ : การวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความเครียด ความแข็งแกร่งในชีวิต และแรงสนับสนุนทางสังคมกับสุขภาพจิตของตำรวจจราจรไทย


                วิธีการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างเป็นตำรวจจราจรที่ปฏิบัติงานในกองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำนวน 117 นาย เลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบประเมินจำนวน 5 ส่วน คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินสุขภาพจิต แบบประเมินความเครียด แบบประเมินความแข็งแกร่งในชีวิต และแบบประเมินแรงสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน และสหสัมพันธ์พอยซ์ไบซีเรียล


                ผลการศึกษา : พบว่าสถานภาพทางการเงิน ความเครียด ความแข็งแกร่งในชีวิต และแรงสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์กับสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rpb = -.30, rs = .64; rs = -.52, r = -.65, p < .001 ตามลำดับ)  แต่ปัจจัยอายุ ระยะเวลาการปฏิบัติงานเป็นตำรวจจราจร และระดับชั้นยศไม่มีความสัมพันธ์กับสุขภาพจิต (rs = -.12, rs = -.02, rpb = -.16 , p > .05 ตามลำดับ)


                สรุป : ผลจากการวิจัยครั้งนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้ในการเสริมสร้างสุขภาพจิตในตำรวจจราจรต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย