ความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแกร่งในชีวิตและความผูกพันใกล้ชิดกับเพื่อน กับพฤติกรรมการรังแกกันในวัยรุ่นด้อยโอกาส

Main Article Content

อรัญญา อินสอน
พัชรินทร์ นินทจันทร์
โสภิณ แสงอ่อน
นันทิยา เอกอธิคมกิจ

บทคัดย่อ

                วัตถุประสงค์ : การวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแกร่งในชีวิตและความผูกพันใกล้ชิดกับเพื่อนกับพฤติกรรมการรังแกกันในวัยรุ่นด้อยโอกาส


                วิธีการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ชั้นมัธยมศึกษา  ปีที่ 1 - 6 ของโรงเรียนสำหรับเด็กด้อยโอกาสแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 212 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินพฤติกรรมการรังแกกัน แบบประเมินความแข็งแกร่งในชีวิต และแบบประเมินความผูกพันใกล้ชิดกับเพื่อน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน


                ผลการศึกษา : คะแนนความแข็งแกร่งในชีวิตโดยรวมและทุกองค์ประกอบของความแข็งแกร่งในชีวิต (I have, I am, และ I can) มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการรังแกผู้อื่นของวัยรุ่นด้อยโอกาส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.19, p = .005; r = -.22, p = .002; r = -.17, p = .013; r = -.15, p = .028 ตามลำดับ) คะแนนความแข็งแกร่งในชีวิตโดยรวมและทุกองค์ประกอบของความแข็งแกร่งในชีวิต (I have, I am, และ   I can) มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการถูกผู้อื่นรังแกของวัยรุ่นด้อยโอกาสอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (r = -.19, p = .007; r = -.22, p = .001; r = -.15, p = .030; r = -.15, p =.031 ตามลำดับ) ความผูกพันใกล้ชิดกับเพื่อนไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการรังแกผู้อื่น (r = .01, p = .871) อย่างไรก็ตามความผูกพันใกล้ชิดกับเพื่อนมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการถูกผู้อื่นรังแกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.15, p = .026)


                สรุป : ผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตในวัยรุ่นด้อยโอกาสต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย