ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพร้อมในการปฏิบัติงานบทบาทพยาบาลวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ

Main Article Content

ชุติมา ฮากิม
กาญจนา คงมั่น

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษา 1) ระดับความพร้อมในการปฏิบัติงานบทบาทพยาบาลวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 2) ปัจจัยด้านการถ่ายทอดทางวิชาชีพพยาบาล แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการทำงาน และเจตคติต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทพยาบาลวิชาชีพ มีความสัมพันธ์กับความพร้อมในการปฏิบัติงานบทบาทพยาบาลวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 และ 3) การถ่ายทอดทางวิชาชีพพยาบาล แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการทำงาน และเจตคติต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทพยาบาลวิชาชีพที่มีผลต่อความพร้อมในการปฏิบัติงานบทบาทพยาบาลวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4


วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ ปีการศึกษา  2562 จำนวน  68  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป  แบบสอบถามการถ่ายทอดทางวิชาชีพพยาบาล แบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจ


ใฝ่สัมฤทธิ์ในการทำงาน แบบสอบถามเกี่ยวกับเจตคติต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทพยาบาลวิชาชีพ  และแบบสอบถามความพร้อมในการปฏิบัติงานบทบาทพยาบาลวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณ


 


            ผลการศึกษา:


  1. ระดับความพร้อมในการปฏิบัติงานบทบาทพยาบาลวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ อยู่ในระดับมาก

  2. ปัจจัยด้านการถ่ายทอดทางวิชาชีพพยาบาล  และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการทำงาน มีความสัมพันธ์กับความพร้อมในการปฏิบัติงานบทบาทพยาบาลวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ส่วนเจตคติต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทพยาบาลวิชาชีพไม่มีความสัมพันธ์กับความพร้อมในการปฏิบัติงานบทบาทพยาบาลวิชาชีพ

  3. ปัจจัยการถ่ายทอดทางวิชาชีพพยาบาล และ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการทำงาน มีอิทธิพลต่อความพร้อมในการปฏิบัติงานบทบาทพยาบาลวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสามารถร่วมกันทำนายพยากรณ์ได้ร้อยละ 74.8

สรุป: การเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานบทบาทพยาบาลวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาล สถาบันการศึกษาควรให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดทางวิชาชีพพยาบาลจากอาจารย์พยาบาลและพยาบาลพี่เลี้ยง รวมทั้งการเสริมสร้างให้นักศึกษาเกิดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการทำงาน  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรกช ธิวงศ์คำ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน :การวิเคราะห์อภิมาน. วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เกศศิริ วงษ์คงคำ และปิยะธิดา นาคะเกษียร. (2559) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพในเขตพื้นที่ภาคกลาง. วารสารพยาบาลศาสตร์, 34 (2), 102-116.

ณหทัย ตัญญะ. (2550). จิตวิทยา:ศาสตร์แห่งการพัฒนาตน. นครปฐม: สำนักพิมพ์นิตินัย.

ณัฐธยาน์ พงษ์ประวัติ. (2552). ลักษณะทางจิตและการถ่ายทอดทางวิชาชีพพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับ การปฏิบัติงานพยาบาลตามบทบาทวิชาชีพของพยาบาลจบใหม่ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ฤทัยรัตน์ ชิดมงคล และเปรมฤดี บริบาล. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 22(1), 98-108.

เบญจภรณ์ จงรักษ์, มาลีวัล เลิศสาครศิริ, และสมพร ชินโนรส. (2562). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 11(1), 38-49

ปริญญา แร่ทอง และธีรนุช ห้านิรัติศัย. (2555). ประสบการณ์การเปลี่ยนบทบาทจากนักศึกษาพยาบาลสู่การเป็นพยาบาลวิชาชีพ. วารสารสภาการพยาบาล, 27(2), 51-61.

พิมพา จอนสำโรง. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้ปฏิบัติงานด้านการคลัง วิทยาลัยชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

มารวย วิชาญยุทธนากุล (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมระดับ 5 ดาว. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อัมรินทร์ปริ้นติ้งแอนด์พับบลิชชิ่ง.

วรรณพร บุญเปล่ง, อัมพร เที่ยงตรงดี, อารีย์ นรภูมิพิภัชน์, สรายุทธ นามเมือง, ณิชมน หลำรอด และเอนกพงศ์ ฮ้อยคำ. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์. วารสารพยาบาลศาสตร์, 36(4), 29-38.

วิชุดา หรรษาจารุพันธ์. (2540). การศึกษาความพร้อมในการปฏิบัติบทบาทพยาบาลวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 สถาบันการศึกษาพยาบาลเอกชน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลศึกษา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิรัตน์ ปานศิลา. (2542). การถ่ายทอดทางสังคมในการทำงาน จิตลักษณ์และการรับรู้เกี่ยวกับบทบาทที่ สัมพันธ์กับพฤติกรรมการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขระดับตำบลในภาคเหนือของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สิตาณัฏฐ์ จริยวิทยาวัฒน์. (2558) . ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่องานบริการ บุคลิกภาพแบบคุณลักษณะเฉพาะ และการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม กับคุณภาพการบริการของบุคลากร ผู้ให้บริการผู้ป่วยโรงพยาบาลอินเตอร์เวชการ จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สิริพัชร์ ยงยิ่งศักดิ์ถาวร. (2557). การถ่ายทอดทางสังคมในองค์การที่เกี่ยวข้องกับความผูกพันต่อองค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุวรรณา ค้าประเสริฐ. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์การ และการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานบริษัทกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เขต 51. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ,มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2555). ความรู้ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

อัจนา เตมีย์. (2554). การถ่ายทอดทางสังคมในองค์การจิตลักษณะคุณภาพชีวิตการทํางานและพฤติกรรมการทํางานของพนักงานโรงแรมในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อุดมรัตน์ สงวนศิริธรรม. (2560). พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Al-hasan, S. M. I., & Arriff, T. M. (2019). The Effects of Motivation on Job Performance of Nurses in Jordanian Nursing Hospital. International Journal of Engineering Research and Management, 6(5), 47 - 54.

Dinmohammadi, M., Peyrovi, H., & Mehrdad, N. (2013). Concept Analysis of Professional Socialization in Nursing. Nursing Forum, 48(1), 26 - 34.

Kapantow, N. H., Luddin, M. R., & Kambey, D. C. (2020). The Effect of Job Motivation, Job Satisfaction, and Attitude towards Profession on Nurse Performance in Outpatient Clinic of Prof. Dr. R. D. Kandou Hospital. International Conferrence on Humanities, Education, and Social Sciences. KnE Social Sciences, 20, 565 - 575.

Koushali, A. N., Hajiamini, Z., & Ebadi, A. (2012). Comparison of Nursing Students’ and Clinical Nurses’ Attitude toward the Nursing Profession. Iranian Journal of Nursing and Midwifery Research, 17(5), 375 - 380.

Pellico, L. (2009). What newly licensed registered nurses have to say about their first experiences. Nursing Outlook, 57(4), 194 - 203.

Rizany, I., Hariyati, R. T. S., & Handayani, H. (2018). Factors that Affect the Development of Nurses’ Competencies: a Systematic Review. Enfermería Clínica, 28(1), 154 - 157.

Salisu, W. J., Nayeri, N. D., Yakubu, I., & Ebrahimpour, F. (2019). Challenges and Facilitators of Professional Socialization: a Systematic Review. Nursing Open, 6(4), 1289 - 1298.

Toode, K., Routasalo, P., & Suominen, T. (2011). Work Motivation of Nurses: A Literature Review. International Journal of Nursing Studies, 48, 246 - 57.