โรคสมาธิสั้นในเด็กนักเรียน: บทบาทครูและแนวทางการช่วยเหลือในโรงเรียน

Main Article Content

ฐิตวันต์ หงส์กิตติยานนท์
บุญเลี้ยง ทุมทอง

บทคัดย่อ

สมาธิสั้นเป็นกลุ่มอาการที่แสดงให้เห็นได้ตั้งแต่วัยเด็ก เกิดจากความผิดปกติในการทำงานของสมอง ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรม อารมณ์ การเข้าสังคม และการเรียนรู้ของเด็ก ประกอบด้วย 3 กลุ่มอาการหลัก คือ อาการขาดสมาธิ อาการซนอยู่ไม่นิ่ง และอาการหุนหันพลันแล่น โดยเริ่มแสดงอาการตั้งแต่ในวัยเด็ก และส่วนใหญ่มักเป็นต่อเนื่องไปจนถึงวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ หากไม่ได้รับการรักษาช่วยเหลือที่ดีอาการความผิดปกติที่เป็นจะทำให้เกิดผลกระทบทั้งในด้านการเรียน อาชีพ ครอบครัว และสังคม การรักษาโรคสมาธิสั้นต้องอาศัยการช่วยเหลือหลายวิธีร่วมกัน ได้แก่ การให้คำแนะนำแก่พ่อแม่ การช่วยเหลือทางด้านจิตใจ การช่วยเหลือในด้านการเรียน และการรักษาด้วยยา


                บทบาทของครูในการช่วยแก้ปัญหาในด้านการเรียน โดยการค้นหาสาเหตุและดำเนินการแก้ไขไปในแนวทางที่ถูกต้องจะช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้เต็มตามศักยภาพและเหมาะสมตามวัยสมาธิสั้น โรงเรียนควรสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูกับเด็ก การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่เป็นกัลยาณมิตรกับเด็ก การเป็นต้นแบบที่ดีในการเคารพความเป็นมนุษย์ การเห็นคุณค่าในความพยายามเปลี่ยนแปลง การรู้จักชื่นชมในจุดดีมากกว่าจ้องจับผิดของครู บทบาทของครูจึงมีความสำคัญในการส่งเสริมบรรยากาศการเรียน และสิ่งแวดล้อมที่แสดงถึงการยอมรับเด็กนักเรียนที่เป็นโรคสมาธิสั้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ