ผลของโปรแกรมการปรับตัวของบุคคลในภาวะเสี่ยงต่อการควบคุมพฤติกรรมรุนแรงด้วยตนเองในผู้ป่วยโรคจิตเภท

Main Article Content

น้ำจิต กุลอ่อน
จำเนียร สุรวรางกูร
ธนิสร มหานัด

บทคัดย่อ

               วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการปรับตัวของบุคคลในภาวะเสี่ยงต่อการควบคุมพฤติกรรมรุนแรงด้วยตนเองในผู้ป่วยโรคจิตเภท


               วิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดซ้ำ กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคจิตเภทชายมีพฤติกรรมรุนแรงที่เกิดจากหุนหันพลันแล่น หรือควบคุมตนเองไม่ได้ ที่เข้ารับการรักษาประเภทผู้ป่วยใน โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ กลุ่มทดลอง 24 คนได้รับโปรแกรมการปรับตัวของบุคคลในภาวะเสี่ยง ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วยแนวคิด 1) สุขภาพจิตศึกษาของ Anderson 2) การเสริมสร้างแรงจูงใจของ Miller & Rollnick 3) ความเครียดและการเผชิญความเครียดของ Lazarus & Folkman และ 4) Resilience Quotient ของ Grotberg จำนวน 6 กิจกรรม ดำเนินกลุ่มทุกวันจันทร์-พุธ-ศุกร์ วันละ 2 ครั้ง ๆ ละ 60 นาที กลุ่มควบคุม 24 คน ได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ 1) โปรแกรมการปรับตัวของบุคคลในภาวะเสี่ยง และ 2) แบบประเมินการจัดการพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยโรคจิตเภท วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำด้วยสถิติ repeated measure ANOVA


               ผลการศึกษา : กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยการจัดการพฤติกรรมรุนแรงระยะหลังทดลองทันที และระยะติดตามผล 1 เดือนสูงกว่าก่อนทดลอง และมีค่าคะแนนเฉลี่ยการจัดการพฤติกรรมรุนแรงในระยะหลังทดลองทันที และระยะติดตามผล 1 เดือนสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย