ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดในพยาบาลวิชาชีพที่รับผิดชอบงานด้านการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยายความสัมพันธ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาการมีประสบการณ์ในการทำงาน ความพร้อมในการปฏิบัติงาน และความแข็งแกร่งในชีวิต กับความเครียดของพยาบาลวิชาชีพที่รับผิดชอบงานด้านการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
วิธีการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่รับผิดชอบงานด้านการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดแห่งหนึ่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จำนวน 112 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินการรับรู้ความเครียด แบบประเมินความพร้อมในการปฏิบัติงาน และแบบประเมินความแข็งแกร่งในชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย (ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน
ผลการศึกษา : พบว่า ระดับการศึกษาและความพร้อมในการปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมและป้องกันความสัมพันธ์ทางลบกับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ความแข็งแกร่งในชีวิตมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) ส่วนอายุ และระยะเวลาการมีประสบการณ์ในการทำงานไม่มีความสัมพันธ์กับความเครียด
สรุป : ผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการป้องกันและลดปัญหาความเครียดของพยาบาลวิชาชีพที่รับผิดชอบงานด้านการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย