ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นคนดีกับความสุขของนักศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

Main Article Content

อุษา น่วมเพชร
นาบีลา ลีกิจโกศล
สายฝน เอกวรางกูร
ณัฐชนัญ สบเหมาะ

บทคัดย่อ

               วัตถุประสงค์ : การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ความเป็นคนดี ความสุข และความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นคนดีกับความสุขของนักศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์


               วิธีการศึกษา : ประชากรเป็นนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จำนวน 1,539 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความเป็นคนดี และแบบสอบถามความสุข วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติฟิชเชอร์


               ผลการศึกษา : นักศึกษารับรู้ความเป็นคนดีในระดับมาก กลุ่มสำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพรับรู้ความเป็น  คนดีสูงสุด รองลงมา กลุ่มสำนักวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และกลุ่มสำนักวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามลำดับ นักศึกษารับรู้ความเป็นคนดีด้านความสามารถในการทำงานเป็นทีมและการอยู่ร่วมกันมากที่สุด รองลงมา ด้านความรับผิดชอบ และด้านความซื่อสัตย์ ตามลำดับ ด้านความสุขพบว่า คะแนนเฉลี่ยความสุขของนักศึกษาอยู่ในระดับมาก กลุ่มสำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพมีคะแนนความสุขมากที่สุด รองลงมา กลุ่มสำนักวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และกลุ่มสำนักวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามลำดับ นักศึกษามีความสุขด้านการอยู่ร่วมกันของนักศึกษามากที่สุด รองลงมาด้านครอบครัวที่อบอุ่น และด้านความปลอดภัยและพฤติกรรมของนักศึกษา ตามลำดับ ความเป็นคนดีและความสุขของนักศึกษาทั้ง 3 กลุ่มมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.000)


               สรุป : การพัฒนาคุณลักษณะของการเป็นคนดีจะเสริมสร้างให้นักศึกษามีความสุข

Article Details

บท
บทความวิจัย