การพัฒนาโปรแกรมการบำบัดแบบบูรณาการต่อการป้องกันการกลับไปเสพซ้ำในผู้ที่เป็นโรคจิตจากแอมเฟตามีน
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและทดสอบประสิทธิผลโปรแกรมการบำบัดแบบบูรณาการต่อการป้องกันการกลับไปเสพซ้ำในผู้ที่เป็นโรคจิตจากแอมเฟตามีน
วิธีการศึกษา : การวิจัยและพัฒนาแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะพัฒนาโปรแกรมและระยะทดสอบประสิทธิผลโปรแกรม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคจิตจากแอมเฟตามีนที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาลสวนปรุง 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 40 คน และกลุ่มควบคุม 40 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) โปรแกรมการบำบัดแบบบูรณาการ 2) แบบวัดความตั้งใจในการป้องกันการติดซ้ำ 3) แบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันยาเสพติด และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการใช้โปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแควร์ สถิติที และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ
ผลการศึกษา : 1) โปรแกรมการบำบัดแบบบูรณาการ มีค่าความสอดคล้องระหว่างเนื้อหากิจกรรมและวัตถุประสงค์เท่ากับ 1.00 และผลการประเมินความคิดเห็นของผู้บำบัดต่อการใช้โปรแกรม อยู่ในระดับดีมาก และ 2) กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความตั้งใจในการป้องกันการติดซ้ำและพฤติกรรมป้องกันยาเสพติดในระยะหลังการทดลองทันที ระยะติดตาม 4 สัปดาห์ และ 12 สัปดาห์สูงกว่าก่อนทดลองและแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และการกลับไปเสพซ้ำในระยะ 12 สัปดาห์ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สรุป : โปรแกรมการบำบัดแบบบูรณาการช่วยให้ผู้ป่วยโรคจิตจากแอมเฟตามีนมีความตั้งใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันยาเสพติดได้ดีขึ้น จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการบำบัดเพื่อป้องกันการกลับไปเสพซ้ำของผู้ป่วยโรคจิตจากแอมเฟตามีน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย