การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุสมองเสื่อม

Main Article Content

ภาวดี เหมทานนท์
นพรัตน์ ไชยชำนิ
สมสุข สมมะลวน
ก สินศักดิ์ สุวรรณโชติ
วิภาวรรณ ชะอุ่ม เพ็ญสุขสันต์

บทคัดย่อ

               วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาองค์ประกอบเชิงสำรวจคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุสมองเสื่อม


               วิธีการศึกษา : รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นสมองเสื่อม ตามเกณฑ์ ICD-10 (F00-04) เข้ารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลจิตเวชในสังกัดกรมสุขภาพจิต และโรงพยาบาลเครือข่าย จำนวน 270 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินคุณภาพชีวิตที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมาจากแนวคิดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก มีความเชื่อมั่นตามสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบ ด้วยวิธีการสกัดองค์ประกอบหลัก หมุนแกนองค์ประกอบแบบมุมฉากด้วยวิธีแวริแมกซ์


               ผลการศึกษา : คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุสมองเสื่อม ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 6 ด้าน และ 25 องค์ประกอบย่อย โดยองค์ประกอบหลัก คือ 1) ความพึงพอใจในชีวิต 2) สุขภาวะทางจิตใจ 3) กิจกรรมในชีวิตประจำวัน 4) สภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัย 5) เครือข่ายการสนับสนุนทางสังคม และ 6) สถานะทางสังคมและเศรษฐกิจ โดยแต่ละองค์ประกอบอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 32.865, 10.885, 5.404, 4.685, 4.222 และ 4.117 ตามลำดับ ค่าความแปรปรวนรวมคิดเป็นร้อยละ 62.178 ซึ่งองค์ประกอบที่ 1 ความพึงพอใจในชีวิต มีร้อยละความแปรปรวนมากที่สุด แสดงว่าส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุสมองเสื่อมมากที่สุด


               สรุป : คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุสมองเสื่อมเกี่ยวข้องกับความบกพร่องทางด้านการรู้คิด ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน รวมถึงอารมณ์ ความรู้สึก และประสบการณ์ทางสังคม จึงควรใช้แบบประเมินที่มีความเฉพาะเจาะจง เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ดูแลและบุคลากรทางสุขภาพให้การดูแลสนับสนุน ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสมองเสื่อมมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย