ความสัมพันธ์ระหว่างภาระในการดูแล พฤติกรรมการเผชิญปัญหา ภาวะสุขภาพ และภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาระในการดูแล พฤติกรรมการเผชิญปัญหา ภาวะสุขภาพและภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง
วิธีการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงในจังหวัดแห่งหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 270 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงและผู้ป่วยติดเตียง แบบวัดการเผชิญความเครียดของจาโลวิค แบบประเมินภาระในการดูแล (ZBI) แบบประเมินภาวะซึมเศร้า (HRSR-Scale) และแบบประเมิน Short Form Health Survey (SF-12) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการศึกษา : ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่าพฤติกรรมการเผชิญปัญหามีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับภาวะซึมเศร้า (r = -.27, p < .01) ภาระในการดูแลมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับภาวะซึมเศร้า (r = .64, p < .01) และภาวะสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลางกับภาวะซึมเศร้า (r = -.57, p < .01)
สรุป : ผลการศึกษานี้สนับสนุนแนวคิดกระบวนการความเครียดของ Pearlin เพื่อการทำความเข้าใจการเกิดภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงและสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการส่งเสริมป้องกันและลดการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย