ลักษณะพฤติกรรมการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ: มุมมองของผู้สูงอายุที่หายจากโรคซึมเศร้าและญาติ

Main Article Content

หทัยรัตน์ สายมาอินทร์
ประทีป จินงี่
อมราพร สุรการ
นริสรา พึ่งโพสภ

บทคัดย่อ

               วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาลักษณะพฤติกรรมการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ


               วิธีการศึกษา : วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีผู้เข้าร่วมวิจัย คือ ผู้สูงอายุที่หายทุเลาจากโรคซึมเศร้าและไม่กลับเป็นซ้ำ และญาติ รวมจำนวน 12 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลัก บันทึกขณะการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา


               ผลการศึกษา : มุมมองของผู้สูงอายุและญาติเกี่ยวกับลักษณะของพฤติกรรมการป้องกันการกลับเป็นซ้ำในผู้สูงอายุที่เป็นโรคซึมเศร้า มีองค์ประกอบ 3 ส่วน ส่วนที่ 1 ระบุสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า ได้แก่ 1) ลักษณะเหตุการณ์ 2) ลักษณะอาการ โดยสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าสามารถเกิดขึ้นได้มากกว่า 1 สัญญาณ ส่วนที่ 2 ดำเนินการการจัดการกับสัญญานเตือน ได้แก่ 1) สร้างทักษะการเผชิญปัญหาที่ดีต่อสุขภาพ  2) ระบุสถานการณ์ที่ตึงเครียด 3) จัดการสถานการณ์ตึงเครียด ส่วนที่ 3 ขอความช่วยเหลือจากภายนอกเมื่อจำเป็นเมื่อสัญญาณเตือนอาจเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน หรืออาจรู้สึกว่าการจัดการตนเองไม่เพียงพอ การวางแผนล่วงหน้าหากมีการกำเริบของโรค และการมารับการติดตามตามนัดแพทย์


               สรุป : ผลการวิจัยนี้นำมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาเครื่องมือและโปรแกรมป้องกันการกลับเป็นซ้ำของ    โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุที่เป็นโรคซึมเศร้าให้ทุเลาและป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคซึมเศร้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธรณินทร์ กองสุข, สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล, ศุภชัย จันทร์ทอง, เบญจมาส พฤกษ์กานนท์, สุพัตรา สุขาวห, และ จินตนา ลี้จงเพิ่มพูน. (2561). ความเที่ยงตรงตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าของแบบประเมินอาการโรคซึมเศร้า 9 คำถาม ฉบับปรับปรุงภาษากลาง. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 63(4), 321-334.

นันทิยา จีระทรัพย์, สุพัตรา สุขาวห, กมลทิพย์ สงวนรัมย์, เกษราภรณ์ เคนบุปผา, และ หทัยรัตน์ ดิษฐอั๊ง. (2563). การพัฒนาและทดสอบประสิทธิผลโปรแกรมการบำบัด ทางความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่มสำหรับวัยรุ่นที่มีอาการซึมเศร้าในโรงเรียนมัธยมศึกษา. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศ

ไทย, 65(1), 47-62.

ประสบสุข ศรีแสนปาง. (2561). ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ : ความลุ่มลึกในการพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 41(1), 129-140.

ไพรัตน์ ชมภูบุตร, เกษราภรณ์ เคนบุปผา, สุพัตรา สุขาวห, จินตนา ลี้จงเพิ่มพูน, และ หทัยรัตน์ สายมาอินทร์. (2565). การพัฒนาและผลของโปรแกรมการจัดการตนเองด้วยการเจริญสติตระหนักรู้ความคิดเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 36(3), 117-140.

ไพรัตน์ ชมภูบุตร, จินตนา ลี้จงเพิ่มพูน, หทัยรัตน์ สายมาอินทร์, อัจฉริยาภรณ์ สุพิชญ์, สุดารัตน์ พุฒพิมพ์, สุทธยา แสงรุ่ง, หทัยรัตน์ ดิษฐ์อั๊ง, ประนอม แก้วกุล, ศุพัฒศร ผ่านทอง, วิภาดา พุ่มโพธิ์, และ สุธิสา ดีเพชร. (2565). โปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อการหายทุเลาและป้องกันการกลับเป็นซ้ำสำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์. 6(2), 30-48.

วาสนา วรรณเกษม และรังสิมันต์ สุนทรไชยา. (2554). ผลของโปรแกรมการพยาบาลที่เน้นการปรับตัวและการระลึกถึงความหลังต่ออาการซึมเศร้าของผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคซึมเศร้า. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 25(3), 82-96.

สาวิตรี วิษณุโยธิน และนชพร อิทธิวิศวกุล. (2553). แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลผู้มีภาวะซึมเศร้า.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา, 16 (1), 5-22.

สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล และสรยุทธ วาสิกนานนท์. (2558). ตำราโรคซึมเศร้า. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

Advancing Integrated Mental Health Solutions. (2021). Relapse Prevention Plan Depression. The AIMS Center at the University of Washington, Psychiatry & Behavioral Sciences. Retrieved April 19, 2021, from https://aims.uw.edu/ resource-library/relapse-prevention-plan-depression.

American Psychiatric Association. (2000). Practice guideline for the treatment of patients with major depressive disorder (revision). The American Journal of Psychiatry, 157 (4), 1-45.

American Psychiatric Association. (2013). Diagnostic and statistical manual of mental disorders (5th ed.). American Psychiatric Association Publishing.

Canadian Mental Health Association. (2021). Preventing Relapse of Depression. Retrieved April 13, 2021, from https://www.heretohelp.bc.ca/infosheet/preventing-relapse-of-depression.

Frank E, Prien RF & Jarrett RB. (1991). Conceptualization and rationale for consensus definitions of terms in major depressive disorder. Remission, recovery, relapse, and recurrence. Archives of general psychiatry, 48(9), 851-855.

Kongsuk T., Leechongpermpoon J., Patipatpakdee H., Pimtra S., Hasuk P., Khotcharoen N., Wonganan A., Prada S., Nintanawongsa P., & Sunantapoj P. (2018). The predictive of relapse of depressive disorder in Thai population by data mining techniques. Retrieved December 26, 2018, from https://www.nrms.go.th.

Miles, M. B., & Huberman, A. M. (1994). Qualitative data analysis: An expanded sourcebook. Sage Publications.

National Clinical Practice Guideline. (2018). Depression in adults: treatment and management Full guideline. National Institute for Health and Care Excellence, 15-868. Retrieved from https://www.nice.org.uk/guidance/ng222/documents/ full-guideline-updated