ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางใจต่อความเครียดและภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต สถานศึกษาแห่งหนึ่ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางใจ ต่อ ความเครียดและภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต
วิธีการศึกษา : การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง รูปแบบการวิจัยเป็นแบบสองกลุ่ม วัดสองครั้ง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์การคัดเลือก 40 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางใจ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบประเมินความเครียด แบบวัดภาวะซึมเศร้า ของกรมสุขภาพจิต และโปรแกรมเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติที
ผลการศึกษา : 1) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดและค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะซึมเศร้าต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) 2) หลังการทดลองค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดและค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะซึมเศร้าของกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01)
สรุป : โปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางใจสามารถลดความเครียดและภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย
References
กรมสุขภาพจิต. (2557). แนวทางการดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าระดับจังหวัด (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 2557). [อินเตอร์เน็ต] . 2557 [เข้าถึงเมื่อ 2566 กุมภาพันธ์ 7]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaidepression.com/www/58/guidebookdepress.pdf
วิมลวรรณ ปัญญาว่อง, โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ, และรัตนศักดิ์ สันติธาดากุล. (2561). การพัฒนาแบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 30(1), 38-48.
นฤมล สมรรคเสวี, และโสภิณ แสงอ่อน. (2558). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, 29(3), 11-27.
ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล. (2551). คู่มือการจัดกิจกรรมการสร้างความเข้มแข็งทางใจสำหรับบุคลากรสาธารณสุข. (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย.
มาโนช หล่อตระกูล, และปราโมทย์ สุคนิชย์. (บรรณาธิการ). (2558). จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.
วิสุทธิ์ โนจิตต์, นภัสสร ยอดทองดี, วงเดือน เล็กสง่า, และปารวีร์ มั่นฟัก. (2563). ปัจจัยทำนายความเครียด และวิธีการจัดการความเครียดของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี, 1(1), 118-128.
สุวัฒน์ มหัตนิรันตร์กุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, และพิมพ์มาศ ตาปัญญา. (2541). แบบประเมินความเครียดด้วยตนเองสวนปรุง. เข้าถึงได้จาก http://www.cumentalhealth.com/ index.php?lay=show&ac=article&Id=539909295เข้าถึงวันที่ 20 มีนาคม 2566
โสภิณ แสงอ่อน, พัชรินทร์ นินทจันทร์, และ ทัศนา ทวีคูณ. (2558). ภาวะซึมเศร้าและความแข็งแกร่งในชีวิตของประชาชนในชุมชนแห่งหนึ่ง. วารสารการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, 32(2), 84-99.
Grotberg, E. H. (1995). A guide to promoting resilience in children; Strengthening the human spirit. The Hague, Bernard Van Lee Foundation.
Grotberg, E. H. (1997). The International resilience project: Findings from the research and the effectiveness of interventions. Retrieved July 01, 1997, from https://files.eric.ed.gov/fulltex/ED419584.pdf
Grotberg, E. H. (1999). Tapping your inner strength: How to Find the Resilience to Deal with Anything. Retrieved October 01, 1999, from https://www.amazon.com/Tapping-Your-Inner-Strength-Resilience/dp/1572241683.