ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการเรียนออนไลน์จากสถานการณ์โควิด-19 ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

แสงนภา บารมี
ทยาวีร์ จันทรวิวัฒน์

บทคัดย่อ

                วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการเรียนออนไลน์จากสถานการณ์โควิด-19 ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดนครราชสีมา


                วิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 290 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามออนไลน์ประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยสนับสนุน ความเครียดในการเรียนออนไลน์ และแบบวัดความเครียดของกรมสุขภาพจิต (SPST-20) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


                ผลการศึกษา : ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ และด้านสถานภาพครอบครัวมีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดในการเรียนออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 ปัจจัยสนับสนุนได้แก่ สิ่งแวดล้อมขณะเรียนออนไลน์จำแนกเป็น ด้านเสียง ด้านความร้อน และอุปสรรคของการสื่อสารออนไลน์จำแนกเป็น ความล่าช้าของการรับส่งข้อมูลและความเสถียรของคลื่นหรืออินเทอร์เน็ตของเครือข่าย มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดในการเรียนออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นักเรียนส่วนมากมีความเครียดในระดับรุนแรง คิดเป็นร้อยละ 45.9


                สรุป : สิ่งแวดล้อมขณะเรียนออนไลน์และอุปสรรคของการสื่อสารออนไลน์ มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการเรียนออนไลน์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (6 สิงหาคม 2564). แบบทดสอบด้านสุขภาพจิต. https://dmh.go.th/test/.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (6 สิงหาคม 2564). ลดความตึงเครียดของเด็กเรียนออนไลน์. https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30920.

กระทรวงศึกษาธิการ. (3 มกราคม 2565). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ. https://moe360.blog/2022/01/03/3-1-2565.

ชฎาภา ประเสริฐทรง, จรินวรรณ แสงหิรัญรัตนา, พรชนา กลัดแก้ว. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการเรียนออนไลน์จากสถานการณ์โควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา, 13(1): 14-28.

ณัฐธัญญา ประสิทธิ์ศาสตร์. (2561). ผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจภายในต่อทักษะการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาล [ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2018/TU_2018_5814030101_8990_9626.pdf

ภัณฑิรา เตชบวรเกียรติ. (2561). ความเครียดด้านการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ปทุมวัน [การวิจัยรายบุคคล ปริญญาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].

ภูริทัต ศรมณี. (2561). การจัดการความเครียดอย่างเหมาะสมของนักศึกษาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ [การวิจัยรายบุคคล ปริญญาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].

โรงเรียนสุรนารีวิทยา. (1 สิงหาคม 2564). ประกาศโรงเรียนสุรนารีวิทยา. https://www.srn.ac.th/index/web1/web/news/ 8s7A5DNkrVza.pdf.

Cronbach, L. J. (1974). Essentials of Psychology Test. (3rd ed.). Row Publishers.

Lazarus, R. S., & Folkman, S. (1984). Stress, appraisal, and coping. Springer publishing company.

Taro, Y. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd Ed). Harper and Row Publications.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ. (2540). การสร้างแบบวัดความเครียดสวนปรุง. วารสารสวนปรุง, 13, 1-20.

นิธิสนี รุจิรังสีเจริญ และคณะ. (2564). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับความเครียดของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 66(1), 53-68

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (7 มกราคม 2563). ผลประเมิน PISA 2018 : นักเรียนไทยวัย 15 ปี รู้และทำอะไรได้บ้าง . https://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2019-48/

นิศากร โพธิมาศ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดในการเรียนออนไลน์ ความยืดหยุ่นทางอารมณ์และการเผชิญความเครียดของนิสิตพยาบาล ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19, วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 37(3), 142-154.