การบำบัดโรคซึมเศร้าด้วยการเจริญสติตระหนักรู้ความคิดของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในประเทศไทย: การทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรม

Main Article Content

เกษราภรณ์ เคนบุปผา
กุณฑ์ชลี เพียรทอง
กมลทิพย์ สงวนรัมย์
สุพัตรา สุขาวห

บทคัดย่อ

                วัตถุประสงค์ : เพื่อทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมการบำบัดโรคซึมเศร้าด้วยการเจริญสติตระหนักรู้ความคิดสำหรับใช้ในป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคซึมเศร้า ลดอาการซึมเศร้าและความหมกมุ่นครุ่นคิด รวมทั้งเพิ่มระดับสติ


                วิธีการศึกษา : การวิจัยเชิงทดลองแบบไม่สุ่มและมีกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีประวัติได้รับการวินิจฉัยจากจิตแพทย์และคัดเลือกจากฐานข้อมูลของโรงพยาบาลจิตเวชในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 75 คน เหลือกลุ่มตัวอย่างมีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าและคัดออกจากการศึกษา 68 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มทดลอง 34 คน และกลุ่มควบคุม 34 คน โดยกลุ่มทดลองแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ๆ ละ 8 - 10 คน เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมของโปรแกรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการบำบัดโรคซึมเศร้าด้วยการเจริญสติตระหนักรู้ความคิด แบบประเมินภาวะซึมเศร้าของเบค แบบวัดความครุ่นคิดต่อเหตุการณ์ และแบบวัดระดับความมีสติ โดยมีการวัดประเมินผลก่อนการทดลอง หลังการทดลองทันทีและระยะติดตามผลภายใน 3 เดือน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ เปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยสถิติแบบบอนเฟอร์โรนี และทดสอบค่าเฉลี่ยความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วย Independent t-test


                ผลการศึกษา : โปรแกรมดังกล่าวมีประสิทธิผลในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคซึมเศร้า และลดอาการซึมเศร้าและความหมกหมุ่นครุ่นคิดในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โดยกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนอาการซึมเศร้าก่อนการทดลอง หลังการทดลองทันที และระยะติดตามผลภายใน 3 เดือนลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ค่าเฉลี่ยคะแนนความครุ่นคิดต่อเหตุการณ์ก่อนการทดลองและระยะติดตามผลภายใน 3 เดือนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) กลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการบำบัดโรคซึมเศร้าด้วยการเจริญสติตระหนักรู้ความคิดไม่มีการกลับเป็นซ้ำของโรคซึมเศร้าภายในระยะเวลา 3 เดือนและ 6 เดือน


                สรุป : โปรแกรมการบำบัดโรคซึมเศร้าด้วยการเจริญสติตระหนักรู้ความคิดช่วยป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคซึมเศร้า และมีผลต่อการลดลงของอาการซึมเศร้าและความหมกหมุ่นครุ่นคิดในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติวรรณ เทียมแก้ว, บุปผวรรณ พัวพันธ์ประเสริฐ, สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, และ ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย. (2550). ต้นทุนบริการผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในสถานพยาบาลภาครัฐของประเทศไทย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 15(1), 19-21.

ชัชวาลย์ ศิลปกิจ, ภัทรพร วิสาจันทร์, และ อรวรรณ ศิลปกิจ. (2554). ความตรงของ philadelphia mindfulness scale ฉบับภาษาไทย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 19(3), 140-147.

ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์, ปริยา ปราณีตพลกรัง, ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล, ญาดา ธงธรรมรัตน์, และ ปราณีต ชุ่มพุทรา. (2558). กลุ่มบำบัดความคิดบนพื้นฐานการฝึกสติในการป้องกันกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้น: การศึกษานำร่อง. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 23(3), 143-153.

ทยาวีย์ จันทรวิวัฒน์, และสุหทัย โตสังวาล. (2564). ผลของโปรแกรมการเจริญสติเป็นฐานออนไลน์ต่อระดับความเครียดและระดับสติในนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 35(3), 42-57.

พรเพ็ญ อารีกิจ, และอรพรรณ ลือบุญธวัชชัย. (2555). ผลของโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการเจริญสติต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 26(3), 71-80.

ไพรัตน์ ชมภูบุตร, เกษราภรณ์ เคนบุปผา, สุพัตรา สุขาวห, จินตนา ลี้จงเพิ่มพูน, และ หทัยรัตน์ สายมาอินทร์. (2565). การพัฒนาและผลของโปรแกรมการจัดการตนเองด้วยการเจริญสติตระหนักรู้ความคิดเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 36(3), 117-140.

มุกดา ศรียงค์. (2522). แบบประเมินภาวะซึมเศร้าของเบค [Beck depression inventory IA (BDI-IA)]. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์. (2563). รายงานผลการปฎิบัติงานประจำปีงบประมาณ 2563. โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์.

โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ กรมสุขภาพจิต. (2564). รายงานการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์.

วารีรัตน์ ถาน้อย, รุ้งนภา ผาณิตรัตน์, และ กอบกุล พันธ์เจริญวรกุล. (2554). แบบวัดความครุ่นคิดต่อสถานการณ์ฉบับภาษาไทยสำหรับวัยรุ่น: คุณภาพของเครื่องมือ. Journal of Nursing Science, 29(2), 29-38.

สมจิตร เสริมทองทิพย์, ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์, ดวงใจ วัฒนสินธุ์, และ เวทิส ประทุมศรี. (2560). ผลของโปรแกรมการบำบัดทางปัญญาบนพื้นฐานของสติต่อภาวะซึมเศร้าในผู้เป็นเบาหวาน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(3), 66-75.

สมพร รุ่งเรืองกลกิจ, สวิตตา ธงยศ, อิงคฎา โคตรนารา, และ ขจรศักดิ์ วรรณทอง. (2557). ประสิทธิผลของการให้การปรึกษาแนวพุทธธรรมต่อการลดอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 59(4), 381-393.

อรวรรณ ศิลปกิจ และบรรจบ บรรณรุจิ. (2558). บทความฟื้นฟูวิชาการ: สติและแบบประเมินสติ. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 23(3), 184-197.

Batink, T., Peeters, F., Geschwind, N., van Os, J., & Wichers, M. (2013). How does mbct for depression work? Studying cognitive and affective mediation pathways. PLoS ONE, 8(8), e72778.

Beck, A. T., Steer, R. A., & Carbin, M. G. (1988). Psychometric properties of the beck depression inventory: Twenty-five years of evaluation. Clinical Psychology Review, 8(1), 77-100.

Biesheuvel-Leliefeld, K. E. M., Bosmans, J. E., Dijkstra-Kersten, S. M. A., Smit, F., Bockting, C. L. H., van Schaik, D. J. F., et al. (2018). A supported self-help for recurrent depression in primary care; an economic evaluation alongside a multi-center randomised controlled trial. PLoS ONE, 13(12), e0208570-e0208570.

Cardaciotto, L., Herbert, J. D., Forman, E. M., Moitra, E., & Farrow, V. (2008). The assessment of present-moment awareness and acceptance: The philadelphia mindfulness scale. Assessment, 15(2), 204-223.

Guo, H.-R., Wang, J.-R., Wang, Y.-L., Huang, B.-L., Yang, X.-H., & Ren, Y.-M. (2022). The effectiveness of mindfulness-based cognitive therapy combined with medication therapy in preventing recurrence of major depressive disorder in convalescent patients. Frontiers in Psychology, 13, 1-8.

Hollon, S. D., DeRubeis, R. J., Shelton, R. C., Amsterdam, J. D., Salomon, R. M., O'Reardon, J. P., Lovett, M. L., Young, P. R., Haman, K. L., Freeman, B. B., & Gallop, R. (2005). Prevention of relapse following cognitive therapy vs medications in moderate to severe depression. Archives of General Psychiatry, 62(4), 417-422.

Kenbubpha K, Pianthong K, Saguanrum K, Sukhawaha S, Thongbenjamas S, & Hasook P. (2021, March). Development and testing the content validity of the program of mindfulness-based cognitive therapy for depressive disorders. Paper presented at the 20th WPA World Congress of Psychiatry. Retrieved March 22, 2021, from

https://www.eposters.net/event/20th-wpa-virtual-congressof-psychiatry

Kennedy, N., Abbott, R., & Paykel, E. S. (2003). Remission and recurrence of depression in the maintenance era: Long-term outcome in a cambridge cohort. Psychological Medicine, 33(5), 827-838.

Kessing, L. V., Hansen, M. G., Andersen, P. K., & Angst, J. (2004). The predictive effect of episodes on the risk of recurrence in depressive and bipolar disorders - a life-long perspective. Acta Psychiatrica Scandinavica, 109(5), 339-344.

Nolen-Hoeksema, S., & Morrow, J. (1991). A prospective study of depression and posttraumatic stress symptoms after a natural disaster: The 1989 loma prieta earthquake. Journal of Personality and Social Psychology, 61(1), 115-121.

Polit, D. F., & Beck, C. T. (2006). The content validity index: Are you sure you know what's being reported? Critique and recommendations. Research in Nursing & Health, 29(5), 489-497.

Rosner, B. (2015). Fundamentals of biostatistics. Nelson Education.

Segal, Z.V., Williams, M.G., & Teasdale, J.D. (2013). Mindfulness-based cognitive therapy for depression (2nd ed.). The Guilford Press.

Segal, Z. V., & Teasdale, J. D. (2018). Mindfulness-based cognitive therapy for depression. The Guilford Press.

Segal, Z. V., Williams, M. G., & Teasdale, J. D. (2003). Mindfulness-based cognitive therapy for depression: A new approach to preventing relapse. The Guilford Press.

van Aalderen, J. R., Donders, A. R., Giommi, F., Spinhoven, P., Barendregt, H. P., & Speckens, A. E. (2012). The efficacy of mindfulness-based cognitive therapy in recurrent depressed patients with and without a current depressive episode: A randomized controlled trial. Psychological Medicine, 42(5), 989-1001.

van der Velden, A. M., Kuyken, W., Wattar, U., Crane, C., Pallesen, K. J., Dahlgaard, J., Fjorback, L. O., & Piet, J. (2015). A systematic review of mechanisms of change in mindfulness-based cognitive therapy in the treatment of recurrent major depressive disorder. Clinical Psychology Review, 37, 26-39.

Williams, J. M., Crane, C., Barnhofer, T., Brennan, K., Duggan, D. S., Fennell, M. J., Hackmann, A., Krusche, A., Muse, K., Von Rohr, I. R., Shah, D., Crane, R. S., Eames, C., Jones, M., Radford, S., Silverton, S., Sun, Y., Weatherley-Jones, E., Whitaker, C. J., Russell, D., Russell, I. T. (2014). Mindfulness-based cognitive therapy for preventing relapse in recurrent depression: A randomized dismantling trial. Journal of Consulting and Clinical Psychology, 82(2), 275-286.

World Health Organization. (24 October 2019). Depression. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/depression.