ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้รับการบำบัดยาเสพติดระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ

Main Article Content

วัชรินทร์ วุฒิรณฤทธิ์
วันเพ็ญ ใจปทุม

บทคัดย่อ

                วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้รับบริการบำบัด   ยาเสพติดระยะฟื้นฟูสมรรถภาพที่มารับบริการจากสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี


                วิธีการศึกษา : การวิจัยเชิงบรรยายแบบหาความสัมพันธ์ภาคตัดขวาง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้รับบริการบำบัดยาเสพติดระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี  เลือกแบบสุ่มจากผู้รับบริการที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การรับอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 132 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนา, Spearman Rank Correlation และ Chi- square


                ผลการศึกษา : ความชุกของภาวะซึมเศร้าในกลุ่มตัวอย่าง เมื่อพิจารณาคะแนนรวมที่จุดตัดเท่ากับหรือมากกว่า 22 คะแนน มีภาวะซึมเศร้า คิดเป็นร้อยละ 19.70 ผลวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า เหตุการณ์ความเครียดในชีวิตและทัศนคติที่ไม่เหมาะสมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้า (rs = .376, p < .01 และ rs = .416, p < .01) ในขณะที่สัมพันธภาพกับผู้บำบัดมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะซึมเศร้าของผู้รับบริการบำบัดยาเสพติดระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ (rs = -.343, p < .01) เพศ  สถานภาพสมรส และปริมาณการใช้สารเสพติดของผู้รับบริการบำบัดยาเสพติดระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า (Chi-Square = .833, p = .361; Chi-Square = 2.564,     p = .277; Chi-Square = 4.085, p = .252, ตามลำดับ)


                สรุป : การป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้รับบริการบำบัดยาเสพติดระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ พยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพจิต ควรมุ่งเน้นการค้นหาวิธีการจัดการเหตุการณ์ความเครียดในชีวิตและการปรับทัศนคติที่ไม่เหมาะสมของผู้รับบริการและควรส่งเสริมด้านสัมพันธภาพกับผู้บำบัดในการดูแลผู้รับบริการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดุษณีย์ ชาญปรีชา, นันทา ชัยพิชิตพันธ์, สุกุมา แสงเดือนฉาย และ สำเนา นิลบรรพ์. (2560). ผลของโปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเมทแอมเฟตามีน. วารสารกรมการแพทย์. 42(2), 090 -101.

ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2554). แบบวัดภาวะซึมเศร้า Center for Epidemiological Studies-Depression Scale (CES-D) ฉบับภาษาไทย http://www.cumentalhealth.com/index.php?lay= show&ac=article&Id=539909308

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์, สุภมาส อังศุโชติ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2555). สถิติสำหรับการวิจัยและเทคนิคการใช้ SPSS (Statistics for research and SPSS application techniques) (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2). บริษัทเจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

ศิระ เมืองไทย. (2556). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเครือข่ายโรงพยาบาลศรีสะเกษ. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 28(2), 109-120.

ศุภิสรา เจริญไพฑูรย์, โสภิณ แสงอ่อน, แอนน์ จิระพงษ์สุวรรณ, ปรารถนา สถิตวิภาวี และสุรินธร กลัมพากร. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าในแรงงานสตรีภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์. Journal of The Medical Association of Thailand, 95(6), S141- S146.

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี. (2564). FAST Model สำหรับผู้ป่วยใน. สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี.http://www.pmnidat.go.th/thai/index.php?option=com_content&task=view&id=3486&Itemid=143

สุทธานันท์ ชุนแจ่ม, โสภิณ แสงอ่อน และ ทัศนา ทวีคูณ. (2554). การสำรวจงานวิจัยที่เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าในประเทศไทย. Ramathibodi Nursing Journal. 17(3), 412-429.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2565). ข้อมูลเปิดภาครัฐ สำนักงาน ป.ป.ส. จำนวนผู้รับการบำบัดรักษายาเสพติด ปีงบประมาณ 2565. https://data.oncb.go.th/treat

อรกนก สังข์พระกร และ สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย. (2562). ภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของพนักงานเกษียณอายุการไฟฟ้านครหลวง ที่คลินิกผู้ป่วยนอกแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลการไฟฟ้านครหลวง. Chulalongkorn Medical Bulletin, 1(4), 394-402.

อรัญญา แพจุ้ย, พิทักษ์ สุริยะใจ, นภัสสรณ์ รังสิเวโรจน์, และ เสาวลักษณ์ ใจฟอง. (2558). รายงานวิจัยสถานการณ์การดูแลผู้ติดสุราที่มีโรคซึมเศร้าในโรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

อนุพงศ์ จันทร์จุฬา และ ซัยฟุดดีน ชำนาญ. (2559). รายงานการวิจัยเรื่องความเครียดและการเผชิญความเครียดของผู้ป่วยชายที่เข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติดระยะฟื้นฟูสมรรถภาพโรงพยาบาลธัญญารักษ์สงขลา. กลุ่มภารกิจบริการวิชาการ โรงพยาบาลธัญญารักษ์สงขลา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

Agnew- Davies, R., Stiles, W. B., Hardy, G. E., Barkham, M., & Shapiro, D. A. (1998). Alliance structure assessed by the Agnew Relationship Measure (ARM). British Journal of Clinical Psychology. 37, 155-172.

Beevers, C. G., Strong, D. R., Meyer, B., Pilkonis, P. A., & Miller, I. W. (2007). Efficiently assessing negative cognition in depression: An item response theory analysis of the Dysfunctional Attitude Scale. Psychological Assessment, 19(2), 199-209.

Charney, D. A., Paraherakis, A. M., & Gill, K. J. (2001). Integrated treatment of comorbid depression and substance use disorders. Journal of Clinical Psychiatry, 62, 672-677.

Charney, D. A., Palacios-Boix, J., Negrete, J. C., Dobkin, P. L., & Gill, K. J. (2005). Association between concurrent depression and anxiety and six-month outcome of addiction treatment. Psychiatric Services, 56(8), 927-933.

Charoensuk, S. (2007). Negative thinking: a key factor in depressive symptoms in Thai adolescents. Issues in Mental Health Nursing. 28, 55-74.

Gentile, A., Bianco, A., Nordstrom, A., & Nordstrom, P. (2021). Use of alcohol, drugs, inhalants, and smoking tobacco and the long-term risk of depression in men: A nationwide Swedish cohort study. Drug and Alcohol Dependence, 221, 108553, 1-8.

Grove, SK. & Cipher, DJ. (2019). Statistics for nursing research: A workbook for evidence-based practice (3rd ed.). ELSVIER.

Hobden, B., Carey, M., Bryant, J., Sanson-Fisher, R., & Oldmeadow, C. (2020). Prevalence and predictors of symptoms of depression among individuals seeking treatment from Australian Drug and Alcohol Outpatient Clinics. Community Mental Health Journal, 56, 107-115.

Ju, Y., Wang, M., Lu, X., Sun, J., Dong, Q., Zhang, L., et al. (2020). The effects of childhood trauma on the onset, severity and improvement of depression: The role of dysfunctional attitudes and cortisol levels. Journal of Affective Disorders, 276, 402-410.

Kay-Lambkin, F., Baker, A. L., Palazzi, K., Lewin, T. J., & Kelly, B. J. (2017). Therapeutic alliance, client need for approval, and perfectionism as differential moderators of response to eHealth and traditionally delivered treatments for comorbid depression and substance use problems. International Journal of Behavioral Medicine, 24, 728-739.

Kelly, T. M., & Daley, D. C. (2013). Integrated treatment of substance use and psychiatric disorders. Social Work in Public Health, 28(0), 388-406.

Kim, B. K. E., Gilman, A. B., Kosterman, R., & Hill, K. G. (2019). Longitudinal associations among depression, substance abuse, and crime: A test of competing hypotheses for driving mechanisms. Journal of Criminal Justice, 62, 50-57.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W., (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement.

Kushner, S., Quilty, L. C., Uliaszek, A. A., McBride, C., & Bagby, R. M. (2016). Therapeutic alliance mediates the association between personality and treatment outcome in patients with major depressive disorder. Journal of Affective Disorders, 201, 137-144.

Liu, R. T., & Alloy, L.B. (2010). Stress generation in depression: A systematic review of the empirical literature and recommendations for future study. Clinical Psychology Review, 30(5), 582-593.

Morris, N. M., Fulton, J. A., Youngren, W. A., Schumacher, J. R., & Ingram, P. B. (2021). Depression and substance use: The CES-D’s utility in predicting treatment outcomes in a longitudinal multi-site study of residential treatment centers. Addictive Behaviors, 114, 106729, 1-8.

Morrison-Valfre, M. (2023). Foundations of mental health care (8th ed.). ELSEVIER.

Mulugeta, A., Azale, T., Mirkena, Y., Koye, S., Nakie, G., Kassaye, A., et al. (2023). Prevalence of depressive symptoms and their associated factors among older adults in Yirgalem town, Southern Ethiopia: A community-based cross-sectional study. Frontiers in Psychiatry, 14, 1148881.

Radloff, L. S. (1977). The CES-D scale: a self-report depression scale for research in the general population. Applied Psychological Measurement. 1, 385-401.

Richardson, D., Adamson, S., & Deering, D. (2018). Therapeutic alliance predicts mood but not alcohol outcome in a comorbid treatment setting. Journal of Substance Abuse Treatment, 91, 28-36.

Sadock, B.J. & Sadock, V.A. (2010). Kaplan & Sadock’s pocket handbook of clinical psychiatry (5th ed.). Lippincott Williams & Wilkins.

Trangkasombat, U., Larpboonsarp, V., & Havanond, P. (1997). CES-D as a screen for depression in adolescents. Journal of the Psychiatrist Association of Thailand. 42(1),1- 8.

Webb, C.A., Beard, C., Auerbach, R.P., Menninger, E., & Bjorgvinsson, T. (2014). The therapeutic alliance in a naturalistic psychiatric setting: Temporal relations with depressive symptom change. Behaviour Research and Therapy, 61, 70-77.

Weissman, A.N. & Beck, A.T. (1978). Development and validation of the Dysfunctional Attitude Scale: A preliminary Investigation. ERIC. https://eric.ed.gov/?id=ED167619

World Health Organization. (2017). Depression and other common mental disorders: Global health estimates. https://www.who.int/publications/i/item/depression-global-health-estimates

World Health Organization. (2023). Mental health conditions in the WHO South-East Asia region. https://www.who.int/publications/ i/item/9789290210788

Wuthironarith, V., Yunibhand, J., & Chaiyawat, W. (2014). The co-occurrence of disruptive behavior and depression among disruptive adolescents. Journal of Health Research, 29(2), 101-107.

Zhong, J., Huang, X.J., Wang, X.M., & Xu, M.X. (2023). The mediating effect of distress tolerance on the relationship between stressful life events and suicide risk in patients with major depressive disorder. BMC Psychiatry, 23,118.