ผลของการเสนอตัวแบบจริงต่อพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีนในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีน
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการเสนอตัวแบบจริงต่อพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีนในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีน
วิธีการศึกษา : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีนที่เข้ารับการบำบัดรักษาในแผนกผู้ป่วยในของโรงพยาบาลในสังกัดกรมสุขภาพจิต จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 40 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์การคัดเข้า สุ่มเข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน โดยการสุ่มแบบง่ายด้วยวิธีจับฉลาก กลุ่มทดลองได้รับการเสนอตัวแบบจริง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบคัดกรองประสบการณ์การใช้สารเสพติดประเภทแอมเฟตามีน (ASSIST-ATS) มีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ 0.82 และ 3) การเสนอตัวแบบจริง ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามแนวคิดของแบนดูรา (Bandura, 1986) ประกอบด้วย 6 กิจกรรม กิจกรรมละ 45 - 60 นาที 2 ครั้งต่อสัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบค่าที
ผลการศึกษา : 1) คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีนของกลุ่มทดลอง ในระยะ 1 เดือน หลังได้รับการบำบัดต่ำกว่าก่อนได้รับการบำบัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) 2) คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีน ในระยะ 1 เดือน หลังได้รับการบำบัดของกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)
สรุป : การบำบัดด้วยการเสนอตัวแบบจริงสามารถลดพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีนได้ จึงควรมีการนำการบำบัดด้วยการเสนอตัวแบบจริงไปใช้ในการลดพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีนในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีนต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย
References
นัฐพงษ์ นาอุดม, และศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ. (2563). สาเหตุของการติดยาเสพติด. Journal of Modern Learning Development, 5(6), 102-115.
นิศากร โพธิมาศ, หรรษา เศรษฐบุปผา, และชาลินี สุวรรณยศ. (2551). ผลของตัวแบบสัญลักษณ์และตัวแบบจริงต่อพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของเด็กวัยรุ่นในจังหวัดเพชรบูรณ์. พยาบาลสาร, 35(2), 71-80.
พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, และบุญศิริ จันศิริมงคล. (2555). คู่มือผู้อบรม หลักสูตรการดูแลผู้มีปัญหาสารเสพติดกลุ่มแอมเฟตามีน สำหรับบุคลากรสุขภาพปฐมภูมิ (พิมพ์ครั้งที่ 2). แผนงานวิชาการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้เสพสารเสพติดในชุมชน.
ศิริรัตน์ นิตยวัน. (2561). แนวทางการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติด. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ, 24(1), 15-27.
ศูนย์บำบัดยาเสพติดเอกชน. (2565). ความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเสพติด. http://www.phufaresthome.com/2020/05/24/4-reasons-for-using-drugs/
ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข. (2566). แผนยุทธศาสตร์ด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2566. https://ncmc.moph.go.th/home/upload/web_download /rptk5fmp8q8sk0soko.pdf
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2562). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 9). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล และพันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. (2554). แบบคัดกรองประสบการณ์ดื่มสุรา สูบบุหรี่ และใช้สารเสพติด (ASSIST): คู่มือเพื่อใช้ในสถานพยาบาลปฐมภูมิ. แผนงานพัฒนาวิชาการการดูแลผู้เสพสารเสพติดในชุมชน.
สุทธิชัย ศิรินวล, ปัทมา สุพรรณกุล, ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน, และปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสพยาบ้าซ้ำของผู้ผ่านการบำบัด. Journal of Health Science Research, 10(1), 39-45.
โสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์. (2550). Montreal cognitive assessment (MOCA) Thai version. http://www.mocatest.org/ pdf_files/test/MoCA-Test-Thai.pdf
อมาวสี กลั่นสุวรรณ, นิตยา ตากวิริยะนันท์ และตะวันชัย จิรประมุขพิทักษ์. (2561). ผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจร่วมกับการบำบัดความคิดและพฤติกรรมต่อพฤติกรรมร่วมมือในการเปลี่ยนแปลงตนเองของผู้ป่วยเสพติดแอมเฟตามีนในสถานบำบัดรักษาแห่งหนึ่ง จังหวัดปทุมธานี. วารสารกรมการแพทย์, 43(1), 90-95.
อรรถพล ยิ้มยรรยง, และ เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธิ์. (2564). ผลของการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมอย่างย่อโดยครอบครัวมีส่วนร่วมต่อการเสพแอมเฟตามีนของวัยรุ่น เสพติดแอมเฟตามีนระยะฟื้นฟู. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 13(1), 71-83.
Bandura, A. (1986). Social foundations of thought and action: A social cognitive theory. Prentice-Hall.
Gena, A., Couloura, S., & Kymissis, E. (2005). Modifying the affective behavior of preschoolers with autism using in-vivo or video modeling and reinforcement contingencies. Journal of Autism and Developmental Disorders, 35(5), 545-546.
Kabisa, E., Biracyaza, E., Habagusenga, J. A. & Umubyeyi, A. (2021). Determinants and prevalence of relapse among patients with substance use disorder: case of Icyizere Psychotherapeutic Centre. Substance Abuse Treatment, Prevention and Policy, 16(13), 1-12.
Trujillo, E. M., Suarez, D. E., Lema, M., & Londono, A. (2015). How adolescents learn about risk perception and behavior in regards to alcohol use in light of social learning theory: a qualitative study in Bogota, Colombia. Int J Adolesc Med Health, 27(1), 3-9.
United Nations Office on Drugs and Crime. (2021). World drug report 2021. https://www.unodc.org/unodc/en/data-and-analysis/wdr2021.html