ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีนในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีน

Main Article Content

สาวิตรี ศตคุณากร
ชาลินี สุวรรณยศ
หรรษา เศรษฐบุปผา

บทคัดย่อ

               วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีนในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีน


               วิธีการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีนที่เข้ารับการบำบัดแบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาลสวนปรุง จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบคัดกรองประสบการณ์การใช้สารเสพติดประเภทแอมเฟตามีน (ASSIST-ATS) 3) แบบประเมินการรับรู้พลังอำนาจ และ 4) โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีนในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีน ซึ่งผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นตามแนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจของกิบสัน 4 ขั้นตอน (Gibson, 1995) โดยดำเนินกิจกรรมสัปดาห์ละ 1 ขั้นตอน ใช้เวลากิจกรรมละ 60 นาที รวมทั้งหมด 6 กิจกรรม รวมระยะเวลา 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบค่าที ชนิด 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน และสถิติทดสอบค่าที ชนิด 2 กลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน


               ผลการศึกษา : คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีนของกลุ่มทดลองในระยะ 1 เดือน หลังได้รับโปรแกรมต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีนในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) และต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)


               สรุป : ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีนในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีน สามารถเพิ่มพลังอำนาจ และลดพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีนได้ จึงควรมีการนำโปรแกรมนี้ไปใช้ในการลดพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีนในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชพร เผือกผ่อง. (2560). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการควบคุมตนเองของผู้เสพติดแอมเฟตามีน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

กรมสุขภาพจิต. (2557). รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2557. บียอนด์พับลิสชิ่ง.

กรมสุขภาพจิต. (2563). ข้อมูลสถิติรายงานผู้ป่วยมารับบริการด้านจิตเวช ปีงบประมาณ 2562-2563 . https://www.dmh.go.th/ report/datacenter/dmh/

นันทา ชัยพิชิตพันธ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพในผู้ป่วยเสพติดยาบ้าการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิภาพร รัฐมั่น. (2560). ศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจโดยครอบครัวมีส่วนร่วมต่อพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้สุรา. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 31(3), 99-112.

ปานรดา บุญเรือง, นริสา วงศ์พนารักษ์, สมพร รุ่งเรืองกลกิจ, ยอดชาย บุญประกอบ, บัวสี สาธรพันธ์ และ ดาริน ดวงเศษวงษ์ (2559). การพัฒนาโปรแกรมสร้างความเข้มแข็งทางจิตวิญญาณ สำหรับผู้ติดยาบ้า (พิมพ์ครั้งที่1). มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์.

พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, และบุญศรี จันศิริมงคล. (2555). คู่มืออบรม: หลักสูตรการดูแลผู้มีปัญหาสารเสพติดกลุ่มแอมเฟตามีนสำหรับบุคลากรสุขภาพปฐมภูมิ (พิมพ์ครั้งที่2). แผนงานวิชาการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้เสพสารเสพติดในชุมชน.

วีรพล ชูสันเทียะ, และสมเดช พินิจสุนทร. (2560). ผลกระทบจากการใช้ยาเสพติดในผู้เข้ารับการบำบัดรักษาในโรงพยาบาลธัญญารักษ์อุดรธานี: กรณีศึกษา. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(3), 523-533.

ศิริรัตน์ นิตยวัน. (2561). แนวทางการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติด. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ, 24(1), 15-27.

ศิริลักษณ์ ปัญญา, เสาวลักษณ์ ทาแจ้ง, นภาจันทร์ ชาปลิก, สุกัญญา กาญจนบัตร และจริยา มงคล สวัสดิ์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยจิตสังคม และปัจจัยสิ่งแวดล้อมกับการกลับมาเสพยาซ้ำของผู้กลับไปเสพแอมเฟตามีนซ้ำในโรงพยาบาลธัญญารักษ์. พยาบาลสาร, 43(2), 273-281.

ศูนย์อํานวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดกระทรวงสาธารณสุข. (2566). แผนยุทธศาสตร์ด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2566. https://ncmc.moph.go.th/home/upload/web_download/ rptk5fmp8q8sk0soko.pdf

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี. (2565). สถิติผู้ป่วยทั้งหมดที่เสพยาบ้าเป็นยาเสพติดหลักและเสพร่วมกับยาอื่น ๆ ประจำปีงบประมาณ 2561-2564. http://www.pmnidat.go.th/thai/index.php?option= com_content&task=view&id=3469&Itemid=53

สายสุดา โภชนากรณ์. (2563). รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ป่วยเสพติดและครอบครัวเพื่อป้องกันการกลับไปเสพซ้ำ. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(12), 305-323.

สุทธิชัย ศิรินวล, ปัทมา สุพรรณกุล, ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน, และปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสพยาบ้าซ้ำของผู้ผ่านการบำบัด. Journal of Health Science Research, 10(1), 39-45.

อัญชลี โตเอี่ยม, ปัญญรัตน์ ลาภวงศ์วัฒนา, ณัฐกมล ชาญสาธิตพร, และกนิษฐา จำรูญสวัสดิ์. (2559). ปัจจัยทำนายการเสพแอมเฟตามีนของเยาวชนในชุมชนแออัด. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 9(2), 88-103

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2558). สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). ส. เอเชียเพรส จำกัด.

อุลิศ สมบัติแก้ว, และปลดา เหมโลหะ. (2559). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ดูแลในการจัดการพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยจิตเภท. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 36(1), 93-103.

Gibson, C.H. (1995). The process of empowerment in mothers of chronically ill children. Journal of Advance Nursing, 21(6), 1201-1210.