การพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบภวนิยมเพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้ในการนอนหลับของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : 1) ศึกษาความตระหนักรู้ในการนอนหลับของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 2) พัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบภวนิยม ในการเสริมสร้างความตระหนักรู้ในการนอนหลับของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 3) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบภวนิยมในการเสริมสร้างความตระหนักรู้ในการนอนหลับของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยและพัฒนา แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือระยะที่ 1 ศึกษาความตระหนักรู้ในการนอนหลับของนักศึกษา และระยะที่ 2 เป็นการทดลองรูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบภวนิยม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 - 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ระยะที่ 1 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 410 คน ได้จากสูตรการคำนวณประชากร (Krejcie & Morgan, 1970) และคัดเลือกแบบหลายขั้นตอน เป็นการศึกษาความตระหนักรู้ในการนอนหลับของนักศึกษา คือมีคะแนนความตระหนักรู้ในการนอนหลับอยู่ในระดับตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ลงมา และสมัครใจเข้าร่วมการทดลองรูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบภวนิยม เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้ในการนอนหลับ จำนวน 16 คน แล้วสุ่มอย่างง่าย เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 8 คน กำหนดให้เป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง โดยกลุ่มควบคุมให้เป็นไปตามสภาพปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ระยะที่ 1 ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบวัดความตระหนักรู้ในการนอนหลับ และในระยะที่ 2 ประกอบด้วย 1) รูปแบบให้การปรึกษากลุ่มแบบภวนิยม 2) แบบวัดความตระหนักรู้ในการนอนหลับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .91 กลุ่มตัวอย่างเข้ารับรูปแบบให้การปรึกษากลุ่มแบบภวนิยม 10 ครั้ง เป็นเวลา 5 สัปดาห์ และติดตามประเมินผลหลังเข้ากลุ่มรูปแบบให้การปรึกษากลุ่มแบบภวนิยม 3 สัปดาห์ ค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC เท่ากับ 0.66 - 1.00 และนำรูปแบบไปทดลองใช้ ก่อนนำไปทดลองใช้จริงกับนักศึกษา
ผลการศึกษา : พบว่า 1) ความตระหนักรู้ในการนอนหลับของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 1) การรับรู้ 2)การประเมินตนเอง และ 3) การเชื่อในความสามารถแห่งตน และ4) ความสามารถในการควบคุมกำกับตนเอง มีค่าคะแนนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับสูง (เฉลี่ย = 3.63, SD = .46) 2) รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบภวนิยม ในการเสริมสร้างความตระหนักรู้ในการนอนหลับของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) คะแนนเฉลี่ยความตระหนักรู้ในการนอนหลับของนักศึกษากลุ่มทดลอง หลังเข้าร่วมการให้การปรึกษากลุ่มแบบภวนิยมและหลังการติดตามผลสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 4) คะแนนเฉลี่ยความตระหนักรู้ในการนอนหลับของนักศึกษากลุ่มทดลอง หลังเข้าร่วมการให้การปรึกษากลุ่มแบบภวนิยมและหลังการติดตามผลสูงกว่าความตระหนักรู้ในการนอนหลับของนักศึกษากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
สรุป : รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบภวนิยมสามารถเสริมสร้างความตระหนักรู้ในการนอนหลับของนักศึกษาได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย
References
ฉันทนา แรงสิงห์. (2550). คุณภาพการนอนหลับและภาวะสุขภาพจิต ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร [วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/กรุงเทพฯ.
นฤชา จิรกาลวสาน, (บ.ก.). (2565). เวชศาสตร์การนอนหลับ (Essentials in sleep Medicine). เท็กซ์แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด.
นัยพินิจ คชภักดี. (2560, 25-26 พฤษภาคม). วิทยาศาสตร์ของการนอนหลับ [เอกสารการนำเสนอ]. การประชุมสัมมนา Brain and Mind Forum ครั้งที่ 4: เรื่อง Sleep and Circadian Rhythm, กรุงเทพฯ, ประเทศไทย.
นาฎนภา อารยะศิลปธร, พัชนี สมกําลัง, และ จันทร์จิรา ภูบุญเอิบ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการนอนหลับของนักศึกษาพยาบาลในวิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่ง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลสมเด็จพระปกเกล้า จันทบุรี, 28(1), 38-50.
นาถยา คงขาว, ประชา อินัง, และ เพ็ญนภา กุลนภาดล .(2561). ผลการปรึกษากลุ่มแบบอัตถิภาวะนิยมต่อการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 14(3), 211- 221.
นิตยา เรืองแป้น. (2558). ผู้บริหารกับการพัฒนาตนด้วยการรู้จักตนเองและตระหนักในความมีคุณค่าแห่งตน. วารสารบัณฑิตศึกษา, 12(58),1-11.
พิชญ์สินี มงคลศิริ. (2557, 17-18 กรกฎาคม). การปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี [เอกสารนำเสนอ]. การประชุมใหญ่และนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ: เรื่องสหวิทยาการ: ความหลากหลายทางวัฒนธรรมสู่ประชาคมอาเซียน, ตรัง, ประเทศไทย.
วิสมา ยูโซะ, เพ็ญประภา ปริญญาพล, และ แสงสุรีย์ สำอางค์กูล. (2565). ผลการปรึกษากลุ่มตามแนวคิดอัตถิภาวนิยมต่อการตระหนักรู้ในตนเองและการตั้งเป้าหมายในการเรียน: กรณีศึกษานักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาจิตวิทยาคลินิก. วารสารนักจิตวิทยาคลินิกไทย, 53(3), 1-12.
สุรางค์ เลิศคชาธาร. (2554). นอนไม่หลับทำอย่างไรการดูแลผู้สูงอายุที่นอนไม่หลับ. http://164.115.23.88/hbss/Files/เฝ้าระวัง/7.คลังความรู้/นอนไม่หลับ/นอนไม่หลับ
Bollinger, T., Bollinger A., Oster, H., & Solbach, W. (2010). Sleep, immunity, and circadian clocks: a mechanistic model. Gerontology, 56(6), 574-80.
Bruce, E. S., Lunt, L., & McDonagh, J. E. (2017). Sleep in adolescents and young adults. Clinical Medicine, 17(5), 424-428.
Corey, G. (2004). Theory and practice of counseling. (6th ed.). Brooks/ Cole Thomson.
Corey, M. S., Corey, G., & Corey, C. (2018). Group Process and Practice. (10th ed.). Cengage Learning.
Curcio, G., Ferrara, M. & De Gennaro, L. (2006). Sleep loss, Learning capacity and academic performance. Sleep Medicine Reviews, 10, 323-337.
Digdon, N., L. (2010). Circadian preference and college students' beliefs about sleep education. Chronobiology International, 27(2), 297-317.
Dinkmeyer, C. (1968). Reading in group counseling. International Textbook Company.
Durmer, J.S., & Dinges, D.F. (2005). Neurocognitive consequences of sleep deprivation. Seminars in Neurology, 25(1), 117-129.
Duval, S., & Wicklund, R. A. (1972). A theory of objective self awareness. Academic Press.
Forsyth, D. R. (2006). Group dynamic. Thomson Higher Education.
Godsell, S., & White, J. (2019). Adolescent sleep deprivation is a growing public health problem. Journal of Adolescence, 73, 18-25.
Goleman, D. (1998). Working with emotional intelligence. Bantum Books.
Hershner, S. D., & Chervin, R.D. (2014). Causes and consequences of sleepiness among college students. Nature and Science of Sleep, 6, 73-84.
Irwin, M.R. (2015). Why sleep is important for health: a psychoneuroimmunology. Annual Review of Psychology, 3(66), 143-72.
Jacobs, E., Masson, L., & Harvill, L. (2002). Group counseling: strategies and skills. (4th ed.). Brooks/Cole.
Joreskog, K. G., & Sorbom, D. (1999). Lisrel 18: New statistical features. Scientific Software International.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Montagna, P., & Chokroverty, S. (Eds.). (2011). Handbook of clinical neurology: Sleep disorder, Part 1. Elsevier.
Ohlsen, M. M. (1970). Group counseling. Rinehart and Winston.
Perry, G. S., Patil, S. P., & Presley-Cantrell, L. R. (2013). Raising awareness of sleep as a healthy behavior. Preventing Chronic Disease, 10,133.
Pilcher, J.J., Morris, D., Donnelly, J., & Feigl, H. B. (2015). Interactions between sleep habits and self-control. Frontiers in Human Neuroscience, 9, 284, 1353-1359.
Prather, A. A., Janicki-Deverts, D., Hall, M. H., & Cohen, S. (2015). Behaviorally assessed sleep and susceptibility to the Common Cold. Sleep, 38(9).
Rochat, P. (2003). Five levels of self-awareness as they unfold early in life. Consciousness and Cognition: An International Journal, 12(4), 717-731.
Schlarb, A. A., Claßen, M., Hellmann, S. M., Vögele, C., & Gulewitsch, M. D. (2017). Sleep and somatic complaints in university students. Journal of Pain Research, 10, 1189-1199.
Vinogradov, S., & Yalom, I. D. (1989). Concise guide to group psychotherapy. American Psychiatric Press.
Voinescu, B., & Szentagotai-Tatar, A. (2015). Sleep hygiene awareness: Its relation to sleep quality and diurnal preference. Journal of Molecular Psychiatry, 3(1), 1.
Wang, P.Y., Chen, K.L., Yang, S.Y., & Lin, P.H. (2019). Relationship of sleep quality, smartphone dependence, and health-related behaviors in female junior college students. PLoS ONE, 14(4), e0241769.
Wilson, H. S., & Kneiesi, C. R. (1996). Psychiatric nursing. (5th ed.). Addison - Wesley Nursing.