ผลของโปรแกรมการพยาบาลที่บ้านร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนต่อปัญหาพฤติกรรมและจิตใจของผู้สูงอายุสมองเสื่อมในชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบปัญหาพฤติกรรมและจิตใจของผู้สูงอายุสมองเสื่อมในชุมชนก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการพยาบาลที่บ้านร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน
วิธีการศึกษา : การวิจัยกึ่งทดลองกลุ่มเดียว โดยใช้แนวคิดการดูแลโดยยึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง นำมาประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมที่มีปัญหาพฤติกรรมและจิตใจในชุมชน ประกอบด้วย 6 ขั้นตอนคือ 1) ให้ความรู้เรื่องภาวะสมองเสื่อมกับผู้ดูแลผู้สูงอายุ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) 2) สร้างสัมพันธภาพ/การประเมินสภาพผู้ป่วยและครอบครัว 3) การวางแผนการพยาบาลตามความต้องการและสภาพปัญหา 4) การให้ความรู้ /ฝึกทักษะ เพื่อฟื้นฟูสภาพ 5) การจัดสิ่งแวดล้อม 6) การติดตามประเมินผล เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล Neuropsychiatric Inventory Questionnaire Thai version (NPI-Q Thai) ค่าความเชื่อมั่น .95 เก็บข้อมูลกับผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปจำนวน 30 คน ระหว่างเดือนมีนาคม - กรกฎาคม พ.ศ. 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired t-test
ผลการศึกษา : ปัญหาพฤติกรรมและจิตใจของผู้สูงอายุสมองเสื่อมในชุมชนหลังได้รับโปรแกรมพบน้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (p-value < .01)
สรุป : ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการพยาบาลที่บ้านร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน สามารถลดปัญหาพฤติกรรมและจิตใจของผู้สูงอายุสมองเสื่อมในชุมชน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย
References
งานสารสนเทศ โรงพยาบาลราชบุรี. (2565). ข้อมูลสถิติผู้สูงอายุสมองเสื่อมที่มารับการรักษาแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลราชบุรี. โรงพยาบาลราชบุรี.
ณภัทร จารุจุฑารัตน์. (2560). กระบวนการพัฒนาการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ชุมชนเทศบาลเมืองพระพุทธบาท อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร.,4(2), 160-174.
ธวัชชัย เขื่อนสมบัติ, ศิริพันธุ์ สาสัตย์, และอารีย์ วรรณอ่วมตานี. (2562). การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมในครอบครัวโดยพยาบาลวิชาชีพ. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(พิเศษ), 233-241.
ธันยนันท์ พุฒิวัฒนธราดล และจิราพร เกศพิชญวัฒนา. (2561). ศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลแบบ ฮิวแมน นิจูดโดยผู้ดูแลต่อพฤติกรรมกระวนกระวายของผู้สูงอายุสมอง. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(พิเศษ), 241-249.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2555). สถิติชวนใช้. ไอคอนพริ้นติ้ง. ปณวัตร สันประโคน, อรนุช ชูศรี, และศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล, (2563). ผลของโปรแกรมการสนับสนุนการดูแลใน ครอบครัวต่อภาระในการดูแลของผู้ดูแลหลักที่ให้การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 36(3), 45-56
พัชรี คมจักรพันธุ์. (2562). การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมใน : แนวคิดการดูแลโดยยึดผู้สูงอายุเป็นศูนย์กลาง. วารสารสภาการพยาบาล, 34(4).
พัฒน์ศรี ศรีสุวรรณ. (2563). สิ่งแวดล้อมในบ้านที่เป็นมิตรสำหรับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว, 3(3), 11-20.
ภรัญวิทย์ อนันต์ดิลกฤทธิ์. (2564). ภาวะสมองเสื่อม. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 15(37), 392-398.
สาคร อินโท่โล. (2563). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูและ การดูแลผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อม. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 43(1).
สนธยา มณีรัตน์, สัมพันธ์ มณีรัตน์, และทิวาวัน คำบรรลือ. (2561). การพยาบาลด้านจิตสังคมผู้สูงอายุสมองเสื่อมที่มีปัญหาด้านพฤติกรรมอารมณ์ และจิตใจ. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 12(2), 1-9.
อาทิตยา สุวรรณ์ และสุทธิศรี ตระกูลสิทธิโชค. (2564). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรู้คิดโดยใช้ดนตรีบำบัดร่วมกับการกระตุ้นประสาทการรับรู้หลายด้านต่อความสามารถด้านการรู้คิด ปัญหาพฤติกรรม อารมณ์และจิตใจของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 14(2), 221-234.
Baharudin, A. D., Din, N. C., Subramaniam, P., & Razali, R. (2019). The associations between behavioral- psychological symptoms of dementia (BPSD) and coping strategy, burden of care and personality style among low-income caregivers of patients with dementia. BMC public health, 19(4), 1-12.
Bloom, B. S. (1971). Mastery learning. In J. H. Block (Ed.), Mastery learning, theory and practice (pp. 47-63). Holt, Rinehart, and Winston.
Chapman, K. R., Tremont, G., Malloy, P., & Spitznagel, M. B. (2020). The role of sexual disinhibition to predict caregiver burden and desire to institutionalize among family dementia caregivers. Journal of Geriatric Psychiatry and Neurology, 33(1), 42-51.
Feast, A., Orrell, M., Charlesworth, G., Melunsky, N., Poland, F., & Moniz-Cook, E. (2016). Behavioural and psychological symptoms in dementia and the challenges for family carers: systematic review. The British Journal of Psychiatry, 208(5), 429-434.
Hsu, T. J., Tsai, H. T., Hwang, A. C., Chen, L. Y., & Chen, L. K. (2017). Predictors of non‐pharmacological intervention effect on cognitive function and behavioral and psychological symptoms of older people with dementia. Geriatrics & gerontology international, 17, 28-35.
McCance, T., & McCormack, B. (2017). The person-centred practice framework. Person-centred practice in nursing and health care: Theory and practice, 36-64.
Pijl-Zieber, E. M., Awosoga, O., Spenceley, S., Hagen, B., Hall, B., & Lapins, J. (2018). Caring in the wake of the rising tide: Moral distress in residential nursing care of people living with dementia. Dementia, 17(3), 315-336.
Sopina, E., Sørensen, J., Beyer, N., Hasselbalch, S. G., & Waldemar, G. (2017). Cost-effectiveness of a randomised trial of physical activity in Alzheimer’s disease: a secondary analysis exploring patient and proxy-reported health-related quality of life measures in Denmark. BMJ open, 7(6), e015217.
World Health Organization. (2017). Global action plan on the public health response to dementia 2017-2025. [cite 2023 Feb 4]. Available from: https://scholar.google.co.th/scholar
World Health Organization. (2021). Global status report on the public health response to dementia. [cite 2023 Feb 14]. Available from: https://scholar.google.co.th/scholar