ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตต่อพลังสุขภาพจิตและภาวะสุขภาพจิตในนักศึกษาพยาบาล

Main Article Content

เกษร สายธนู
กานต์ตริน ศรีสุวรรณ

บทคัดย่อ

                วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตต่อพลังสุขภาพจิตและภาวะสุขภาพจิตในนักศึกษาพยาบาล


                วิธีการศึกษา : การวิจัยกึ่งทดลอง (แบบสองกลุ่ม วัดผลก่อน หลังการทดลอง) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 1 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2563 จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินพลังสุขภาพจิต (Resilience Quotient: RQ) และแบบประเมินภาวะสุขภาพทั่วไป (General Health Questionnaire-28: GHQ-28) เก็บรวบรวมข้อมูล ก่อนการทดลอง หลังทดลองทันที ติดตาม 1 เดือน และ ติดตาม 3 เดือน ระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา, One Way ANOVA, repeated measure One Way ANOVA , Kruskal-Wallis Test และ Freidman test


                ผลการศึกษา : 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนพลังสุขภาพจิตของกลุ่มทดลอง ระยะก่อนทดลอง หลังทดลองทันที ติดตาม 1 เดือน และ 3 เดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F3,116 = 24.71, p < 0.001) และค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะสุขภาพจิต แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X2 = 13.07, p = 0.004) และ 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนพลังสุขภาพจิต ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ในระยะก่อนทดลอง หลังทดลองทันที ติดตาม 1 เดือน และติดตาม 3 เดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F1,58 = 10.32, p = 0.002) และค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะสุขภาพจิต แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X2 = 12.81, p < 0.001)


                สรุป : โปรแกรมการเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตนี้สามารถนำไปใช้ในการเพิ่มพลังสุขภาพจิต และส่งเสริมการมีภาวะสุขภาพจิตที่ดีแก่นักศึกษาพยาบาลได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชกร ฉายากุล. (2561). ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตในนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี นครราชสีมา, 24(2), 96-107.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2552). เปลี่ยนร้ายกลายเป็นดี พลังสุขภาพจิต RQ: Resilience Quotient. นนทบุรี: บริษัท ดีน่าดู จำกัด.

เครือวัลย์ ศรียารัตน์ และวีณา เจี๊ยบนา. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างพลังสุขภาพจิตกับการรับรู้ความสามารถของตนเองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 29(1), 76-90.

จริญญา แก้วสกุลทอง. (2562). ปัจจัยทำนายความเครียดของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลในสังกัด สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ, 2(1), 1-11.

ดวงใจ วัฒนสินธุ์, สิริพิมพ์ ชูปาน, และ ภาคิณี เดชชัยยศ. (2562). การแก้ปัญหาทางสังคมและภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 29(1), 87-99.

ธนพล บรรดาศักดิ์, ชนัดดา แนบเกสร, และ ดวงใจ วัฒนสินธุ์. (2560). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตต่อความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(3), 195-208.

ธนา นิลชัยโกวิทย์, จักรกฤษณ์ สุขยิ่ง, และ ชัชวาลย์ ศิลปกิจ. (2539). ความเชื่อถือได้และความแม่นตรงของ General Health Questionnaire ฉบับภาษาไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 41(1), 2 -17.

พัชรินทร์ นินทจันทร์, โสภิณ แสงอ่อน, และ จริยา วิทยะศุภร. (2558). ความแข็งแกร่งในชีวิต เหตุการณ์ที่สร้างความยุ่งยากใจและสุขภาพจิตของนักศึกษามหาวิทยาลัย. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 7(2), 12-25.

เพ็ญนภา กุลนภาดล. (2562). การให้การปรึกษาวัยรุ่น. (พิมพ์ครั้งที่ 4). ชลบุรี: บริษัท เก็ทกู๊ดครีเอชั่น จำกัด.

ลำเจียก กาธร, โสภิต สุวรรณเวลา, และ ชาติ ไทยเจริญ. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษาพยาบาล. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 15(2), 144-153.

วิจิตรา จิตรักษ์, พัชรินทร์ นินทจันทร์ และ ทัศนา ทวีคูณ. (2558). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตต่อภาวะซึมเศร้าและความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 29(3), 42-60.

ศริญญา จริงมาก. (2561). ความเครียดและวิธีการจัดการความเครียดของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 6(1), 43-58.

สมจิตร์ นคราพานิช และรัตนา พึ่งเสมา. (2564). ปัจจัยทำนายพลังสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 35(1), 128-145.

สยาภรณ์ เดชดี, วัฒนะ พรหมเพชร, และ นพพร ตันติรังสี. (2561). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตที่มีต่อระดับพลังสุขภาพจิตและภาวะซึมเศร้าของสตรีผู้สูญเสียสามีจากสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 26(2), 103-116.

สำนักงานพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (2562). ภาวะซึมเศร้าในนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

สิริทรัพย์ สีหะวงษ์, ณิชกานต์ ฝูงดี, ณัฐธิดา ยานะรมย์, ณัฐนรี น้อยนาง, ณัฐมล อาไนย์, ตุลาภรณ์ บุญเชิญ, ทริกา จอดนอก, ทัตติยา สุริสาร, และ ธัญญาเรศ พ่อยันต์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสาร มฉก.วิชาการ, 21(42), 93-106

สุหทัย โตสังวาลย์. (2564). การเห็นคุณค่าในตนเอง ความแข็งแกร่งในชีวิตและภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาลในวิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 21(1), 58-74.

อ้อยทิพย์ บัวจันทร์, ธมลวรรณ สวัสดิ์สิงห์, ณัฐปภัสญ์ นวลสีทอง, และ เทพไทย โชติชัย. (2562). ความแข็งแกร่งในชีวิตและความเครียดของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(4), 257-269.

Amsrud, K. E., Lyberg, A., & Severinsson, E. (2019). Development of resilience in nursing students: A systematic qualitative review and thematic synthesis. Nurse education in practice, 41, 102621.

Cleary, M., Visentin, D., West, S., Lopez, V., & Kornhaber, R. (2018). Promoting emotional intelligence and resilience in undergraduate nursing students: An integrative review. Nurse education today, 68, 112-120.

Grotberg, E. H. (1995). A guide to promoting resilience in children: Strengthening the human spirit. Bernard van Leer Foundation.

Hwang, E. & Shin, S. (2018). Characteristics of nursing students with high levels of academic resilience: A cross-sectional study. Nurse Education Today, 71, 54-59.

Kim, S. C., Sloan, C., Montejano, A., & Quiban, C. (2021). Impacts of coping mechanisms on nursing students’ mental health during COVID-19 lockdown: A cross-sectional survey. Nursing Reports, 11(1), 36-44.

Liang, H., Wu, K., Hung, C., Wang, Y. &Peng, N. (2019). Resilience enhancement among student nurses during clinical practices: A participatory action research study. Nurse Education Today, 75, 22-27.

Pramukti, I., Strong, C., Sitthimongkol, Y., Setiawan, A., Glorino, M., Pandin, R., & Ko, N. Y. (2020). Anxiety and Suicidal Thoughts During the COVID-19 Pandemic: Cross-Country Comparative Study Among Indonesian, Taiwanese, and Thai University Students. Journal of Medical Internet Research, 22(12), 1-12.

Shives, L. R. (2012). Basic Concept of Psychiatric-Mental Health Nursing. (8thth ed.). Lippincott William & Wilkins.

Thomas, L. J., & Asselin, M. (2018). Promoting resilience among nursing students in clinical education. Nurse Education Today, 28, 231-234.

Thomas, L. J., & Revell, S. H. (2016). Resilience in nursing students: An integrative review. Nurse education today, 36, 457-462.

Van Hoek, G., Portzky, M., & Franck, E. (2019). The influence of socio-demographic factors, resilience and stress reducing activities on academic outcomes of undergraduate nursing students: A cross-sectional research study. Nurse Education Today, 72, 90-96.