การพัฒนาโปรแกรมการดูแลในระยะเปลี่ยนผ่านสำหรับผู้ที่เป็นโรคจิตเภทครั้งแรก

Main Article Content

ดวงเดือน นรสิงห์
จารุณี รัศมีสุวิวัฒน์

บทคัดย่อ

                วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาโปรแกรมการดูแลในระยะเปลี่ยนผ่านและทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมฯต่อพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา คุณภาพชีวิต ระดับความรุนแรงอาการทางจิต และการกลับมารักษาซ้ำ ในผู้ที่เป็นโรคจิตเภทครั้งแรก


                วิธีการศึกษา : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา 7 ขั้นตอนของเยาวนาฏ ผลิตนนท์เกียรติ, และคณะ. (2554) และทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมโดยใช้การวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่เป็นโรคจิตเภทครั้งแรกที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจิตเวชจำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน ช่วงเวลาที่ศึกษาตั้งแต่มกราคมถึงสิงหาคม พ.ศ. 2566 เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบประเมินพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา แบบวัดคุณภาพชีวิตของผู้ที่เป็นโรคจิตเภทเชียงใหม่ แบบประเมินความรุนแรงอาการทางจิต และบันทึกการรักษาซ้ำในโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ และสถิติทดสอบค่าที


                ผลการศึกษา : 1) โปรแกรมการดูแลในระยะเปลี่ยนผ่านประกอบด้วย การบำบัดแบบเผชิญหน้าผู้ป่วย 5 ครั้ง ๆ ละ 45 - 60 นาที ได้แก่ การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรคจิตเภท การดูแลตนเองเรื่องการรับประทานยา การสังเกตและจัดการปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้อาการกำเริบ การปฏิบัติตัวเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และการติดตามเยี่ยมทางโทรศัพท์หลังจำหน่าย 4 ครั้ง ๆ ละ 45 - 60 นาที ในสัปดาห์ที่ 1, 2, 3 และ 4 ประกอบด้วย การสำรวจอาการทางจิตตนเอง การรับประทานยาต่อเนื่อง การสังเกตและจัดการอาการเตือน การตรวจตามนัด และแหล่งสนับสนุนทางสังคม กิจกรรมสำหรับญาติหรือผู้ดูแล 2 ครั้ง ได้แก่ การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคจิตเภท บทบาทผู้ดูแลในการดูแลผู้ที่เป็นโรคจิตเภทให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และการส่งเสริมทักษะคลายเครียดของผู้ดูแล มีค่าความสอดคล้องระหว่างเนื้อหากิจกรรมและวัตถุประสงค์เท่ากับ 0.93 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาและคุณภาพชีวิตของกลุ่มทดลองในระยะหลังทดลองและติดตาม 1 เดือน มากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ค่าเฉลี่ยคะแนนความรุนแรงอาการทางจิตของกลุ่มทดลองในระยะหลังทดลองและติดตาม 1 เดือนน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาและคุณภาพชีวิตของกลุ่มทดลองในระยะหลังทดลองและติดตาม 1 เดือนมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5) ค่าเฉลี่ยคะแนนความรุนแรงอาการทางจิตของกลุ่มทดลองในระยะหลังทดลองไม่แตกต่างกับกลุ่มควบคุม ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนนความรุนแรงอาการทางจิตในระยะติดตาม 1 เดือนของกลุ่มทดลองแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 6) อัตราการกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วันของกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุม


                สรุป : โปรแกรมการดูแลในระยะเปลี่ยนผ่านช่วยเพิ่มพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา เพิ่มคุณภาพชีวิต ลดความรุนแรงอาการทางจิต และลดการกลับมารักษาซ้ำในผู้ป่วยโรคจิตเภทครั้งแรกได้ ดังนั้นพยาบาลวิชาชีพควรนำโปรแกรมไปใช้ในการดูแลผู้ที่เป็นโรคจิตเภทครั้งแรก เพื่อส่งเสริมการมีสุขภาพดีและป้องการกำเริบซ้ำของโรค

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขวัญพนมพร ธรรมไทย, ภัทราภรณ์ ทุ่งปันคำ, ชาลินี สุวรรณยศ, สุวิท อินทอง, ผกาพันธุ์ วุฒิลักษณ์, และ สรัญญา วรรณชัยกุล. (2551). การสร้างแบบวัดคุณภาพชีวิตของผู้ที่เป็นโรคจิตเภท. เชียงใหม่: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.

ณัฏฐพัชร สุนทโรวิทย์, อัญชลี วิจิตรปัญญา, และ ปาณิสรา อินทร์กันทุม. (2563). ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพเพื่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยโรคจิตเภท. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 34(2), 153-168.

ดวงกมล สระบุรี. (2558). ผลของรูปแบบการจำหน่ายแบบเปลี่ยนผ่านต่อคุณภาพชีวิตของผู้ที่เป็นโรคจิตเภท. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปทานนท์ ขวัญสนิท และ มานิต ศรีสุรภานนท์. (2561). ตัววัดทางระบาดวิทยาเพื่อคำนวณภาระโรคจิตเภทในประเทศไทย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 26(1), 50-62.

พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, อธิป ตันอารีย์, และ นพพร ตันติรังสี. (2561). การศึกษาตัววัดทางระบาดวิทยาในการคำนวณภาระโรคจิตเวชในประเทศไทย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 26(1), 26-33.

มาโนช หล่อตระกูล. (2558). โรคจิตเภทและโรคจิตเวชอื่น ๆ. ใน มาโนช หล่อตระกูล และ ปราโมทย์ สุคนิชย์ (บรรณาธิการ), จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี. (พิมพ์ครั้งที่ 4, 29-34). ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

เยาวนาฏ ผลิตนนท์เกียรติ, พัชริน คุณค้ำชู, สตรีรัตน์ รุจิระชาคร, และศจี แซ่ตั้ง (บรรณาธิการ.). (2554). คู่มือการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสุขภาพจิต. นนทบุรี: บริษัทเบสท์สเต็บแอ็ดเวอร์ไทซิ่ง.

ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ (Health Data Center). (2566). ข้อมูลเพื่อตอบสนอง service Plan สาขาสุขภาพจิตและจิตเวช. https://hdcservice.moph.go.th/

โรงพยาบาลสวนปรุง (2566). รายงานผลการทบทวนเวชระเบียนผู้ที่เป็นโรคจิตเภทกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาล. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง.

โรงพยาบาลสวนปรุง. (2557). ศึกษาต้นทุนต่อหน่วยในการรักษาผู้ที่เป็นโรคจิตเภทที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจิตเวช. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง.

โรงพยาบาลสวนปรุง. (2566). สถิติผู้มารับบริการโรงพยาบาลสวนปรุง ประจำปี 2563-2565. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง.

วรวัฒน์ ไชยชาญ, มันฑนา กิตติพีรชล, เสาวลักษณ์ สุวรรณไมตรี, ชิดชนก โอภาสวัฒนา, อุษา ลิ่มซิ้ว,

ธนเนตร ฉันทลักษณ์วงศ์, และคณะ. (2561). แนวทางการใช้ Clinical Global Impression (CGI). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอวัน ปริ้นติ้ง.

สรินทร เชี่ยวโสธร. (2545). ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ที่เป็นโรคจิตเภทต่อพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาของผู้ที่เป็นโรคจิตเภท. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สินเงิน สุขสมปอง, ดุษฎี อุดมอิทธิพงศ์, และ พลภัทร์ โล่เสถียรกิจ. (2559). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยโรคจิตครั้งแรก. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 61(4), 331-340.

สุมิศา กุมลา, โสภิณ แสงอ่อน, และ พัชรินทร์ นินทจันทร. (2563). ผลของโปรแกรมส่งเสริมความร่วมมือในการรับประทานยาในผู้ที่เป็นโรคจิตเภท. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 34(2), 132-152.

อาริยา ตั้งมโนกุล และ สุรศักดิ์ ไชยสงค์. (2564). ผลลัพธ์ของการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคจิตเภทโดยทีมสหสาขาวิชาชีพเครือข่ายบริการสุขภาพ อ.ดอนมดแดง จ.อุบลราชธานี. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 15( 4), 436-455.

อินทุกานต์ สุวรรณ์ และ สุวนีย์ เกี่ยวกิ่งแก้ว. (2563). ผลของโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาต่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ที่เป็นโรคจิตเภทในชุมชน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 34(1), 152-162.

American Psychiatric Association. (2005) Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders DSM-IV-TR Fourth Edition (Text Revision). (4th ed). American Psychiatric Publishing.

Charlson, F. J., Ferrari, A. J., Santomauro, D. F., Diminic, S., Stockings. E., Scott, J. G., et al. (2018). Global Epidemiology and Burden of Schizophrenia: Findings from the Global Burden of Disease Study 2016. Schizophrenia Bulletin, 44(6), 1195-1203.

Chen, E. Y.H., Hui, C. L.M., Dunn, E. L. W, Miao, M. Y. K., Yeung, W. S., Wong, C. K., Chan, W. F., & Tang, W.N. (2005). A prospective 3-year longitudinal study of cognitive predictors of relapse in first-episode schizophrenic patients. Schizophrenia Research, 77, 99-104.

Chen, E. Y. H., Hui, C. L. M., Lam, M. M. L., Chiu, C. P. Y., Law, C. W., Chung, D. W. S., et al. (2010). Maintenance treatment with quetiapine versus discontinuation after one year of treatment in patients with remitted first episode psychosis: randomized controlled trial. BMJ, 341, c4024.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). Mahwah: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.

Hemrungrojn, S. (2011). Montreal cognitive assessment (MoCA) thai version 01 Update August 31, 2011. [Internet]. 2011[cited Jan 19, 2023] Available from: http:// www.mocatest.org/pdf_files/test/MoCATest-Thai.pdf.

Parry, C., Coleman, E., Smith, J., Frank, J., and Kramer, A. (2003). The care transition: A patient-centered approach to ensuring effective transfers between sites of geriatric care. Home Health Services Quarterly, 22(3), 1-17.

Sarakan, K. (2010). Effectiveness of a Transitional Care Program for Persons with Schizophrenia. [Doctor of Philosophy], Chiang Mai University.

Schumacher, K. L., & Meleis, A. I. (1994). Transitions: a central concept nursing. IMAGE: Journal of Nursing Scholarship, 26(2), 119-127.

Sapra, M., Weiden, J.P., Schooler, R, N., Sunakawa-McMillan, A., Uzenoff, S., & Burkholder, P. (2014). Reasons for Adherence and Nonadherence: A Pilot Study Comparing First and Multi Episode Schizophrenia Patients. Clinical Schizophrenia & related psychoses, 7(4), 199-206.