การพัฒนาโปรแกรมการแก้ปัญหาเพื่อลดภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมการดื่มสุราในผู้ป่วยโรคติดสุรา
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและทดสอบประสิทธิผลโปรแกรมการแก้ปัญหาเพื่อลดภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมการดื่มในผู้ป่วยโรคติดสุรา
วิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะพัฒนาโปรแกรม และระยะทดสอบประสิทธิผลโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคติดสุราที่มีภาวะซึมเศร้าที่ตรงตามเกณฑ์จำนวน 56 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 29 คน และกลุ่มควบคุม 27 คน วัดผลก่อน หลังทดลอง และติดตามผล 1 และ 3 เดือน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) โปรแกรมการแก้ปัญหา 2) แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม (PHQ 9) 3) แบบประเมินพฤติกรรมการดื่มสุรา (AUDIT) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแควร์ สถิติที การทดสอบด้วยฟิชเชอร์เอ็กแซค การทดสอบของวิลคอกซัน และการทดสอบแมนน์-วิทนีย์ ยู
ผลการศึกษา : 1)โปรแกรมการแก้ปัญหาที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย การบำบัดทั้งหมด 6 ขั้นตอน ดังนี้ (1) การฝึกการทำความเข้าใจปัญหา (2) การฝึกค้นหาปัญหา (3) การฝึกการสร้างหรือหาทางเลือกในการแก้ปัญหา (4) การฝึกตัดสินใจเลือกวิธีแก้ปัญหา (5) การฝึกลงมือแก้ปัญหาและการตรวจสอบผลการแก้ปัญหา และ (6) การคงไว้ซึ่งทักษะการแก้ปัญหาและการขยายผล และ 2) ผลของโปรแกรม พบว่าคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าของกลุ่มทดลองก่อนการได้รับโปรแกรมกับหลังได้รับโปรแกรม ระยะติดตามผล 1 เดือน และ 3 เดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดื่มสุราของกลุ่มทดลองก่อนได้รับโปรแกรมกับระยะติดตามผล 1 เดือน และ 3 เดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าของ กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองก่อนการได้รับโปรแกรมกับหลังได้รับโปรแกรม ระยะติดตามผล 1 เดือน และ 3 เดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดื่มสุราของกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองก่อนการได้รับโปรแกรมกับระยะติดตามผล 1 เดือน และ 3 เดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)
สรุป : โปรแกรมการแก้ปัญหาสามารถลดภาวะซึมเศร้า และพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ป่วยโรคติดสุราที่มีภาวะซึมเศร้าได้ และหลังการบำบัดเมื่อติดตามผลในระยะ 1 และ 3 เดือน พบว่า คะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้า และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดื่มสุราลดลง อย่างไรก็ตามควรมีการติดตามผลระยะยาวอย่างน้อย 6 เดือนหลังสิ้นสุดโปรแกรม เพื่อดูประสิทธิผลของโปรแกรมต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย
References
กรมสุขภาพจิต. (2563, 1 ธันวาคม). ระบบรายงานโรคซึมเศร้า. https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/
ดาราวรรณ ต๊ะปินตา. (2556). ภาวะซึมเศร้า: การบําบัดและการให้ การปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรม. วนิดาการพิมพ์.
ธวัชชัย พละศักดิ์, รังสิมันต์ สุนทรไชยา, และรัชนีกร อุปเสน. (2561). ผลของโปรแกรมการบําาบัดโดยการแก้ปัญหาต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต , 31(1), 60-74.
ประเสริฐ บุญเกิด. (2561). แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย Mental State Examination T10 (MSET10). สารจากนายก ฉบับที่ 10. สมาคมโรคสมองเสื่อมแห่งประเทศไทย.
ปริทรรศ ศิลปกิจ, และพันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. (2552). AUDIT: แบบประเมินปัญหาการดื่มสุราแนวปฏิบัติสำหรับสถานบริการปฐมภูมิ. ทานตะวันเปเปอร์.
ปุณยาภา คำบุญเรือง. (2552). ผลของการบําบัดโดยการแก้ปัญหาต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคติดสุรา โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, นพพร ตันติรังสี, วรวรรณ จุฑา, อธิบ ตันอารีย์, ปทานนท์ ขวัญสนิท, สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, และสุทธา สุปัญญา. (2559). ความชุกของโรคจิตเวชและปัญหาสุขภาพจิต : การสำรวจระบาดวิทยาสุขภาพจิตของคนไทยระดับชาติ ปี พ.ศ. 2556. บียอนด์พับลิสซิ่ง.
พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. (2554). คู่มือสำหรับผู้อบรม : การดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุราเบื้องต้นสำหรับบุคลากรสุขภาพ ฉบับปรับปรุง 2554 : Mudule A: โปรแกรมการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุราในระบบสุขภาพ. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.
พิชัย แสงชาญชัย. (ม.ป.ป). สายด่วน 1413 ศูนย์ปรึกษาปัญหาสุรา (Alcohol Help Line) [เอกสารอัดสำเนา]. ม.ป.ท.
ภัทรสุดา สิงห์เห. (2556). ประสิทธิผลของการใช้การบำบัดโดยการแก้ปัญหาในผู้ที่เป็นโรคติดสุราที่มีภาวะซึมเศร้า โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
รัชดา อังธนานุกุล, ดาราวรรณ ต๊ะปินตา, และสมบัติ สกุลพรรณ์. (2556). ผลของโปรแกรมการบําบัดโดยการแก้ปัญหาต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่ติดสุรา โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 34(1), 213-224.
โรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่. (2565). รายงานสถิติผู้ติดสุราที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาล ปีงบประมาณ 2562-2564. กลุ่มงานเทคโนโลยีและสารสนเทศ โรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่.
วินัย รอบคอบ, สมบัติ สกุลพรรณ์, และหรรษา เศรษฐบุปผา. (2561). ภาวะซึมเศร้า พฤติกรรมการดื่มสุรา และความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายของวัยรุ่น. พยาบาลสาร, 45(4), 144-58.
สมบัติ สกุลพรรณ์, สุพิศ กุลชัย, และดาราวรรณ ต๊ะปินตา. (2559). ผลของโปรแกรมการบำ บัดด้วยการแก้ปัญหาแบบกลุ่มต่อภาวะซึมเศร้าของผู้รับบริการที่มีภาวะซึมเศร้าที่มารับบริการในสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 30(3), 109-120.
อรัญญา แพจุ้ย, และนรัญชญา ศรีบูรพา. (2552). ภาวะโรคจิตเวชร่วมในผู้ติดสุราที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในของศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดเชียงใหม่. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 54(1), 63-74.
อัครเดช กลิ่นพิบูลย์, อรพิน ยอดกลาง, วิภาดา คณะไชย, จารุนันท์ คำชมพู, และสาคร บุปผาเฮ้า. (2563). การพัฒนาโปรแกรมบำบัดโดยการแก้ปัญหาในผู้ป่วยจิตเวชที่มีความคิดและพฤติกรรมฆ่าตัวตาย. Journal of Mental Health of Thailand 2020, 28(1), 88-98.
Arunpongpaisal, S., Assanagkornchai, S., Chongsuvivatwong, V., & Jampathong, N. (2021). Time-series analysis of trends in the incidence rates of successful and attempted suicides in Thailand in 2013-2019 and their predictors. BMC psychiatry, 22(1), 579.
Beck, A.T. (1967). Depression. Harper and Row.
Bell A.C., & D'Zurilla T.J. (2009). Problem-solving therapy for depression: A meta-analysis. Clinical Psychology Review, 29(4), 348-353.
Bonea, M., Neacsu, C.M., & Miclutia V.L. (2018). Comorbidities of alcohol use disorder. Romanian Journal of Psychiatry, 2, 63-67.
Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences (2nd ed.). Lawrence Erlbaum Associates.
D’Zurilla, T.J. & Nezu, A.M. (2010). Problem-solving therapies. Handbook of cognition- behavioral therapies (3rd ed.). Guilford Press.
D'Zurilla, T.J. (1988). Problem-solving therapies. Handbook of cognitive-behavioral therapies. Guilford Press.
Kuria, M.W., Ndetei, D.M., Obot, I.S., Khasakhala, L.I., Bagaka, B.M., Mbugua, M.N., & Kamau, J. (2012). The Association between Alcohol Dependence and Depression before and after Treatment for Alcohol Dependence. ISRN Psychiatry, 2012, 482802.
Lotrakul M., Sumrithe S., & Saipanish R. (2008). Reliability and validity of the Thai version of the PHQ-9. BMC Psychiatry, 8, 46.
Pettinati H.M., & Dundon W.D. (2011). Comorbid depression and alcohol dependence: new approaches to dual therapy challenges and progress. Psychiatric Times, 28(6), 49.
Pierce, D. (2012). Problem solving therapy - use and effectiveness in general practice. Australian Family Physician, 41(9), 676-679.
Polit, D.F., & Beck, C.T. (2008). Nursing Research: Generating and Assessing Evidence for Nursing Practice (8th Ed.), Lippincott Williams & Wilkins.
Rehm J., Gmel G.E. Sr., Gmel G., Hasan O.S.M., Imtiaz S., Popova S., Probst C., Roerecke M., Room R., Samokhvalov A.V., Shield K.D., & Shuper P.A. (2017). The relationship between different dimensions of alcohol use and the burden of disease-an update. Addiction, 112(6), 968-1001.
Sindhu B., Gupta R., Sindhu S., Kumar K., & Kumar D. (2011). Depression and alcohol dependence: One syndrome or two? A comparison of disability, suicidal risk and coping styles. Pakistan Journal of Social and Clinical Psychology, 62(9).
Sooksompong, S., Kwansanit, P., Supanya, S., Chutha, W., Kittirattanapaiboon, P., Udomittipong, D., Piboonarluk, W., & Saengsawang, S. (2016). The Thai National Mental Health Survey 2013: Prevalence of Mental Disorders in Megacities: Bangkok. Journal of the Psychiatric Association of Thailand, 61(1), 75–88.
World Health Organization. (2023). World health statistics 2023: monitoring health for the SDGs, Sustainable Development Goals. Geneva. https://www.who.int/publications/ i/item/9789240074323.