การพัฒนากระบวนการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพ จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • สันติ ทวยมีฤทธิ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันในการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพ (2) พัฒนากระบวนการจัดทำนโยบายแผนยุทธศาสตร์สุขภาพ (3) พัฒนากระบวนการนำยุทธศาสตร์สุขภาพไปสู่การปฏิบัติ (4) พัฒนากระบวนการควบคุม กำกับ ประเมินผลแผนยุทธศาสตร์สุขภาพ (5) ประเมินผลการพัฒนากระบวนการบริหารแผนยุทธศาสตร์สุขภาพ โดยใช้ CIPP Model ใช้แบบประเมินความคิดเห็น (Cronbach’s alpha coefficient=0.95) และแบบสอบถามความพึงพอใจ (Cronbach’s alpha coefficient = 0.95) กลุ่มตัวอย่างเป็นทีมผู้บริหารและนักวิชาการในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 235 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสรุปความแบบอุปนัย การศึกษานี้ผ่านการพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา รหัส KHE 2018 – 050

ผลการศึกษาพบว่า (1) สถานการณ์ปัจจุบันในการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพ เป็นผลสืบเนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ระยะ 20 ปี (ด้านสุขภาพ) การปรับรูปแบบระบบบริหารภายใต้รูปแบบเขตสุขภาพ 1–12 การดำเนินงานตามตัวชี้วัดของจังหวัดผ่านเกณฑ์เป้าหมายเพียงร้อยละ 81.58 ด้วยสาเหตุหลักที่ได้จากผลการทบทวน ได้แก่ กระบวนการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพในหลายขั้นตอนที่ยังไม่สมบรูณ์ จึงต้องพัฒนากระบวนการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพ (2) พัฒนากระบวนการจัดทำนโยบายแผนยุทธศาสตร์สุขภาพ ด้วยการพัฒนาขั้นตอน การบูรณาการยุทธศาสตร์ทุกระดับ การพัฒนาจัดทำนโยบายแผนยุทธศาสตร์สุขภาพโดยการวิเคราะห์ SWOT Analysis ภายใต้กรอบ Six Building Blocks อย่างเป็นระบบ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนานโยบายแผนยุทธศาสตร์สุขภาพแบบมีส่วนร่วม จัดเวทีให้ความเห็นชอบนโยบายแผนยุทธศาสตร์สุขภาพอย่างเป็นทางการ และพัฒนาแนวทางการจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์สุขภาพ (3) การพัฒนากระบวนการนำแผนยุทธศาสตร์สุขภาพไปสู่ ด้วยการพัฒนาขั้นตอน การถ่ายทอดนโยบายแผนยุทธศาสตร์สุขภาพไประดับพื้นที่ในหลายช่องทาง การจัดทำคู่มือ โปสเตอร์นโยบายแผนยุทธศาสตร์สุขภาพ การจัดทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ระหว่างผู้บริหาร การประชุมเชิงปฏิบัติจัดทำแผนปฏิบัติการ มาตรการ กิจกรรมหลักโดยใช้แนวทาง PDCA การพัฒนาทีมพี่เลี้ยงจังหวัดเพื่อร่วมพัฒนางานพื้นที่ การพัฒนาโปรแกรมบริหารยุทธศาสตร์ (SMS) เพื่อควบคุมกำกับประเมินผลแผนปฏิบัติการ (4) การพัฒนากระบวนการควบคุม กำกับ ประเมินผลแผนยุทธศาสตร์สุขภาพด้วยการพัฒนาขั้นตอน การนิเทศงานสาธารณสุขผสมผสาน การประเมินผลการดำเนินงานด้านสุขภาพ การกำหนดผู้จัดการโครงการการพัฒนาโปรแกรมบริหารยุทธศาสตร์ (SMS) เพื่อการควบคุม กำกับ ประเมินผลแผนยุทธศาสตร์และงบประมาณแบบ Real Time การพัฒนาระบบรายงานแบบ Monitoring Cockpit (5) ความคิดเห็นต่อการพัฒนากระบวนการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพ พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมากขึ้นไป (ร้อยละ 84.5) ความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรมบริหารยุทธศาสตร์ อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด (ร้อยละ 84.5) (Mean=4.4, S.D.=1.2) ข้อเสนอแนะ ผู้บริหารทุกระดับควรให้ความสำคัญต่อกระบวนการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพและถือเป็นนโยบายปฏิบัติ นำโปรแกรมบริหารยุทธศาสตร์ (SMS) ไปพัฒนาต่อเนื่อง ขยายผลสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแห่งอื่น

Author Biography

สันติ ทวยมีฤทธิ์, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข

References

1. กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ระยะ 20 ปี (ด้านสุขภาพ) พ.ศ.2560-2579. นนทบุรี: สำนักนโยบายและแผน กระทรวงสาธารณสุข; 2559.
2. สำนักงานเขตสุขภาพที่ 9. แผนยุทธศาสตร์เขตสุขภาพที่ 9 นครชัยบุรินทร์ ฉบับที่ 3 (ปี 2560-2564).สำนักงานเขตสุขภาพที่ 9 กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
3. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2556-พ.ศ. 2561) [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน กพร.); 2557. [เข้าถึงเมื่อ 2 เมษายน 2559]. เข้าถึงได้จาก: https://www.cpd.go.th/cpdth2560/images/document/text_yutasad_2.pdf
4. World Health Organization. Everybody’s Business: strengthening health systems to improve health outcomes : WHO’s framework for action. Switzerland: World Health Organization; 2007.
5. Stufflebeam DL, Madaus GF, Kellaghan T, editors. Evaluation Models. 2nd ed. Boston: Kluwer Academic Publishers; 2000.
6. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. ทะเบียนบุคลากร. นครราชสีมา: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา; 2561.
7. Daniel WW. Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences. 6th ed. Singapore: John Wiley & Sons; 1995.
8. วิโรจน์ สารรัตนะ. การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์; 2550.
9. กัลยา วานิชย์บัญชา. สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.
10. ประภาส อนันตา, เสฐียรพงษ์ ศิวินา. รูปแบบการนำแผนเชิงกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติของหน่วยบริการปฐมภูมิอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2556; 20(1): 9-18.
11. Zhang G, Zeller N, Griffith R, Metcalf D, Williams J, Shea C, et al. Using the context, input, process, and product evaluation model (CIPP) as a comprehensive framework to guide the planning, implementation, and assessment of service-learning programs. Journal of Higher Education Outreach and Engagement 2011; 15(4): 57-84.
12. Beers M. Organizational size and job satisfaction. Academy of Management Journal 1964; 7(1): 34-44.
13. Khan MY, Khan N, Ahmed S, Ali M, General P. Connotation of organizational effectiveness and factors affecting It. International Journal of Business and Behavioral Sciences 2012; 2(9): 21-30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-30