การพัฒนาการเฝ้าระวังการเกิดโรคหัดในกลุ่มแรงงานต่างด้าว ตำบลสูงเนิน อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • วิชาญ คิดเห็น โรงพยาบาลสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
  • ดรุณี คุณวัฒนา โรงพยาบาลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
  • มณีรัตน์ อวยสวัสดิ์ โรงพยาบาลสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
  • นิยะดา รัตนวราวัลย์ โรงพยาบาลสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
  • ชนากานต์ ศรีธาวิรัตน์ โรงพยาบาลสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

วิจัยเชิงปฏิบัติการ, การเฝ้าระวังการเกิดโรค, โรคหัด, แรงงานต่างด้าว

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา การรายงานโรค การป้องกันและควบคุมโรคการระบาดของโรคหัด และการพัฒนาการเฝ้าระวังโรคหัดในกลุ่มแรงงานต่างด้าว อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา โดยแบ่งการศึกษาเป็น 3 ระยะ ผู้ให้ข้อมูลในระยะที่ 1 กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้เกี่ยวข้องในการเฝ้าระวังโรคหัดในโรงพยาบาล 24 คน โรงงาน 6 คน แรงงานต่างด้าวชาวเมียนมาที่ป่วยและไม่ป่วยเป็นโรคหัด 10 คน และแฟ้มเวชระเบียน ระยะที่ 2 ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวังการเกิดโรคหัดในโรงพยาบาล 30 คนและโรงงาน 15 คน ระยะที่ 3 ประเมินความรู้เรื่องการป้องกันโรคหัดกลุ่มแรงงานต่างด้าวชาวเมียนมา 200 คน ความพึงพอใจในการมารับบริการ จำนวน 300 คน ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกันยายน 2562 เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม มีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า 1) สถานการณ์การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา การรายงานโรค การป้องกันและควบคุมโรคการระบาดของโรคหัดพบว่า ในกลุ่มแรงงานต่างด้าวชาวเมียนมามีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัด เช่น ไม่ทราบประวัติวัคซีนป้องกันโรคหัด สิ่งแวดล้อมไม่ถูกมาตรฐานสุขาภิบาล ที่อยู่อาศัยมีความแอดอัด การระบายอากาศในห้องพักน้อย ใช้ของร่วมกัน บุคลากรที่เกี่ยวข้องยังขาดความเข้าใจในการปฏิบัติตามขั้นตอนในการเฝ้าระวังสอบสวนทางระบาดวิทยาและรายงานโรคตามโครงการกำจัดโรคหัดตามพันธะสัญญานานาชาติ  2) พัฒนาแนวทางการเฝ้าระวังการเกิดโรคหัดในกลุ่มแรงงานต่างด้าวชาวเมียนมาตำบลสูงเนิน ประกอบด้วยแนวทางที่สำคัญ คือ แนวทางการเฝ้าระวังเริ่มตั้งแต่ การซักประวัติ การคัดกรอง ค้นหากลุ่มเสี่ยง การสื่อสารข้อมูลโดยการส่งต่อการรักษา การพัฒนาอาสาสมัครแรงงานต่างด้าวชาวเมียนมาให้มีความรู้และการป้องกันโรคหัด การจัดสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยของแรงงานต่างด้าวให้ถูกหลักสุขาภิบาลและการได้รับวัคซีน 3) ผลลัพธ์หลังการพัฒนาพบว่า แรงงานต่างด้าวชาวเมียนมามีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 37.18 ซื้อบัตรประกันสุขภาพและได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดเพิ่มเป็นร้อยละ 36.14  มีความพึงพอใจการรับบริการตรวจสุขภาพร้อยละ 86.8 และมีความครอบคลุมการให้วัคซีนป้องกันโรคหัดทุกตำบลในอำเภอสูงเนินผ่านเกณฑ์ร้อยละ 95

ข้อเสนอแนะ ควรมีการคัดกรองประวัติการได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดในกลุ่มแรงงานต่างด้าวชาวเมียนมา เพิ่มบริการวัคซีนป้องกันโรคหัดในชุดบริการบัตรประกันสุขภาพและพัฒนาอาสาสมัครต่างด้าวชาวเมียนมาเพื่อช่วยในการเฝ้าระวังการเกิดโรคหัดในกลุ่มแรงงานต่างด้าวชาวเมียนมาได้อย่างต่อเนื่อง และเหมาะสมกับบริบทของตำบลสูงเนิน

Author Biographies

วิชาญ คิดเห็น, โรงพยาบาลสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ

ดรุณี คุณวัฒนา, โรงพยาบาลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

มณีรัตน์ อวยสวัสดิ์, โรงพยาบาลสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

นิยะดา รัตนวราวัลย์, โรงพยาบาลสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

ชนากานต์ ศรีธาวิรัตน์, โรงพยาบาลสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา

นักวิชาการสาธารณสุข

References

Centers for Disease Control and Prevention. Signs and symptoms of measles [Internet]. 2018 [Retrieved 2019 Jan 16]. Available from: https://www.cdc.gov/measles/symptoms/index.html

Ahmed A, Lee KS, Bukhsh A, Al-Worafi YM, Sarker MR, Ming LC, et al. Outbreak of vaccine-preventable diseases in Muslim majority countries. Journal of Infection and Public Health 2018; 11(2):153-5. doi: 10.1016/j.jiph.2017.09.007.

World Health Organization. 2019. Measles factsheet. December 2019 [Retrieved 2019 Jan 16]. http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs286/en/index.html

Centers for Disease Control and Prevention. Measles overview [Internet]. 2018 [Retrieved 2019 Jan 16]. Available from: http://www.cdc.gov/measles

ปิยนิตย์ ธรรมาภรณ์พิลาศ, เลิศฤทธิ์ ลีลาธร. แนวทางการเฝ้าระวังควบคุมโรค การตรวจรักษาและส่งตัวอย่างตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อการกำจัดโรคหัดตามโครงการกำจัดโรคหัดตามพันธะสัญญานานาชาติ (ฉบับปรับปรุง วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559). พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2559.

กองโรคป้องกันด้วยวัคซีน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2560 [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2561 ธันวาคม 25]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/.pdf

กรมควบคุมโรค. แผนงานป้องกันควบคุมโรคในกลุ่มประชากรต่างด้าว ปี 2560-2564. แผนปฏิบัติราชการเชิงยุทธศาสตร์ ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2560-2564 ) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2561 ธันวาคม 25]. เข้าถึงได้จาก: http://plan.ddc.moph.go.th/meeting30_1augsep/.pdf

Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Planner. 3rd ed. Victoria: Deakin University Press; 1988.

Last JM, ed. A Dictionary of Epidemiology. 2nd ed. Toronto, Canada: Oxford University Press; 1988.

อรุณรักษ์ คูเปอร์ มีใย, โสภณ เอี่ยมศิริถาวร, จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์, ปณิธี ธัมมวิจยะ, สมคิด คงอยู่, วิรัชดา ปานงาม, และคณะ. การเกิดซ้ำของโรคที่สามารถป้องกันด้วยวัคซีนในประเทศไทย: กรณีศึกษาของโรคคอตีบ โรคหัด โรคหัดเยอรมัน และโรคไวรัสตับอักเสบชนิดเอ [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2561 มกราคม 16]. เข้าถึงได้จาก: http://164.115.27.97/digital/files/original/87531e21426c66c3a6cc7e4684de1da4.pdf

กองนโยบายและแผนงาน สำนักงานผังเมือง กรุงเทพมหานคร. ผลกระทบจากการให้บริการสาธารณสุขแก่แรงงานต่างด้าวของโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ; 2558.

สำราญ เหล็กงาม, บุศนี มุจรินทร์, อภิชัย สะดีวงศ์. การระบาดของโรคหัดในผู้ต้องขังเรือนจำแห่งหนึ่ง จังหวัดอำนาจเจริญ เดือน มกราคม–กุมภาพันธ์ 2561. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 2562; 2:48-58.

เอกชัย ยอดขาว และคณะ. การสอบสวนและควบคุมการระบาดของโรคหัดในเรือนจำแห่งหนึ่ง จังหวัดสมุทรปราการ เดือนมกราคม-มีนาคม 2554. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2555; 43:97-104.

สมชาย ปิยวัชร์เวลาและคณะ. การระบาดของโรคหัดในผู้ต้องขังชายเรือนจำแห่งหนึ่ง จังหวัดมหาสารคาม เดือนมีนาคม-มิถุนายน 2556. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2557; 45:753-60.

สุผล ตติยนันทพร, ลักขณา สีนวลแล, พัชรภร คอนจำนง, กัญญรัตน์ สระแก้ว, อนุพล ครึบกระโทก, ณัฐพล จำปาสาร และคณะ. รายงานสอบสวนการระบาดของโรคหัดในอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมาและข้อเสนอแนะสำหรับโครงการกำจัดหัดประเทศไทย พ.ศ. 2560. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2560; 11(26):16-31.

พรพิมล สระทองปังและนันทนา เลิศประสบสุข. การนำนโยบายมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล (ตำบลละ 5 ล้านบาท) ไปปฏิบัติในเขตตำบลห้วยม่วง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 2561; ฉบับที่ 1: หน้า 354-366.

ศุภโชค ทิพยพัฒนกุล และคณะ. การระบาดของโรคหัดในที่พักแรงงานต่างด้าว ตำบลบางวัน อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เดือนพฤษภาคม–มิถุนายน 2555. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ประจำสัปดาห์ 2557; 45:S13-22.

สมเจตน์ ตั้งเจริญศิลป์, ดารินทร์ อารีย์โชคชัย. รายงานการเฝ้าระวังโรคหัดตามโครงการกำจัดโรคหัด ประเทศไทย เดือนมกราคม–กันยายน 2555. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2555; 43:721-4.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-31