สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัยในเขตสุขภาพที่ 9 ปี 2560
คำสำคัญ:
ภาวะโภชนาการ, เด็กปฐมวัยบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Study) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์ภาวะโภชนาการและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัย เขตสุขภาพที่ 9 กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ เด็กปฐมวัย อายุ 9 เดือนถึง 5 ปี 11 เดือน 29 วัน และบิดา มารดา หรือผู้เลี้ยงดูเด็ก ในเขตสุขภาพที่ 9 จำนวน 794 คน สุ่มตัวอย่างเป็นขั้นลำดับแบบ Three-Stages Custer Sampling เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก แบบสอบถามสถานการณ์พัฒนาการและพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กของครอบครัวไทย และประเมินภาวะโภชนาการโดยที่วัดส่วนสูงและเครื่องชั่งน้ำหนัก เก็บข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน 2560 เคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการเด็กโดยใช้สถิติ Odds ratio และ Chi-square กำหนดระดับนัยสำคัญ 0.05
ผลการศึกษา พบว่า เด็กปฐมวัยมีภาวะโภชนาการดีร้อยละ 72.3 โดยเด็กหญิงมีภาวะโภชนาการดีกว่าเด็กชาย คือร้อยละ 75.4 และ 69.4 ตามลำดับและพบว่าเด็ก อายุ 3-5 ปี มีภาวะโภชนาการดีกว่าเด็ก 0-2 ปี ร้อยละ 73.3 และ 71.3 ตามลำดับ แยกเป็นเกณฑ์น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ พบเด็กหญิง ร้อยละ 80.8 เด็กชาย ร้อยละ 75.5 มีน้ำหนักตามเกณฑ์ เกณฑ์น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง เด็กหญิงมีภาวะสมส่วน ร้อยละ 82.3 เด็กชายสมส่วน ร้อยละ 75.8 และเกณฑ์ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ เด็กชายมีความสูงตามเกณฑ์ขึ้นไป ร้อยละ 88.3 เด็กหญิงความสูงตามเกณฑ์ขึ้นไป ร้อยละ 88.7 ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่าเด็กหญิงมีผลการประเมินดีกว่าเด็กชายทุกเกณฑ์การประเมิน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัย โดยพิจารณารายด้านดังนี้ ปัจจัยด้านมารดา พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ ได้แก่ การฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งคุณภาพ การได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีน และการมีโรคประจำตัวของมารดา ปัจจัยด้านเด็กปฐมวัย พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ ได้แก่ น้ำหนักแรกเกิด และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่าง ได้แก่ อายุของผู้ดูแลเด็ก
ข้อเสนอแนะ จากผลการวิจัย 1) การจัดการงานอนามัยแม่และเด็กในเขตสุขภาพที่ 9 เช่นเพิ่มแนวทางให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งคุณภาพ เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลตามมาตรฐานและได้รับโภชนาการที่เหมาะสมขณะตั้งครรภ์และควรมีแนวทางการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด เพื่อให้เด็กแรกคลอดมีน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม การส่งเสริมให้ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงควรมีแนวทางการดูแลและเฝ้าระวังหญิงตั้งครรภ์ที่มีโรคประจำตัว และ 2) การกำหนดแนวทางในการติดตามและเฝ้าระวังโภชนาการเด็กปฐมวัย ได้แก่ การเฝ้าระวังการเจริญเติบโตของเด็ก โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ตามระยะเวลา และการบันทึกข้อมูลตามจริงและทันเวลา ทั้งในครัวเรือน ชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน
References
2. ลัดดา เหมาะสุวรรณ. คู่มือเครื่องชี้วัดทางโภชนาการและโรคที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2555.
3. ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. คู่มือสำหรับพ่อแม่สำหรับเผยแพร่ ความรู้ ด้านการดูแลและพัฒนาเด็ก ตอนวัยเด็กเล็ก 0 – 3 ปี. กรุงเทพฯ: สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย; 2560.
4. World Health Organization. Levels and Trends in Child Malnutrition [Internet]. [cited 2019 Jan 24], Available from: http://www.who.int/nutgrowthdb/estimates2014/en/
5. วิชัย เอกพลากร. ระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พศ 2551-2552 [อินเตอร์เน็ต]. 2552 [เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/report6_9.pdf
6. ชัยพร พรหมสิงห์ วรรณภา กางกั้น และพนิต โล่เสถียรกิจ (2557). ภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัยไทย พ.ศ. 2557.ชลบุรี: บางแสนการพิมพ์; 2559.
7. สำนักงานสถิติแห่งชาติ สปสช และยูนิเซฟ ประเทศไทย. ผลการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พศ. 2558-2559 [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 24 มกราคม 2562] เข้าถึงได้จาก: http://www.nso.go.th/ sites/2014 / DocLib13 /2558/unicef%20MICS% 2014%20Provinces_TH-Hi%20res.pdf
8. พรรณี ไพบูลย์ และคณะ. ศึกษาสถานการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการของเด็กปฐมวัยในเขตสุขภาพที่ 3. วารสารสาธารณสุขนครสวรรค์ 2561; 4(2) พ.ค.–ส.ค.:27–42.
9. Khejonchit P, Chutiman N, Kumphon B. Factor Associated with Under-Nutrition of Preschool Children in Kuchinarai District, Kalasin Province. Khon Kaen University Journal for Public Health Research 2013;6(3):168-175.
10. Sharghi A, Kamran A, Faridan M. Evaluating Risk for Protein - Energy Malnutrition in Under the Age of Six Years: a Case - Control Study from Iran. International Journal of General Medicine 2011;4:607-611.
11. สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. บริการฝากครรภ์คุณภาพครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2562] เข้าถึงได้จาก: www.healthdata.moph.go.th/kpi/2555/KpiDetail.php?topic
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9