ประสิทธิผลของการส่งเสริมความรอบรู้ด้านโภชนาการในผู้สูงอายุที่เข้ารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • นิธิรัตน์ บุญตานนท์ ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา กรมอนามัย
  • ศินาท แขนอก ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา
  • นารีรัตน์ สุรพัฒนชาติ ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา กรมอนามัย

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านโภชนาการ, ผู้สูงอายุ, โภชนาการ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านโภชนาการของผู้สูงอายุ และเปรียบเทียบค่าคะแนนความรอบรู้ด้านโภชนาการของผู้สูงอายุทั้งก่อนและหลังการทดลองของทั้งสองกลุ่ม โดยกลุ่มทดลองเป็นผู้สูงอายุที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา จำนวน 34 คน ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านโภชนาการของผู้สูงอายุ จำนวน 3 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 4 สัปดาห์ และกลุ่มเปรียบเทียบเป็นผู้สูงอายุที่เข้ารับบริการตามปกติในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี จำนวน 34 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA) ผลการศึกษาพบว่าหลังได้รับโปรแกรม กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ด้านโภชนาการภาพรวม และรายประเด็นได้แก่ การเข้าถึงข้อมูลด้านโภชนาการ การเข้าใจด้านโภชนาการ การโต้ตอบซักถาม การตัดสินใจ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการบอกต่อ สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ <0.001 และกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ด้านโภชนาการหลังได้รับโปรแกรม ทั้งภาพรวม และรายประเด็นทุกด้าน แตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ <0.001 เมื่อใช้ค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ด้านโภชนาการในผู้สูงอายุก่อนการได้รับโปรแกรมเป็นตัวแปรร่วม

Author Biographies

นิธิรัตน์ บุญตานนท์, ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา กรมอนามัย

นายแพทย์ชำนาญการ

ศินาท แขนอก, ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

นารีรัตน์ สุรพัฒนชาติ, ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา กรมอนามัย

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

References

1. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2558. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2559.
2. Saka B, Kaya O, Ozturk GB, Erten N, Karan MA. Malnutrition in the elderly and its relationship with other geriatric syndromes. Clin Nutr ESPEN. 2010;29:745-8.
3. Shakersain B, Santoni G, Faxén-Irving G, Rizzuto D, Fratiglioni L, Xu W. Nutritional status and survival among old adult: an 11-year population-based longitudinal study. Eur J Clin Nutr 2016;70:320-5.
4. สุภาพ พุทธปัญญา, นิจฉรา ทูลธรรม, นันทิพัฒน์ พัฒนโชติ. ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพต่อความฉลาดทางสุขภาพ พฤติกรรมการลดน้ำหนัก และน้ำหนักของบุคลากรที่มีภาวะโภชนาการเกินในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2559;9(4):42-59.
5. พรวิจิตร ปานนาค, สุทธีพร มูลศาสตร์ และเชษฐา แก้วพรม. ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ตำบลบางวัว อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560;27(3):91-106.
6. ชุติมา เจียมใจ, กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ และประเสริฐศักดิ์ กายนา. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจในการสร้างเสริมพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศ จังหวัดเพชรบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ 2559;31(3):205-17.
7. ศิวรักษ์ กิจชนะไพบูลย์, สิริประภา กลั่นกลิ่น, อารีวรรณ กลั่นกลิ่น. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ทฤษฎีความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายที่มีภาวะโภชนาการเกิน โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา. วารสารการพยาบาล 2556;40(2):77-87.
8. สำนักกรรมาธิการ 3 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. รายงานคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เรื่อง การปฏิรูปความรอบรู้และการสื่อสารสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร:สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร; 2559.
9. ประสงค์ เทียนบุญ. การต่อสู้กับโรคขาดสารอาหารในโรงพยาบาล. เชียงใหม่:โชตนาพริ้นท์; 2544.
10. แสงเดือน กิ่งแก้ว, นุสรา ประเสริฐศรี. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังหลายโรค. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2558;25(3):43-54.
11. Abedelwahed AY, Algameel MM, Tayel DI. Effective of a nutritional education program on nutritional status of elderly in rural area of Damahur city, Egypt. IJNSS 2018;8(5):83-92.
12. จิราภรณ์ ชูวงศ์ และปฏิญญา ก้องสกุล. ผลของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในชมรมผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2555;6(2):30-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-30