ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมทันตสุขภาพที่มีผลต่อโรคฟันผุของผู้พิการทางการมองเห็น อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ปี 2560

ผู้แต่ง

  • ชีวานันท์ บุญอยู่ โรงพยาบาลบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ฟันผุ, ผู้พิการทางการมองเห็น

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวางนี้ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อโรคฟันผุของผู้พิการทางการมองเห็น ในอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมาใช้รูปแบบการศึกษาวิจัยเชิงวิเคราะห์โดยวิธีการสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Analytical research) ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างผู้พิการทางการมองเห็น อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 114 คนซึ่งขึ้นทะเบียนในโปรแกรม ผู้พิการเขต 14 นครชัยบุรินทร์เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และตรวจช่องปากระหว่างเดือนกันยายน – พฤศจิกายน2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อสภาวะโรคฟันผุโดยใช้วิธีการถดถอยโลจิสติกเชิงพหุ (Multiple Logistic Regression)

ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างจำนวน 114 คน เป็นเพศหญิงร้อยละ 60.5 อายุระหว่าง 21-93 ปี อายุเฉลี่ย 67.45±14.19 ปี มีฟันผุร้อยละ58.8  มีค่าเฉลี่ยฟันผุ อุด ถอน 15.92±10.7ซี่/คน  ผลการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆต่อฟันผุ พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดฟันผุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value<0.05) คือ อายุ ดัชนีมวลกาย สถานภาพสมรส และความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก

Author Biography

ชีวานันท์ บุญอยู่, โรงพยาบาลบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ

References

1. พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550. Retrieved June 16, 2017, from URL:http://www.mol.go.th/sites/default/files/laws/th/30e4172260334195e327854a51421847.pdf
2. ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่องประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2555. Retrieved June 16, 2017, from URL:file:///C:/Users/Doctor1/Downloads/20150402_11_07_15_8612%20(1).pdf
3. กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. คู่มือการวินิจฉัยและตรวจประเมินความพิการตามประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เรื่อง ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555. กรุงเทพฯ.
4. รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. Retrieved June 16, 2018, from URL:http://dep.go.th/sites/default/files/files/document/report_PWDs_062558.pdf
5. รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 30 กันยายน 2560. Retrieved June 16, 2017, from URL:http://dep.go.th/sites/default/files/files/news/สถานการณ์คนพิการกย60_2.pdf
6. รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 30 กันยายน 2561. Retrieved November 1, 2018, from URL:http://http//dep.go.th/?q=th/news/รายงานสถานการณ์ด้านคนพิการ-30กันยายน-2561
7. ข้อมูลผู้พิการเขต14 นครชัยบุรินทร์ กันยายน 2559. สำนักงานสาธารณสุขนครราชสีมา. Retrieved September 16, 2016: http://www.korathealth.com/cripple14/report_byamp.php
8. ข้อมูลผู้พิการเขต14 นครชัยบุรินทร์ มิถุนายน 2560. สำนักงานสาธารณสุขนครราชสีมา. Retrieved June 16, 2017: http://www.korathealth.com/cripple14/report_byamp.php
9. มาลี อรุณากูร. การสื่อสารและการรักษาทางทันตกรรมในเด็กตาบอด. Retrieved December 11, 2017, from URL:http://www.gj.mahidol.ac.th/th/wp-content/uploads/conference/2557/art/file2.pdf
10. James Rufus John, Breena Daniel, Dakshaini Paneerselvam, Ganesh Rajendran. Prevalence of Dental Caries, Oral Hygiene Knowledge, Status, and Practices among Visually Impaired Individuals in Chennai, Tamil Nadu. International Journal of Dentistry Volume2017, Article ID 9419648. Retrieved March 11, 2019, from URL:https://doi.org/10.1155/2017/9419648
11. Sujal M Parkar, Nidhi Patel, Nikita Patel, Hemali Zinzuwadia. Dental health status of visually impaired individuals attending special school for blind in Ahmedabad city, India. Indian Journal of Oral Sciences 2014;5(2):73-77.
12. Jitender Solanki, Sarika Gupta, Geetika Arora, Sumit Bhateja. Prevalence of Dental Caries and Oral Hygiene Status Among Blind School Children and Normal Children, Jodhpur City: A Comparative Study. JoAOR 2013;4(2):1-5. Retrieved March 11, 2019, from URL:http://joaor.org/userfiles/1.Dr%20Jitender%20Solanki_1.pdf
13. E. K. Watson, D. R. Moles, N. Kumar, S. R. Porter. The oral health status of adults with a visual impairment, their dental care and oral health information needs. BDJ. Retrieved March 11, 2019, from URL:https://www.nature.com/articles/sj.bdj.2010.395.pdf
14. Patcharaphol Samnieng, Pakinai Seehaumpai, Supattra Wichachai, Patcharawan
Yusookh. Oral Health Status and Treatment Needs of Visual Impairment in Phitsanuloke,Thailand. Journaof DI 2014;21(2):63-67.
15. Catherine J. Binkley, Knowlton W. Johnson. Application of the PRECEDE-PROCEED Planning Model in Designing an Oral Health Strategy. J Theory Pract Dent Public Health. Retrieved July 11, 2017, from URL:www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4199385/pdf/nihms-589862.pdf
16. อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2552.
17. Sharon L Naismith, Wendy A Longley, Elizabeth M Scott, Ian B Hickie. Disability in major depression related to self-rated and objectively-measured cognitive deficits: a preliminary study. BMC Psychiatry 2007. Retrieved November 18, 2018, from URL:bmcpsychiatry.biomedcentral.com/track/pdf/10.1186/1471-244X-7-32
18. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 7 ประเทศไทย พ.ศ. 2555. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2556.
19. กรมอนามัย. หุ่นดีสุขภาพดีง่ายๆแค่ใช้ 4 พฤติกรรม. Retrieved November 18, 2018, from URL:http://nutrition.anamai.moph.go.th/images/files/HLworkingage.pdf
20. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: บริษัทสามเจริญพาณืชย์(กรุงเทพ)จำกัด: 2561.
21. Hassan Baber. Predictors of Dental Caries. Modern Research in C Dentistry 2018;5:1-4. Retrieved April 18, 2019, from URL:https://crimsonpublishers.com/mrd/pdf/MRD.000523.pdf
22. Dhivyalosini Maykanathan, Satvinder Kaur. Sociodemographic, Oral Health Behaviour, and Physical Activity: Factors in Caries Experience among 19-59 Years Old Adults in a Malaysian Population. Makara J. Health Res 2015;19(2):55-60.
23. Marwa M.S. Abbass , Nermeen AbuBakr , Israa Ahmed Radwan , Dina Rady , Sara El Moshy , Mohamed Ramadan , Attera Ahmed , Ayoub Al Jawaldeh. The potential impact of age, gender, body mass index, socioeconomic status and dietary habits on the prevalence of dental caries among Egyptian adults: a cross-sectional study [version 1; referees: 2 approved]. F1000Research. Retrieved April 18, 2019, from URL:https://f1000research.com/articles/8-243/v1
24. สาธกา ธาตรีธรานนท์. ปัจจัยที่มีผลต่อสภาวะทันตสุขภาพผู้ป่วยจิตเวช. วิทยาสารทันตสาธารณสุข. 2560;1:58-68.
25. Kuan-Yu Chu, Nan-Ping YANG, Pesus Chou, Hsien-Jane Chiu, Lin-Yang Chi, Factors associated with dental caries among institutionalized residents with schizophrenia in Taiwan: a cross-sectional study. BMC Public Health. 2510;10:482. Retrieved January 1, 2019, from URL:https://bmcpublichealth.biomedcentral.com/articles/10.1186/1471-2458-10-482
26. วิไลลักษณ์ ทิวากรกฎ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะช่องปากวัยทำงาน อำเภออัมพวา จังหวัด
สมุทรสงคราม. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2560;4:237-249.
27. Aisha Wali, Talha M. Siddiqui, Sadaf Yousuf, Farheen Moud. Correlation of Body Mass Index and Dental Caries in Patients Attending Baqai Dental College, Karachi, Pakistan. JoAOR 2016;7:15-19.
28. Pradhuman Verma, Kanika Gupta Verma, Sudhir Rishi, Suresh Sachdeva, Suruchi Juneja, Purnendu Rout. Correlation between Body Mass Index, Dental Caries and Frequency of Sugar Consumption in Adult Population of Rajastan State, India. JIAOMR 2013;25(2):85-88.
29. Shakeel Anwar, Khalid Rehman, Misri Khan, Rasheed Afridi. Body Mass Index And Dental Caries. JKCD 2013;3(2):30-33.
30. Majdy Idrees, Mohammad Hammad, Asmaa Faden, Omar Kujan. Influence of body mass index on severity of dental caries: cross-sectional study in healthy adults. Ann Saudi Med 2017;37(6):444-448.
31. Khaled Alswata, Waleed S. Mohameda, Moustafa A. Wahabb, Ahmed A. Aboelilb. The Association Between Body Mass Index and Dental Caries: Cross-Sectional Study. J Clin Med Res. 2016;8(2):147-152.
32. MA Sede, AO Ehizele. Relationship between obesity and oral diseases. Nigerian Journal of Clinical Practice 2014;17(6):683-690.
33. Humberto Lauro Rodrigues Junior, Miriam F. Zaccaro Sceiza, Gilson Teles Boaventura, Silvia Maria Custqdio, Emília Addison Machado Moreira, Diane de Lima Oliveira. Relation between oral health and nutritional condition in the elderly. J Appl Oral Sci 2012;20(1):38-44.
34. สุคนธ์ธิกา นพเก้า, ภูดิท เตชาติวัฒน์, ปัทมา สุพรรณกุล, ศันศนีย์ เมฆรุ่งเรืองวงศ์. ปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองด้วยวิถีการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2560;2:1-10.
35. Sharda AJ, Shetty S. Relationship of Periodontal Status and Dental Caries Status with Oral Health Knowledge, Attitude and Behavior among Professional Students in India. Int J Oral Sci. 2009;1(4): 196–206.
36. สุดาดวง กฤษฎาพงษ์. ทำไมทันตสุขศึกษาจึงไม่ได้ผล. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2550;1:79-86.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-30