ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการทันตกรรมโรงพยาบาลของรัฐ ในจังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • บุญเกียรติ วัฒนเรืองรอง โรงพยาบาลบางจาก จังหวัดสมุทรปราการ

คำสำคัญ:

บริการทันตกรรม, คุณภาพบริการ, การเข้าถึงบริการ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ  ทันตกรรมโรงพยาบาลของรัฐ ของผู้ใช้บริการสิทธิข้าราชการ สิทธิประกันสังคม และผู้ชำระเงินเอง ซึ่งสามารถเลือกใช้บริการทันตกรรมในโรงพยาบาลรัฐแห่งใดก็ได้อย่างอิสระ การวิจัยครั้งนี้ทำการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ได้กลุ่มตัวอย่างที่มารับบริการทันตกรรมโรงพยาบาลของรัฐ 5 แห่งในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 380 คน ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบไปด้วย ข้อมูลทั่วไปของผู้รับบริการ ปัจจัยการสนับสนุนการตัดสินใจมารับบริการ พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพ คุณภาพบริการ และการเข้าถึงบริการ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณาและการถดถอยพหุแบบโลจิสติก

ผลการวิจัยพบว่า อายุ เพศ การประกอบอาชีพหลัก และสิทธิการรักษา ประเภทสิทธิประกันสังคม ด้านปัจจัยคุณภาพบริการ ได้แก่ ความเป็นรูปธรรมบริการ และการตอบสนองความต้องการ  รวมถึงการยอมรับในการรอคอยก่อนเข้ารับการรักษา 31-60 นาที สามารถพยากรณ์ตัวแปรตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Author Biography

บุญเกียรติ วัฒนเรืองรอง, โรงพยาบาลบางจาก จังหวัดสมุทรปราการ

ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ

References

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2557 เล่ม 1: การบริหารงบบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2556.

สำนักงานประกันสังคม. ชวนผู้ประกันตนทำฟัน 900 บาท คน/ปี [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2560 พฤษภาคม 2]. เข้าถึงได้จาก: URL: https://www.sso.go.th/wpr/main/news/ข่าวประชาสัมพันธ์ _detail_detail_ 1_16_0/ 913_913

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ. รายงานประจำปี การนิเทศงานสาธารณสุขของผู้ตรวจราชการเขต พ.ศ. 2559. สมุทรปราการ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ; 2559.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement 1970; 30(3): 607-10.

Parasuraman A, Zeithaml V, Berry LL. SERVQUAL: A Multiple-Item Scale for Measuring Customer Perceptions of Service Quality. Marketing Science Institute; Working Paper Report; 1986: 86-108.

Penchansky R, Thomas JW. The Concept of Access: Definition and relationship to consumer satisfaction. Medical Care 1981; 19(2): 127-40. doi: 10.1097/00005650-198102000-00001.

Likert R. The Method of Constructing and Attitude Scale. In Fishbeic M, editor. Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.1967. p. 90-5.

เพ็ญแข ลาภยิ่ง และวสิน เทียนกิ่งแก้ว การบริการสุขภาพช่องปากภาครัฐในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า วารสารวิชาการสาธารณสุข 2547; 13: 67-81.

บุปผวรรณ กองมณี. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกรับบริการทันตกรรมของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ [การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2541.

ประภัสสร เลียวไพโรจน์. รายงานการวิจัยเรื่องอุปสงค์ต่อการบริการทางการแพทย์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2523.

ดวงพร สุนทราจารย์, สาวิตรี เทียนชัย. ความพึงพอใจของผู้รับบริการทันตกรรมสถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์. วารสารกรมการแพทย์ 2545; 27(2): 65-7.

Jalvalgi RG, Rao SR, Thomas EG. Choosing a Hospital: Analysis of Consumer Tradeoffs. J Health Care Mark 1991; 11(1): 12-22.

เกษร อังศุสิงห์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้บริการทันตกรรมในโรงพยาบาลของรัฐ และเอกชน [วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2537.

ศิริรัตน์ ศิริมาศ. ทัศนคติในการใช้บริการทันตกรรมของผู้ประกันตนโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดนนทบุรี. พุทธชินราชเวชสาร 2554; 28(1): 60-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-31