การศึกษาแนวทางการพัฒนาโรงพยาบาลต้นแบบด้านโภชนบำบัดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงระดับประเทศ โรงพยาบาลตำรวจ

ผู้แต่ง

  • ศราวรณ์ คชโสภณ โรงพยาบาลตำรวจ

คำสำคัญ:

โรงพยาบาลต้นแบบด้านโภชนบำบัด, เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการเป็นโรงพยาบาลต้นแบบด้านโภชนบำบัดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงระดับประเทศ และเพื่อ 2) พัฒนาต่อยอดให้เป็นแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดขยายผลสู่โรงพยาบาลอื่นต่อไป โดยเป็นการวิจัยแบบประเมิน (Evaluative Research) ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ เกณฑ์มาตรฐานการประเมินโรงพยาบาลด้านโภชนบำบัดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงซึ่งมีด้วยกัน 4 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 นโยบายและเป้าหมายที่แสดงถึงการดำเนินงานด้านโภชนบำบัดทางการแพทย์โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการให้โภชนบำบัดทางการแพทย์ องค์ประกอบที่ 3 การสนับสนุนการดำเนินงานด้านโภชนบำบัดทางการแพทย์ องค์ประกอบที่ 4 ระบบเครือข่าย การเยี่ยมบ้าน และให้ความรู้ด้านโภชนบำบัดทางการแพทย์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบบันทึกผู้ป่วยใน แบบบันทึกผู้ป่วยนอก แบบบันทึก NAF (Nutrition Alert Form) แบบสัมภาษณ์ผู้ป่วย     การวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดและทฤษฎี PDCA

ผลการศึกษาพบว่าการตรวจประเมินโรงพยาบาลต้นแบบด้านโภชนบำบัดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงพบว่าโรงพยาบาลตำรวจผ่านการตรวจประเมินโรงพยาบาลด้านโภชนบำบัดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงระดับเขตสุขภาพ โดยคะแนนเฉลี่ยทั้ง 4 องค์ประกอบรวมกันได้ 80 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน   คิดเป็นร้อยละ 80 เมื่อแยกรายองค์ประกอบ ด้านที่ 1 ได้ 11 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 84.62 ด้านที่ 2 ได้ 37 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 88.10 ด้านที่ 3 ได้ 14 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 77.78 และด้านที่ 4 ได้ 18 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 66.67 ซึ่งหากโรงพยาบาลตำรวจมุ่งมั่นที่จะเป็นโรงพยาบาลต้นแบบด้านโภชนบำบัดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงระดับประเทศจะต้องได้คะแนนรวมของแต่ละองค์ประกอบไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 โดยเพิ่มกระบวนการประชาสัมพันธ์ให้กับบุคลากรในโรงพยาบาลและผู้มารับบริการ การพัฒนากระบวนการให้โภชนบำบัดทางการแพทย์ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน การสนับสนุนการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ การส่งต่อหน่วยบริการปฐมภูมิหรือเครือข่ายและติดตามผลการให้โภชนบำบัดอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาวิเคราะห์เพื่อใช้ในการแก้ไขตามสภาพปัญหาและความต้องการหรือทำงานวิจัย R2R แล้วตีพิมพ์ผลงานเผยแพร่สู่สาธารณะต่อไป

Author Biography

ศราวรณ์ คชโสภณ, โรงพยาบาลตำรวจ

หน่วยโภชนบำบัดและบริการ กลุ่มงานโภชนาการ

References

กุลพร สุขุมาลตระกูล, วสุนธรี เสรีสุชาติ, วรรณชนก บุญชู, สุทธาศินี จันทร์ใบเล็ก, บรรณาธิการ. แนวทางการประเมินโรงพยาบาลด้านโภชนบำบัดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2558.

ชัยชาญ ดีโรจนวงศ์. การวินิจฉัยและการจำแนกประเภทโรคเบาหวาน, โครงการอบรมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวานหลักสูตรพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สมาคมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน; มปป.

ธัญพร ก้อยชูสกุล. การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2554.

นลิน คูอมรพัฒนะ, บรรณาธิการ. ชุดอาหารต้านโรค: เบาหวาน อาหารลดน้ำตาลในเลือด. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี; 2550.

บุปผา กิตติกุล, บรรณาธิการ. ชุดอาหารต้านโรค: ความดันโลหิตสูงกับอาหารต้านความดัน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: พรรณีการพิมพ์; 2550.

ปริญญา คำเบ้าเมือง. ขอส่งข้อมูล 10 อันดับโรคผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอก ปีพ.ศ. 2558-2560. กรุงเทพฯ: งานเวชระเบียนและสถิติ 1 วบ.บก.อก.รพ.ตร; 2561.

ปาหนัน กนกวงศ์นุวัฒน์. ต้นแบบโรงพยาบาลสีเขียว. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตรคลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2554; 28(1): 5-15.

ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. การวิจัยประเมินผล. กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2526.

พรเพ็ญ เพชรสุขศิริ. การวางแผน การบริหารและการประเมินผลโครงการ [อินเตอร์เน็ต]. มปป. [เข้าถึงเมื่อ 2561 เมษายน 9]. เข้าถึงได้จาก: http://www.igetweb.com/www/mpa11chonburi/private_folder/780/PA780.Dr.Pornpen.pdf

วราภรณ์ เปียขุนทด. วิจัยเชิงประเมินผล (Evaluation Research) [อินเตอร์เน็ต]. 2555. [เข้าถึงเมื่อ 2561 เมษายน 9]. เข้าถึงได้จาก: https://www.gotoknow.org/posts/378034

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. โภชนบำบัดสำหรับเบาหวาน-โครงการอบรมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวานหลักสูตรพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สมาคมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน; มปป.

สิริกร บุญฟู, อาบทิพย์ กาญจนวงศ์. การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้; 2555.

สุธาสินี โพธิจันทร์. PDCAหัวใจสำคัญของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง [อินเตอร์เน็ต]. 2558. [เข้าถึงเมื่อ 2561 เมษายน 19]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ftpi.or.th/2015/2125

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-31