ผลของโปรแกรมการจัดการตนเอง เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ค่าดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอว ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ที่มีภาวะอ้วนลงพุง

ผู้แต่ง

  • สุภาพร ทิพย์กระโทก มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ธนิดา ผาติเสนะ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

โปรแกรมการจัดการตนเอง, พฤติกรรมการลดน้ำหนัก, ภาวะอ้วนลงพุง, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพค่าดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอวของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่มีภาวะอ้วนลงพุง เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 70 คนแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองคืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านทั้งเพศชายและหญิงที่มีภาวะอ้วนลงพุง ตำบลช่อผกา อำเภอชำนิ  จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 35 คน กลุ่มเปรียบเทียบคืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านทั้งเพศชายและหญิงที่มีภาวะอ้วนลงพุง ตำบลละลวดอำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 35 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง โดยการให้ความรู้การประเมินตนเอง การตั้งเป้าหมาย การปฏิบัติตัวเพื่อลดน้ำหนัก และการติดตามเยี่ยมบ้านเป็นเวลา 12 สัปดาห์ กลุ่มเปรียบเทียบได้รับกิจกรรมตามปกติของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม แบบบันทึกการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย น้ำหนัก และเส้นรอบเอว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม 

ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับภาวะอ้วนลงพุงและการลดน้ำหนัก การปฏิบัติตัวในการลดน้ำหนักสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) ค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอว ลดลงกว่าก่อนการทดลองและลดลงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการจัดการตนเองมีประสิทธิผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลดน้ำหนัก ค่าดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอวได้

Author Biographies

สุภาพร ทิพย์กระโทก, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต

ธนิดา ผาติเสนะ, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

รองศาสตราจารย์

References

ปาริฉัตร พงษ์หาร, จรรยา สันตยากร, ปกรณ์ ประจัญบาน, วิโรจน์ วรรณภิระ. ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันกลุ่มอาการอ้วนลงพุงของอาสาสมัครสาธารณสุข.วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2554; 5(3):54-64.

โรงพยาบาลกรุงเทพ. อ้วนลงพุงสร้างโรค [อินเตอร์เน็ต]. มปป. [เข้าถึงเมื่อ 2563 มีนาคม 3]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bangkokhospital.com/content/metabolic-syndrome-creates-disease

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2557 :138-141.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีไทย [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2563 มีนาคม 3]. เข้าถึงได้จาก: http://wops.moph.go.th/ops/oic/data/20110316100703_1_.pdf

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. ผลการดำเนินงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ปีงบประมาณ 2559. บุรีรัมย์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์; 2559.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านหนองตาเปล่ง. รายงานการประเมินรอบเอวและน้ำหนักของประชาชนในองค์กรต้นแบบไร้พุงชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. บุรีรัมย์:โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านหนองตาเปล่ง; 2559.

ทิวาภรณ์ ค่อมบุสดี. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสตรีที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน ในตำบลคำแก้ว อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ [วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตร

มหาบัณฑิตสาขาการจัดการระบบสุขภาพ]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2556.

ดิเรก อาสานอก, จารุวรรณ ไตรทิพย์สมบัติ. ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่มีภาวะอ้วนลงพุง ตำบลทุ่งกระเต็น อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา 2561; 24(2):90-9.

Creer TL, Holroyd KA. Self-management. In: Baum A, McManus C, Newman S, Weinman J, West R, editors. Cambridge Handbook of Psychology, Health and Behavior. Cambridge: Cambridge University Press; 1997.

Bandura A. Social Learning Theory. New Jersey: Prentice-Hall; 1997.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอชำนิ. รายงานการตรวจและประเมินสุขภาพ อสม. ปีงบประมาณ 2559. บุรีรัมย์: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอชำนิ; 2559.

ณรงค์ พันธ์ศรี, จารุวรรณ ไตรทิพย์สมบัติ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพในผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานและอ้วน ในตำบลเมืองยาง อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2558. 8(4): 42-9

ศุภชัย สามารถ, จุฬาภรณ์ โสตะ. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ความสามารถตนเองร่วมกับขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อลดลดน้ำหนักในกลุ่มวัยทำงาน อายุ 40-49 ปีที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนตำบลหนองกุงเซิน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2559; 23(3):34-45.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-01