รูปแบบระบบการดูแลผู้สูงอายุในหน่วยบริการสาธารณสุข จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
รูปแบบระบบการดูแล, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบระบบการดูแลผู้สูงอายุในหน่วยบริการสาธารณสุข จังหวัดนครราชสีมา ประชากรศึกษาคือ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60ปีขึ้นไป สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จำนวน 180 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม (60คนต่อกลุ่ม) โดยกลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มที่ 2 ได้รับการดูแลในรูปแบบการแยกบริการ (Multi - Part service) กลุ่มที่ 3 ได้รับการดูแลในรูปแบบรวมบริการ (One Stop service) ประเมินผลหลังการทดลองด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการอธิบายสถิติเชิงพรรณนา ในสถิติเชิงอนุมานใช้ค่าจากการประเมินผลในช่วงระยะหลังการทดลอง 6 เดือนด้วย paired sample t-test และ Kruskal-Wallis Test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 การรวบรวมข้อมูลการปฏิบัติตัวในการสร้างสุขภาพของตนเองที่เกี่ยวกับ โภชนาการ การออกกำลังกาย การปรับสมดุลทางจิตใจ การดำรงอยู่ในสิ่งแวดล้อมและการดูแลสุขภาพทั่วไป การโดยใช้แบบสัมภาษณ์รายบุคคล แบบสังเกตและแบบบันทึก ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองที่ผ่านระบบการดูแลแบบที่ 1 และ 2 มีระดับพฤติกรรมในการสร้างสุขภาพเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean diff.= 21.38, P-value < 0.001, 31.45, P-value < 0.001) ในขณะเดียวกันพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม มีค่ามัธยฐานของระดับพฤติกรรมในการสร้างสุขภาพหลังการทดลองแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 จากผลการศึกษานี้ หน่วยบริการสามารถนำไปบูรณาการและปรับปรุงระบบการดูแลกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ป่วยอื่นๆ โดยการเลือกรูปแบบที่เหมาะกับพื้นที่ อย่างน้อยก็เพื่อที่จะเป็นการป้องกันความเจ็บป่วยก่อนเวลาอันควรและภาวะแทรกซ้อนที่มีสาเหตุจากพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ไม่เหมาะสม
References
2. ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง [เข้าถึงเมื่อ 10 มีค.2560] เข้าถึงได้จากhttp://stat.dopa.go.th/stat/statnew/ upstat_age.php
3. กระทรวงสาธารณสุข ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ HDC [เข้าถึงเมื่อ 10 มีค.2560]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?
source=formated/pop_sex_age.php&cat_id=ac4eed1bddb 23d6130746d62d
2538fd0&id=710884bc8d16f755073cf194970b064a
4. พวงผกา มะเสนา และรองศาสตราจารย์ประณต นันทิยะกุล วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมการาคม-เมษายน 2557 เข้าถึงได้จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSocSci/article/view/26603/22570
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9