ปัจจัยที่มีผลต่อการกระตุ้นพัฒนาการเด็กในชุมชน จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ณิชาณี พันธุ์งาม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

พัฒนาการเด็ก, การกระตุ้นพัฒนาการเด็ก, เด็กแรกเกิด- 5 ปี

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการกระตุ้นพัฒนาของเด็ก และปัจจัยที่มีผลต่อการกระตุ้นพัฒนาการเด็กในชุมชน จังหวัดนครราชสีมา โดยประชากรที่ศึกษา เป็นกลุ่มผู้ดูแลเด็กที่มีอายุ 0-5 ปี จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 175,105 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 307 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 1 - 30 เมษายน พ.ศ. 2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบสถิติไคสแควร์ สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ดูแลเด็กที่มีอายุ 0-5 ปี จังหวัดนครราชสีมามีการกระตุ้นพัฒนาการเด็กทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการเคลื่อนไหว (2) ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา (3) ด้านการเข้าใจภาษา (4) ด้านการใช้ภาษา และ (5) ด้านการช่วยเหลือตัวเอง ในภาพรวมมีระดับการกระตุ้น ร้อยละ 63.91 ซึ่งอยู่ในระดับสูง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก ได้แก่ โรคประจำตัวหรือการเจ็บป่วยที่เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก (r = 0.2001; p = 0.005) ผู้อื่นที่ทำหน้าที่ช่วยเลี้ยงดูเด็ก (r = 0.2453; p < 0.001) ระยะเวลาที่อยู่กับเด็ก (r = 0.2566; p < 0.001) การกระทำด้วยเหตุผล (r = 0.4460; p < 0.001) ความคาดหวังในผลลัพธ์ (r = 0.4421; p < 0.001) การรับรู้ในความสามารถ (r = 0.4490; p < 0.001) แรงจูงใจทางกายภาพ (r = 0.2837 p < 0.001) แรงจูงใจทางจิตวิทยา (r = 0.3257; p < 0.001) และแรงจูงใจทางสังคม (r = 0.3293; p < 0.001) ปัจจัยที่มีผลคาดทำนายต่อการกระตุ้นพัฒนาการเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การกระทำด้วยเหตุผล (p < 0.001) ความคาดหวังในผลลัพธ์ (p < 0.001) การรับรู้ในความสามารถ (p < 0.001) แรงจูงใจทางสังคม (p < 0.001) และการมีโรคประจำตัวหรือการเจ็บป่วยที่เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก (p = 0.0005) โดยสามารถร่วมกันทำนายการกระตุ้นพัฒนาการเด็กได้ร้อยละ 35.67 (R2= 0.3567; p < 0.001)

ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดระบบบริการในคลินิกพัฒนาการของเด็ก ควรเน้นการจัดบริการที่มุ่งเน้นผู้ดูแลเด็กด้วยการทำความเข้าใจในสาเหตุและผลของการทำกิจกรรม ส่งเสริมความเชื่อมั่นในการกระตุ้นพัฒนาการของเด็กที่ตนดูแลอยู่ รวมถึงการจัดให้มีกิจกรรมพิเศษสำหรับผู้ดูแลเด็กที่ต้องดูแลเด็กที่มีโรคประจำตัวหรือการเจ็บป่วยที่เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการกระตุ้นพัฒนาการเด็กอย่างเหมาะสมตามวัย

Author Biography

ณิชาณี พันธุ์งาม, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ

References

1. ลัดดา เหมาะสุวรรณ. เครื่องมือส่งเสริมพัฒนาการและอารมณ์ของเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานสนับสนุนการวิจัย; 2547.
2. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. นนทบุรี: มปท.; 2550.
3. UNICEF. Programming experiences in early child development. New York: Author; 2006.
4. กระทรวงสาธารณสุข. ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ HDC [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2560 มี.ค. 10]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=formated/ pop_sex_age.php&cat_id=ac4eed1bddb23d6130746d62d2538fd0&id=710884bc8d16f755073cf194970b064a
5. พนิต โล่เสถียรกิจ. สถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 2560 ม.ค. 6]. เข้าถึงได้จาก: https://hpc03.files.wordpress.com/2015/09/full-paper-childdev.pdf
6. พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546. ราชกิจจานุเบกษา; 2546: 1-29.
7. กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: มปท.; 2557.
8. สกาวรัตน์ เทพรักษ์ และคณะ. ปัจจัยด้านการเลี้ยงดูของผู้ปกครองและการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กปฐมวัย ในเขตสาธารณสุขที่ 4 และ 5. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2557.
9. กลุ่มงานสร้างสุขภาพ. เป้าหมายการเฝ้าระวังพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี 2560. เอกสารเสนอต่อที่ประชุมประจำเดือน หัวหน้างาน/ผู้รับผิดชอบงานส่งเสริมสุขภาพ จังหวัดนครราชสีมา; 2559.
10. Yamane T. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row; 1973.
11. สมัย ศิริทองถาวรและคณะ. คู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด – 5 ปี สำหรับผู้ปกครอง. นนทบุรี: สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; มปป.
12. รัมภ์รดา อินทโฉม, มัทนา อังศุไพศาล. ความรู้และความบ่อยของพฤติกรรมของผู้ดูแลหลักในชุมชนคลองหนองเหล็ก เพื่อการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัย. วารสารกายภาพบำบัด 2554; 33(3): 114-24.
13. สาวิตตรี พังงา, จุไรพร รอดเชื้อ. บทบาทของผู้ปกครองที่มีต่อการอบรมเลี้ยงดูในโรงเรียนอนุบาล คหกรรมศาสตร์เกษตร [อินเตอร์เน็ต] มปป. [เข้าถึงเมื่อ 2560 ม.ค. 2]. เข้าถึงได้จาก:http://annualconference.ku.ac.th/ cd53/05_005_P50.pdf
14. จีรภา จรัสวณิชพงศ์. ดูแลปัญหาพัฒนาการลูกรักอย่างไรดี คู่มือสำหรับผู้ปกครองเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา. กรุงเทพฯ: สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2555.
15. Bandura A. Self-efficacy mechanism in human agency. American Psychologist 1982; 37:122-47.
16. Dollard J, Miller NE. Personality and Psychotherapy: An analysis in terms of learning, thinking, and culture. New York: McGraw-Hill; 1950.
17. Fredrickson B. The Value of Positive Emotions. American Scientist J 2003; 91: 330-5.
18. เยาวรัตน์ รัตน์นันต์. ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย เขตสุขภาพที่ 8 [อินเตอร์เน็ต]. 2557. [เข้าถึงเมื่อ 2560 มี.ค. 10]. เข้าถึงได้จาก: http://203.157.71.148/Information/center/research-59/%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%8C%20%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99%20web.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-08-31