ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกาย ของผู้ใหญ่วัยกลางคนที่มีภาวะน้ำหนักเกินในชนบท

ผู้แต่ง

  • ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • จิราพร วรวงศ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์ วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
  • จุฬารัตน์ ห้าวหาญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • พรพรรณ มนสัจจกุล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่

คำสำคัญ:

ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม, การบริโภคอาหาร, การออกกำลังกาย

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายของผู้ใหญ่วัยกลางคน (45-59 ปี) จำนวน 189 คนที่มีค่าดัชนีมวลกายเกิน จาก 3 หมู่บ้าน จ.อุดรธานี ศึกษาวิจัยในช่วงเดือน ม.ค.-มิ.ย. 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา และค่าความเที่ยง หาค่าความเที่ยงแบบสอบถามความรู้โดยใช้ KR20 เท่ากับ 0.78 หาค่าความเที่ยงแบบสอบถามทัศนคติและพฤติกรรมบริโภคและการออกกำลังกาย โดยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.86 และ 0.78 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา หาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลกับระดับความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกาย โดยใช้ไคสแควส์ หาความสัมพันธ์ของค่าเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกาย โดยใช้ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลคือ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ สถานะทางเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กับระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.000) ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.050) คะแนนความรู้ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.347, 0.289, p=0.00) และทัศนคติมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.321, p=0.00) ความรู้ มีความสัมพันธ์กับทัศนคติและพฤติกรรมการออกกำลังกาย อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ผลการวิจัยเป็นข้อมูลนำเข้าเพื่อการส่งเสริมพฤติกรรมด้านการบริโภคเพื่อสุขภาพและการออกกำลังกายที่เหมาะสมต่อเนื่อง เพื่อลดภาวะโรคอ้วนในวัยผู้ใหญ่ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน

Author Biographies

ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การพยาบาล)

จิราพร วรวงศ์, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การพยาบาล)

อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์, วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ศาสตร์การดูแล)

จุฬารัตน์ ห้าวหาญ, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การพยาบาล)

พรพรรณ มนสัจจกุล, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ศาสตร์การดูแล)

References

World Health Organization. Obesity and overweight. [serial online]. 2020 [cited 2020 May 10]. Available from: www.who.int

กรมอนามัย. รายงานประจำปี 2560 กรมอนามัย. กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

ภิษฐ์จีรัชญ์ พัชรกุลธนา, กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม, วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคอ้วนในกลุ่มวัยผู้ใหญ่ เขตเทศบาลตำบลบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารพยาบาลทหารบก 2558; 16(2):131-9.

นิชาภา เลิศชัยเพชร. พฤติกรรมสุขภาพกับภาวะน้ำหนักเกินของประชากรวัยทำงาน: กรณีศึกษาพื้นที่เฝ้าระวังทางประชากร กาญจนบุรี ในการประชุมวิชาการประชากรศาสตร์แห่งชาติ กรุงเทพฯ 2553; 427-40.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. พฤติกรรมการบริโภค หวาน มัน เค็ม.[ออนไลน์]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 2563 กุมภาพันธ์ 10]. เข้าถึงได้จาก: http://www.hed.go.th

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารสำหรับวัยทำงาน. [ออนไลน์]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 2563 มกราคม 12]. เข้าถึงได้จาก: http://www.hed.go.th

Sharpe L. Vermont No.1 in Frequent Exercise, Produce Consumption. Wellbeing. [serial online]. 2014. [cited 2020 October 12] Available from: http://www.gallup.com/poll/167645/vermont-no-frequent-exercise-produce-consumption.aspx.

Park CH, Elavsky S, Koo KM. Factors influencing physical activity in older adults. Journal of Exercise Rehabilitation 2014; 10(1):45-52.

Pereira Pinto SM, Power C. Changes in health and social factors in mid-adulthood and corresponding changes in leisure-time physical inactivity in a prospective cohort. International Journal of Behavioral Nutrition and Physical Activity [serial online]. 2018 [cited 2020 June 15]; 15:89. Available from: https://doi.org/10.1186/s12966-018-0723-z

วราภรณ์ คำรศ และคณะ. รายงานการวิจัยพฤติกรรมและการเข้าถึงการออกกำลังกายของประชาชนในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยสยาม; 2556.

ฉันทชา สิทธิจรูญ. Healthy society beyond Frontiers. วารสารเวชศาสต์ทันยุค คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล 2556: 129-43.

มนทรัตน์ ถาวรเจริญทรัพย์. การศึกษาผลกระทบในเชิงเศรษฐศาสตร์และคุณภาพชีวิตจากโรคอ้วนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2554.

ไพรวัลย์ โคตรตะ, กชพงศ์ สารการ, ปาริชาต รัตนราช. ปัจจัยบางประการที่มีสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันโรคเรื้อรังในวัยผู้ใหญ่. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2559; 10(1): 25-31.

Krejcie VR, Morgan WD. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement 1970; 30:607-10.

Polit DF, Beck CT. Nursing research: Generating and asses2sing evidence for nursing practice. Philadelphia. PA: Wolters Kluwer Health/ Lippincott Williams & Wilkins; 2012.

สุระเดช ไชยตอกเกี้ย. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยผู้ใหญ่ภาคตะวันออกฉียงเหนือ. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 2561; 13(45):68-78.

สุวรรณา เชียงขุนทดและคณะ. รายงานการวิจัย ความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชาชนในเขตภาษีเจริญ กรุงทพมหานคร. สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยสยาม; 2556.

ทัศนา ศิริโชติ. ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา; 2557.

ชุติมา ศิริกุลชยานนท์. โรคอ้วนในวัยเรียน. กรุงเทพฯ: หจก. เบสก์ กราฟฟิค เพรส; 2554.

กุลธิดา เหมาเพชร, คมกริช เชาว์พานิช, พรเพ็ญ ลาโพธิ์, วาสิฏฐี เทียมเท่าเกิด. รายงานวิจัยพฤติกรรมการออกกำลังกายของบุคลากร. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน; 2555.

Wu K, Rabb C, Chang W, Krishen A. Understanding Chinese tourists’ food consumption in the United States. Journal of Business Research 2016; 69(10):4706-13.

สภาพร หนูสิงห์, จิตผกา ธนปัญญารัชวงศ์. การผลิตและบริโภคผักพื้นบ้านของเกษตรกรจังหวัดพัทลุง.วารสารเทคโนโลยีสุรนารี 2556; 7(2):1-19.

อัญฐิริมา พิสัยพันธ์, จรรยา ภัทรอาชาชัย, กัณฑ์วีร์ วิวัฒน์พาณิชย์. ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มผู้ใหญ่. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2556; 13(3):352-60.

Fredriksson SV, et al. How are different levels of knowledge about physical activity associated with physical activity behaviour in Australian adults? Dryad Dataset [serial online]. 2018 [cited 2020 September 30]; Available from http://doi.org/10.5061/dryad.6gn844r

McArthur D, Duma A, Woodend K, Beach S, Stacey D. Factors influencing adherence to regular exercise in middle-age women: a qualitative study to inform clinical practice. BMC Women’s Health [serial online]. 2014 [cited 2020 June 16]; (14):1-8. Available from http://www.biomedcentral.com/1472-6874/14/49

Biernat E, Tomaszewski P. Association of socio-economic and demographic factors with physical activity of males and females aged 20-69 years. Annals of Agricultural and Environmental Medicine 2015; 22(1):118-23.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-11-29