ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคชานมไข่มุก ของนิสิตคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือ
คำสำคัญ:
ชานมไข่มุก, ผู้บริโภค, พฤติกรรมการบริโภคบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคชานมไข่มุกของนิสิตคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือ กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตคณะแพทยศาสตร์ จำนวน 319 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ใช้ค่าสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้วยการทดสอบไคสแควร์
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 72.4) อายุ 20 ปี (ร้อยละ 27.6) มีค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) สมส่วน (ร้อยละ 59.6) ศึกษาในแผนการศึกษากลุ่มวิชาสาธารณสุขศาสตร์ (ร้อยละ 85.9) รายได้ต่อเดือน 5,000 บาทขึ้นไป (ร้อยละ 63.9) และไม่มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 96.6) กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ในการบริโภคชานมไข่มุก มีพฤติกรรมการบริโภคชานมไข่มุก และมีทัศนคติการบริโภค อยู่ระดับปานกลาง (ร้อยละ 53.6, 58.6 และ 68.0 ตามลำดับ) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับพฤติกรรมการบริโภคชานมไข่มุกของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า อายุ รายได้ ความรู้ ทัศนคติการบริโภคชานมไข่มุก และการเลือกบริโภคชานมไข่มุก มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคชานมไข่มุกของกลุ่มตัวอย่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value ≤ 0.05 ส่วนเพศ ค่าดัชนีมวลกายแผนการศึกษา และการมีโรคประจำตัว ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการบริโภคชานมไข่มุก
โดยสรุปแล้ว กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคชานมไข่มุกอยู่ในระดับปานกลาง โดยอายุ รายได้ ความรู้ ทัศนคติการบริโภคชานมไข่มุกและการเลือกบริโภคชานมไข่มุก มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคชานมไข่มุก ดังนั้นจึงควรส่งเสริมความรู้และปรับทัศนคติและความตระหนักในการบริโภคชานมไข่มุก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ให้ถูกต้องเพื่อให้มีพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสม ก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ
References
มนตรี ศรีวงษ์. ประวัติศาสตร์ชานมไข่มุกที่โลกต้องรู้ [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2562 ธันวาคม 5]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaismescenter.com/ประวัติศาสตร์-ชานมไข่มุก-ที่โลกต้องรู้/
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. K-SME Analysis ธุรกิจชานมไข่มุก จากไต้หวัน [อินเตอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 2562 ธันวาคม 5]. เข้าถึงได้จาก: http://oweera.blogspot.com/2012/05/k-sme-analysis.html
ดวงกมล โลหศรีสกุล. ไขกลยุทธ์ธุรกิจชานมไข่มุกสัญชาติไทย KAMU มัดใจลูกค้านาน 8 ปีเสิร์ฟคุณภาพคับแก้ว [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2563 ธันวาคม 10]. เข้าถึงได้จาก: https://www.sentangsedtee.com/exclusive/article_99165
Campus Star. ต้นกำเนิดชาไข่มุก และอุดมการณ์อันยิ่งใหญ่ ของร้านต้นตำหรับ ชาไข่มุกไต้หวัน [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2562 ธันวาคม 10] เข้าถึงได้จาก: https://lifestyle.campus-star.com/scoop/142424.html
MGR Online. ไทยกินชานมไข่มุกสูงสุดอาเซียน The Alley แตกไลน์หวั่นตลาดอิ่มตัว [อินเตอร์เน็ต]. 2562. [สืบค้นเมื่อวันที่ 2562 ธันวาคม 10] เข้าถึงได้จาก: https://mgronline.com/business/detail/9620000104460
โพสต์ทูเดย์. ไขปริศนา 'ชานมไข่มุก' ทำไมยิ่งกิน ยิ่ง(เสพ)ติด? [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2562 กรกฎาคม 14]. เข้าถึงได้จาก: https://www.posttoday.com/life/healthy/594785
ทิวาพร มณีรัตนศุภร. เจาะลึกเบื้องหลังชานมไข่มุก...คุณหรือโทษ [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2562 ธันวาคม 10]. เข้าถึงได้จาก: https://health.kapook.com/view65613.html
Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement 1970; 30(3):607-10.
ปวีณา วงษ์ชะอุ่ม. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิตภาคปกติ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี [นิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2557.
พิชัย ลัทธศักดิ์ศิริ. ปัจจัยที่มีผลต่อส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมการบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวดของผู้บริโภคในเขตหลักสี่ กรุงเทพฯ. วารสารรัชต์ภาคย์ 2559; 10(19):73-8.
อภิญญา อุตระชัย, กริช เรืองไชย. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ พฤติกรรมการบริโภคขนมและเครื่องดื่มรสหวานและภาวะโภชนาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ฉบับการประชุมวิชาการครบรอบ 25 ปี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม 2561; ฉบับพิเศษการประชุมพยาบาล ครั้งที่ 25:95-102.
อภิราม คำสด, สาธิต อดิตโต. พฤติกรรมการบริโภคกาแฟสดของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2559; 9(2): 253-66.
ณรงค์ ใจเที่ยง, ศรีสุดา เจริญดี, สดิพร ภูถมดี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนในจังหวัดพะเยา. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ 2562; 12(2): 24-34.
กรวรรณ บุษบง. พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิตสุขศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน [นิพนธ์ศึกษาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน; 2557.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9