ผลของโปรแกรมพัฒนาศักยภาพและบทบาทเครือข่ายชุมชนรอบสถานศึกษา เพื่อแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่ของนักเรียน โรงเรียนบุญวัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • เปรมปรีดิ์ ชวนะนรเศรษฐ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา
  • วิชมัด งามจิตร โรงเรียนบุญวัฒนา จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

โปรแกรม, การพัฒนาศักยภาพและบทบาท, การสูบบุหรี่, นักเรียน, ชุมชน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโปรแกรมพัฒนาศักยภาพและบทบาทเครือข่ายชุมชนรอบสถานศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่ของนักเรียน โรงเรียนบุญวัฒนา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเอง กลุ่มตัวอย่างคือ เครือข่ายชุมชนรอบสถานศึกษาที่ผ่านเกณฑ์คัดเข้าจำนวน 40 คน ประกอบด้วย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 8 คน แกนนำชุมชน 9 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 3 คน พ่อค้าแม่ค้ารอบสถานศึกษา 10 คน ครูอนามัยโรงเรียน 3 คน และแกนนำนักเรียน 7 คน ดำเนินกิจกรรมทั้งหมด 13 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบทดสอบและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย คะแนนความรู้เกี่ยวกับบุหรี่และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การรับรู้ความสามารถตนเองในการแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่ ความคาดหวังในผลดีของการแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่ และการปฏิบัติงานของเครือข่ายชุมชนรอบสถานศึกษา ก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้สถิติเชิงอนุมาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระจากกัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความสามารถตนเองในการแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่ และการปฏิบัติงานของเครือข่ายชุมชนรอบสถานศึกษา แตกต่างกันกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนค่าคะแนนความรู้เกี่ยวกับบุหรี่และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และความคาดหวังในผลดีของการแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่ ไม่แตกต่างกันกับก่อนการทดลอง การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมดังกล่าวมีประสิทธิผลต่อการสร้างให้เกิดการรับรู้ความสามารถตนเองในการแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่ความคาดหวังในผลดีของการแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่ และการปฏิบัติงานของเครือข่ายชุมชนรอบสถานศึกษา

Author Biographies

เปรมปรีดิ์ ชวนะนรเศรษฐ์ , สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ

วิชมัด งามจิตร, โรงเรียนบุญวัฒนา จังหวัดนครราชสีมา

ครูชำนาญการพิเศษ

References

สำนักพัฒนานโยบายสาธารณสุขระหว่างประเทศ. รายงานภาระโรคจากปัจจัยเสี่ยงของประชากรไทย พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ครีเอทีฟ กูรู ; 2556.

ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.). เอกสารสรุปรายงานการประชุมเชิงปฏิบัติการ “เพื่อขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ พ.ศ. 2558–2560 และมาตรการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพด้านยาสูบตามมติคณะรัฐมนตรีสู่การปฏิบัติ” [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2562 พ.ย. 12]. เข้าถึงได้จาก: http://trc.or.th/th/home-28/484-2558-2560.html

Kanitta Bundhamcharoen, Suchunya Aungkulanon, Nuttapat Makka, Kenji Shibuya, Economic burden from smoking-related diseases in Thailand, [Internet]. 2019 [cited 2019 Nov 6]. Available from: https://tobaccocontrol.bmj.com/content/25/5/532

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. โครงการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มสุรา. ชุดเอกสารวิชาการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2560.

สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 20 ปี สถานการณ์และแนวโน้มการบริโภคยาสูบของประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป พ.ศ. 2534–2554. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2555.

อนุเทพ แซ่เล้า. การสำรวจปัจจัยที่มีต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3-6 อายุ 15-19 ปี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขตสุขภาพที่ 9 ปีงบประมาณ 2562 (รายงานการวิจัย). นครราชสีมา: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา; 2562.

Bandura A. Social Foundations of Thoughts and Actions: A social cognitive theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall; 1986.

ปรัชพร กลีบประทุม, ศรัณญา เบญจกุล, มณฑา เก่งการพานิช, ธราดล เก่งการพานิช. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการเลิกสูบบุหรี่สำหรับผู้สูบบุหรี่ ในตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง. Veridian E-Journal Science and Technology Silpakorn University 2559; 3(4): 30-43.

Bloom BS. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill; 1971.

เสรี ลาชโรจน์. สภาพการวัดและประเมินผลการศึกษา. ใน สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย. เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารและการจัดการการวัดและประเมินผลการศึกษา หน่วยที่ 3. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2535: 51-82.

เจษฎา นามโส. โปรแกรมลดละเลิกการสูบบุหรี่ในกลุ่มประชาชนที่สูบบุหรี่ ตำบลคลองขาม อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2555.

ภานิสา ระยา, ศรัณญา เบญจกุล, มณฑา เก่งการพานิช, ธราดล เก่งการพานิช, กรกนก ลัธธนันท์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมเลิกการสูบบุหรี่ตามแบบจำลองขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ของประชาชนในตำบลวังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2558; 31(2): 9-25.

Heaney CA, Israel BA. Social Networks and Social Support. In Glanz K, Rimer BK, Viswanath K, editors. Health Behavior and Health Education: Theory, research and practice. 4th ed. San Francisco: Jossey–Bass; 2008.

พิทยา สังข์แก้ว, มณฑา เก่งการพานิช, ธราดล เก่งการพานิช, นรีมาลย์ นีละไพจิตร. ผลของโปรแกรมการเลิกสูบบุหรี่ของบุคลากรโรงพยาบาลรัฐในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา 2558; 21(3): 53-64.

ยุทธพงษ์ คำเพชรดี. แรงจูงใจที่มีผลต่อการสูบบุหรี่ของนักเรียนอาชีวศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2553.

มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่. [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 2562 พ.ย. 12]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ashthailand.or.th

กลุ่มพัฒนาภาคีเครือข่ายและการสื่อสาร สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2562 พ.ย. 12]. เข้าถึงได้จาก:

https://ddc.moph.go.th/otpc

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-04