ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา และวิทยาลัยเซนต์หลุยส์
คำสำคัญ:
ความรู้, พฤติกรรมการป้องกันโรค, โรคโควิด-19บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจแบบหาความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา และวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง คือนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2562 วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา จำนวน 85 คน และวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ จำนวน 128 คน รวมเป็น 213 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์เกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยแวดล้อมของผู้ตอบแบบสอบถาม แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 แบบทดสอบและแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหา ได้ค่า IOC ระหว่าง 0.67–1.00 ทำการทดสอบค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือวิจัยกับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยคริสเตียน จำนวน 30 คน แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 มีค่าความเชื่อมั่น 0.749 และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 มีค่าความเชื่อมั่น 0.763 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติค่าที วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์ และสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยระดับความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 อยู่ในระดับดี 2) นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา และวิทยาลัยเซนต์หลุยส์มีความรู้ และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ไม่แตกต่างกัน 3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านจำนวนสมาชิกที่อาศัยอยู่ด้วยกัน (=4.57, p=0.033) และความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 (r=0.231, p<0.01) จากผลการศึกษานี้สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการจัดโปรแกรมการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 ให้กับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 ให้ดียิ่งขึ้น เพื่อสามารถป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้เมื่อต้องอยู่ในชุมชนระหว่างการเรียนออนไลน์ช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 และแนวทางการเสริมความรู้เมื่อสามารถขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาลในชั้นปีที่ 2 ต่อไป
References
กรมควบคุมโรค. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: Coronavirus Disease 2019 (COVID-19). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2563.
Kamps BS, Hoffman C. COVID Reference. Hamburg: Infektionsmedizinisches Centrum; 2021.
World Health Organization. WHO Coronavirus Disease (COVID-19) Dashboard [Internet]. 2020 [cited 2020 July 22]. Available from: https://covid19.who.int/
International Council of Nurses. ICN calls for data on healthcare worker infection rates and deaths [Internet]. 2020 [cited 2020 July 9]. Available from: https://www.icn.ch/news/icn- calls-data-healthcare-worker-infection-rates-and-deaths
World Health Organization Thailand. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19): รายงานสถานการณ์โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ประเทศไทย – 15 เมษายน 2563) [อินเตอร์เน็ต]. 2020 [เข้าถึงเมื่อ 2563 กรกฎาคม 9]. เข้าถึงได้จาก: https://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand/2020-04-15-tha-sitrep-53-covid19-th-final.pdf?sfvrsn=50c6afb2_0
ธานี กล่อมใจ, จรรยา แก้วใจบุญ, ทักษิกา ชัชวรัตน์. ความรู้และพฤติกรรมของประชาชนเรื่องการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา 2563;21(2): 29-39.
กรมอนามัย. คู่มือมาตรการและแนวทางในการดูแล ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2563.
กรมควบคุมโรค. แนวทางการทำความสะอาดฆ่าเชื้อในสถานที่ที่ไม่ใช่สถานพยาบาล โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 22 ก.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_other/G41.pdf
CDC. What you should know about COVID-19 to protect yourself and others [Internet]. 2020 [cited 2020 July 22]. Available from: https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/downloads/2019-ncov-factsheet.pdf
World Health Organization. Advice on the use of masks in the context of COVID-19: interim guidance [Internet]. 2020 [cited 2020 July 22]. Available from: https://apps.who.int/iris/handle/10665/331693.
Zhong BL, Luo W, Li HM, Zhang QQ, Liu XG, Li WT, Li Y. Knowledge, attitudes, and practices towards COVID–19 among Chinese residents during the rapid rise period of the COVID–19 outbreak: a quick online cross-sectional survey. Int J Biol Sci 2020; 16(10):1745-52.
Bloom BS. Mastery learning. UCLA – CSEIP Evaluation Comment. 1(2) Los Angeles. University of California at Los Angeles; 1968.
วิชาญ ปาวัน, กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์, จักรกฤษณ์ พลราชม, มาสริน ศุกลปักษ์. การรับรู้ข้อมูลข่าวสารความรู้ และพฤติกรรมการป้องกันโรคและภัยสุขภาพของประชาชนไทย ประจำปี 2559. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2560; 11(1):70-9.
Joshi KP, Madhura L, Jamadar D. Knowledge and awareness among nursing students regarding the COVID-19: A cross-sectional study. Int J Community Med Public Health 2020;7(7): 1-4.
Modi PD, Nair G, Uppe A, et al. COVID-19 Awareness among healthcare students and professionals in Mumbai metropolitan region: A questionnaire-based survey. Cureus 2020;12(4): e7514.
Abdulah DM, Aziz Qazli SS, Suleman SK. Response of the public to preventive measures of coronavirus infection in Iraqi Kurdistan. Disaster Med Public Health Prep [Internet]. 2020 [cited 2020 Jul 31]. Available from: https://www.cambridge.org/core/services/aop-cambridge- core/content/view/EA92C663E4748DFD58499E8AB5B6B2D5/ S1935789320002335a.pdf/response_of_the_public_to_preventive_measures_of_coronavirus_infection_in_iraqi_kurdistan.pdf
Bashirian S, Barati M, Jenabi E, Khazaei S, Karimi-Shahanjarini A, Zareian S, et al. Factors Associated with preventive behaviours of COVID-19 among hospital staff in Iran in 2020: an application of the protection motivation theory. J Hosp Infect 2020;105(3): 430–3.
Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. ‘ไทย’ ติดอันดับ 6 ประเทศมั่นคงด้านสุขภาพ เป็นประเทศกำลังพัฒนาหนึ่งเดียวใน Top 10 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สำนักข่าว Hfocus; 2562. [สืบค้นเมื่อ 25 มิ.ย. 2563]. แหล่งข้อมูล: https://www.hfocus.org/content/2019/11/18042
Imad A. Moosa. The effectiveness of social distancing in containing Covid-19. Appl Econ [Internet]. 2020 [cited 2020 Jul 31]. Available from: https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/00036846.2020.1789061
Nguyen THD. Lifting of social distancing measures: perspectives from Vietnam. Disaster Med Public Health Prep [Internet]. 2020 [cited 2020 Jul 31]. Available from: https://www.cambridge.org/core/services/aop-cambridge-core/content/view/5D42A4388F9C1D99D437848C810B99E9/S1935789320002384a.pdf/lifting_of_social_distancing_measures_perspectives_from_vietnam.pdf
กำธร มาลาธรรม, ศิริลักษณ์ อภิวาณิชย์. คู่มือปฏิบัติงานการควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล 2558. กรุงเทพมหานคร: คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี; 2558.
กรมควบคุมโรค. ข้อมูลสำหรับการป้องกันตนเองจากไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 25 มิ.ย. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/introduction/introduction01.pdf
U.S. Food and Drug Administration. Coronavirus (COVID-19) update: FDA continues to ensure availability of alcohol-based hand sanitizer during the COVID-19 pandemic, addresses safety concerns [Internet]. 2020 [cited 2020 July 24]. Available from: https://www.fda.gov/news-events /press-announcements/coronavirus-covid-19-update-fda-continues-ensure-availability-alcohol-based-hand-sanitizer-during
Huynh G, Nguyen T, Tran V, Vo K, Vo V, Pham L. Knowledge and attitude toward COVID-19 among healthcare workers at District 2 Hospital, Ho Chi Minh City. Asian Pac J Trop Med 2020;13(6): 260-5.
สรวงทิพย์ ภู่กฤษณา, กัญญาวีณ์ โมกขาว, สุริยา ฟองเกิด. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของวัยรุ่นในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลเมืองชลบุรี. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา 2559;14:114-24.
Reuben RC, Danladi MMA, Saleh DA, Ejembi PE.. Knowledge, attitudes and practices towards COVID-19: an epidemiological survey in north-central Nigeria. J Community Health [Internet]. 2020 [cited 2020 July 24]. Available from: https://doi.org/10.1007/s10900-020-00881-1
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9