ความรู้ ทัศนคติ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

ผู้แต่ง

  • ไวยพร พรมวงค์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี
  • จรุญศรี มีหนองหว้า วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ความรู้, ทัศนคติ, การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, นักศึกษาพยาบาล, ภาวะหัวใจล้มเหลว

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว และหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 รุ่นที่ 48 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ จำนวน 130 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับสลากแบบไม่ใส่คืนจากรหัสนักศึกษาที่มีความยินดีเข้าร่วมการวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ 2564 โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว ทัศนคติในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (CVI) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) แบบสอบถามความรู้ในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวทดสอบโดยวิธีคูเดอร์-ริชาดสัน KR-20 ได้เท่ากับ 0.90 ส่วนแบบสอบถามทัศนคติในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว และแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวมีค่าความเชื่อมั่นที่ทดสอบโดยวิธีอัลฟาของคอนบาคได้เท่ากับ 0.85 และ0.97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (89.20%) อายุอยู่ระหว่าง 21-34 ปี ( gif.latex?\bar{X}=22.45, SD=2.62) ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X}=10.38, SD=2.70) ทัศนคติในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว (gif.latex?\bar{X}=57.34, SD=7.99) และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว (gif.latex?\bar{X}=79.54, SD=13.00) อยู่ในระดับมาก ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ทัศนคติมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.51, p=0.000) และความรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว (r=0.23, p=0.007) แต่ความรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับทัศนคติในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.12, p=0.172) ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นข้อมูลในการวางแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตให้สามารถสนองตอบความต้องการของระบบสุขภาพและผู้ใช้บัณฑิต

Author Biographies

ไวยพร พรมวงค์, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี

อาจารย์ สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

จรุญศรี มีหนองหว้า, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี

อาจารย์ สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

References

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางเวชปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว พ.ศ. 2562. สมุทรปราการ: เนคสเตป ดีไซน; 2562.

European Society of Cardiology 2016 ESC Guidelines for the diagnosis and treatment of acute and chronic heart failure. Eur J Heart Fail. 2016;37(27):1-85.

จุฬาลักษณ์ ศรีวงษ์, กาญจนา โสมเกษตรินทร์, พรสวรรค์ ธุระอบ. การส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว. สรรพสิทธิสัมพันธ์ 2559;18(233):4.

วรุณ เพ็ชรัตน์, รัชนี นามจันทรา, วารินทร์ บินโฮเซ็น, พรวลี ปรปักษ์ขาม. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง และการกลับเข้ารักษาซ้ำในโรงพยาบาลของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวหลังผ่าตัดลิ้นหัวใจ. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2560;28(2):38-51.

คณะกรรมการพัฒนาระบบที่ตอบสนองต่อปัญหาสุขภาพที่สำคัญ สาขาโรคหัวใจและหลอดเลือด. แนวทางพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาหัวใจ. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย: นนทบุรี; 2556. Available from: https://wwwnno.moph.go.th/NHDL/ServicePlan/1Heart.pdf

ประชุม สุขโคตรพันธ์, อังศุมาลิน โคตรสมบัติ, สุพัตรา บัวที. การพัฒนาระบบการจัดการเครือข่ายผู้ดูแลรายกรณีในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน จังหวัดยโสธร. การพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2559;32(3):102-9.

Avallone MA, Cantwell ER. Teaching nursing students to provide effective heart failure patient education using a peer teaching strategy. Journal of Nursing Education and Practice 2017;7(2):84-9.

Rosediani M, Ranimah Y, Harmy MY. Knowledge, Attitude and Practice on Cardiovascular Disease among Women in North-Eastcoast Malaysia. IJCRIMPH 2012;4(1):85-98.

Sung SC, Huang HC, Lin MH. Relationship between the knowledge, attitude, and self-efficacy on sexual health care for nursing students. J Prof Nurs. 2015;31(3):254-61.

งานทะเบียน วัด ประเมินผล และศิษย์เก่าสัมพันธ์ ฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์. รายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการการประเมินคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิสาขาพยาบาลศาสตร์และทักษะศตวรรษที่ 21. อุบลราชธานี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์; 2563.

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์. มคอ. 2 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560). อุบลราชธานี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์; 2560: 6-62.

อิสริยา รักเสนาะ, สุชิรา ชัยวิบูลย์ธรรม, ปิยวรรณ โภคพลากรณ์. ความรู้ ทัศนคติ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายของนักเรียนพยาบาลทหาร สังกัดกระทรวงกลาโหมชั้นปีที่4. พยาบาลทหารบก;19(ฉบับพิเศษ):242-250.

Zhou Y, Li Q, Zhang W. Undergraduate nursing students’ knowledge, attitudes and self-efficacy regarding palliative care in China: A descriptive correlational study. Nursing Open 2021;8:343–53.

Bloom BS. Taxonomy of educational objectives: The classification of educational goals: Handbook: Cognitive domain. New York: McKay. 1964.

Bandura A. Self-efficacy: The exercise of control. New York: Freeman and Company. 1997.

Bloom, BS. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill.1971.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์; 2560.

Elsaman SE. Undergraduate critical care nursing students’ knowledge and attitudes toward caring of dying patients. IOSR Journal of Nursing and Health Science 2017; 06(1):31-40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-06