ความเครียด และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
ความเครียด, ปัจจัยในการปฏิบัติงาน, บุคลากร, โรงพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาสถานการณ์ความเครียดในการปฏิบัติงานของบุคลากร และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในประชากรบุคลากรโรงพยาบาลแคนดงทั้งหมด 110 คน โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเอง ผู้วิจัยได้อธิบายและทำความเข้าใจกับประชากรในการทำแบบสอบถาม และประชากรตอบแบบสอบถาม ได้แบบสำรวจตอบกลับ 109 ราย คิดเป็นร้อยละ 99.09 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้ Chi-square test ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) และค่าถดถอยพหุคูณ (Multiple regression)
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 70.6 อายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 44.0 สถานภาพคู่ ร้อยละ 59.6 การศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ 58.7 ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน มากกว่า 10 ปี ร้อยละ 44.0 มีลักษณะงานเป็นบริการผู้ป่วย ร้อยละ 67.9 และรายได้เฉลี่ย 19,000 บาทต่อเดือน โดยระดับความเครียดอยู่ในเกณฑ์เครียดน้อย ร้อยละ 46.8 ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับความเครียด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 คือ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน โดยปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดในการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01, 0.05 ได้แก่ ด้านโครงสร้างและบรรยากาศองค์กร (p=0.01) ด้านลักษณะงานและภาระงาน ด้านบทบาทในองค์กร ด้านความสำเร็จและความก้าวหน้าในอาชีพ (p=0.05) และปัจจัยพยากรณ์ความเครียดในการปฏิบัติงาน มี 2 ตัวแปร ได้แก่ ด้านโครงสร้างและบรรยากาศองค์กร และความสำเร็จและความก้าวหน้าในอาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p=0.05 ดังนั้น หน่วยงานควรนำผลการวิจัยไปใช้วางแผนงาน แก้ไขปัญหาความเครียดจากการทำงานของบุคลากรให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ เพื่อก่อให้เกิดขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน
References
กรมสุขภาพจิต. เผยผลสำรวจ "ปชช.-บุคลากรแพทย์" เครียดมากขึ้นช่วงผ่อนปรนฯ โควิด-19. [อินเทอร์เน็ต]. (ม.ป.ท.) [เข้าถึงเมื่อ 2563 มิ.ย. 30]. เข้าถึงได้จาก: https://news.trueid.net/detail/no73qGVNn3ro
พัฒนวดี เรืองจำเนียร, ณรงค์ ณ เชียงใหม่, รพีพร เทียมจันทร์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดในการทำงานของบุคลากรหน่วยงานสนับสนุนโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่. พิฆเนศวร์สาร 2556;2:97-110.
กาญจนา วิเชียรประดิษฐ์, ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข, ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดจากการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยที่อยู่ในกำกับของรัฐ. เอกสารการประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติครั้งที่ 2; 17 พฤษภาคม 2556; ณ โรงแรมริชมอนด์.นนทบุรี; 2556.
ลักขณา สริวัฒน์. จิตวิทยาในชีวิตประจาวัน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์; 2544.
ทวีป อภิสิทธิ์. ความเครียดทางอารมณ์ของคนทำงาน (ราชการ). ประชาศึกษา 2532;40(3):22-5.
ต่อลาภ อยู่พงษ์พิทักษ์, อริสรา เสยานนท์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย; 2559.
นิธิพงศ์ ศรีเบญจมาศ, กิ่งแก้ว สำรวยรื่น, วิภาดา ศรีเจริญ, นุชจรี ครองดี, สุทธญาณ์ เพ็งปรางค์. ปัจจัยพยากรณ์ความเครียดในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย 2562;3:194-201.
สาวินี ตันติวุฒิคุณ, ณัฐณีย์ มีมนต์, ดรุณี ภู่ขาว, ภัคนันท์ จิตต์ธรรม. สิ่งแวดล้อมด้านจิตสังคมขององค์กรที่ส่งผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนในโรงพยาบาล. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2563;12(1).
เอกลักษณ์ แสงศิริรักษ์, สิรินรัตน์ แสงสิริรักษ์. ความเครียดและอารมณ์เศร้าของบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2563; 65(4):400-8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9